เมนู

12. สัมปันนสูตร


ว่าด้วยสมบูรณ์ด้วยธรรมปฏิบัติ


[292] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์
มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์
สมบูรณ์ สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มี
ปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
จะมีกิจอะไรที่เธอทั้งหลายพึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้
อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ของภิกษุผู้เดินไปอยู่ เป็น
ธรรมชาติปราศไปแล้ว อันภิกษุผู้เดินไปอยู่ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ
เพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่หลงลืม กายระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย
ตั้งจิตมั่น มีอารมณ์อันเดียว ภิกษุผู้เดินไปอยู่เป็นอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่าเป็น
ผู้มีความเพียร มีโอตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดียว ตลอดกาลเป็น
นิตย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
ของภิกษุผู้ยืนอยู่เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว . . . ถ้าแม้อภิชฌา พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ของภิกษุผู้นั่งอยู่เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว . . .
ถ้าแม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ของภิกษุผู้นอนอยู่
ตื่นอยู่ เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว อันภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ ละวิจิกิจฉา
ได้แล้ว ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่หลงลืม กายระงับ

แล้ว ไม่ระส่ำระสาย ตั้งจิตไว้มั่น มีอารมณ์อันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแม้ผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้มีความ
เพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดียว ตลอดกาลเป็นนิตย์.
ภิกษุเพียรอยู่ พึงเดิน ยืน นั่ง นอน
คู้เข้า เหยียดออก ซึ่งอวัยวะมีมือและเท้า
เป็นต้นนี้ อนึ่ง ภิกษุพิจารณาโดยชอบ
ซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง
ธรรมขันธ์ ในเบื้องบน เบื้องขวาง เบื้องต่ำ
จนตลอดภูมิเป็นที่ไปแห่งสัตว์ผู้สัญจรไป
บนแผ่นดิน พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวภิกษุผู้มีปกติ
อยู่อย่างนั้น มีความเพียร มีความประพฤติ
สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน มีญาณทัศนวิสุทธิสมควร
แก่ธรรมเป็นเครื่องสงบใจ ศึกษาอยู่ มีสติ
ทุกเมื่ออย่างนั้นว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว
ตลอดกาลเป็นนิตย์.

จบสัมปันนสูตรที่ 12

อรรถกถาสัมปันนสูตร


ในสัมปันนสูตรที่ 12 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา นี้ สมฺปนฺนํ สมบูรณ์ มี 3 อย่าง คือ
เต็มบริบูรณ์ 1 พรั่งพร้อม 1 หวานอร่อย 1. บรรดาสัมปันนศัพท์ทั้ง 3
อย่างนั้น สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า เต็มบริบูรณ์ เช่นในประโยคนี้ว่า
ข้าแต่ท่านท้าวโกสีย์ นกแขกเต้า
ทั้งหลาย พากันจิกกินรวงข้าวสาลีที่ (มี
เมล็ด) เต็มบริบูรณ์ ข่าแต่ท่านท้าวพระ-
พรหม ข้าพเจ้าขอประกาศให้ท่านทราบ
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะห้ามพวกมันได้.

สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า พรั่งพร้อม เช่นในประโยคนี้ว่า ภิกษุ
เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปใกล้ เข้าไปใกล้ชิด พรั่งพร้อมประกอบด้วย
ปาติโมกขสังวรนี้. สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า หวานอร่อย เช่นในประโยค
นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พื้นล่างมหาปฐพีนี้มีรสอร่อย เป็นสิ่งที่ชอบใจ
เหมือนน้ำผึ้งหวานที่ไม่มีโทษ. แต่ในที่นี้ สัมปันนศัพท์เหมาะในความหมาย
ว่า เต็มบริบูรณ์บ้าง ในความหมายว่า พรั่งพร้อมบ้าง. เพราะฉะนั้น พึง
ทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เป็นผู้มีศีล
บริบูรณ์บ้าง เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลบ้าง. บรรดาความหมายทั้ง 2 อย่างนั้น
ตามความหมายนี้ว่า มีศีลบริบูรณ์แล้ว มีอธิบายว่า ศีลชื่อว่าเป็นศีลสมบูรณ์
แล้ว เหมือนความบริบูรณ์ของนา เพราะปราศจากโทษของนา (วัชพืช).