เมนู

คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่าง-
อาศัยกันและกัน 2 ฝ่าย ย่อมยังสัท-
ธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ให้
สำเร็จ (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อม
ปรารถนาเฉพาะจีวร บิณฑบาต ที่นอน
ที่นั่ง และคิลานปัจจัย อันเป็นเครื่อง
บรรเทาเสียซึ่งอันตรายจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน
อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วเชื่อ-
ถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย มี
ปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี
ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติใน
ศาสนานี้ ปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่
กามบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

จบพหุการสูตรที่ 8

อรรถกถาพหุการสูตร


ในพหุการสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺราหฺมณคฺคหปติกา ได้แก่ ผู้เป็นทั้งพราหมณ์ เป็นทั้ง
คหบดี. ทุกจำพวกเมื่อครองเรือน ยกเว้นพวกพราหมณ์ พึงทราบว่า ชื่อว่า
เป็นคหบดี ในที่นี้. บทว่า เย เท้าความถึงผู้ที่อ้างมาโดยไม่แน่นอน. บทว่า
เต เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อน

ทรงแสดงว่าคฤหัสถ์มีอุปการะแก่ภิกษุ


ภิกษุทั้งหลาย พราหมณคหบดีทั้งหลาย ผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่ ทั้งพราหมณ์ทั้งผู้ครองเรือนที่เหลือ เธอทั้งหลายเท่านั้นที่เขาพากัน
ทำนุบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น โดยคิดว่า (นี้) เป็นบุญเขตของ
เราทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจะพากันประดิษฐานไว้ซึ่งทักษิณา ให้มีค่าสูง มีผล
อันงามเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มี
อุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิส คือ โดยการแจกแบ่งอามิส
ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิส อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า
แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม
คือ การแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม จึงได้ตรัส
คำมีอาทิไว้ว่า ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว. คำนั้น ก็มีนัยดุจที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.
ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร ? ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑ-
บาต (เคารพบิณฑบาต). ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุที่พราหมณคหบดีเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้
ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษ โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้
เป็นผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำ ในสมณะเหล่านี้ จักมี
ผลานิสงส์มาก ดังนี้ จึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น
ฉะนั้น เธอทั้งหลายควรให้ความประสงค์นั้นของพวกเขาเต็มเปี่ยม ถึงพร้อม
ด้วยความไม่ประมาทเถิด แม้ธรรมเทศนา ก็จะงดงามและน่าถือเอาสำหรับเขา
เหล่านั้นผู้ทำตามอยู่นั่นแหละ ไม่ใช่สำหรับคนเหล่าอื่นนอกจากนี้ เธอทั้งหลาย
พึงทำความไม่ประมาทในสัมมาปฏิบัติ ดังที่พรรณามานี้แล.