เมนู

สมฺภวํ ความว่า รู้ว่า ตัณหาเป็นบ่อเกิด คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุ
แห่งภัยและวัฏทุกข์.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการที่ภิกษุรูปหนึ่งเจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุอรหัตผลด้วยคำเพียงเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยภิกษุผู้ขีณาสพนั้น
จึงตรัสคำว่า วีตตณฺโห เป็นต้น.
ส่วนคำใดที่มิได้กล่าวไว้ในที่นี้ คำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น
นั่นแล.
จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ 6

7. พรหมสูตร


ว่าด้วยตระกูลมีบุตรบูชามารดาบิดา


[286] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใด บุตรบูชามารดาและบิดา
อยู่ในเรือนของตน ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพรหม มีบุรพเทวดา มีบุรพาจารย์
มีอาหุไนยบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหม เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพเทวดา เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุรพาจารย์ เป็นชื่อของ
มารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคล เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร ? เพราะมารดาและบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ถนอมเลี้ยง เป็น
ผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร.
มารดาและบิดา เราตถาคตกล่าวว่า
เป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุไนย-
บุคคลของบุตร เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์

บุตร เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึง
นอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดา
ทั้งสองนั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ บุคคลนั้น
ในโลกนี้ทีเดียว เพราะการปฏิบัติในมารดา
และบิดา บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมบันเทิง
ในสวรรค์.

จบพรหมสูตรที่ 7

อรรถกถาพรหมสูตร


ในพรหมสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺรหฺมกานิ ความว่า ชื่อว่า เป็นตระกูลมีผู้ประเสริฐที่สุด.
บทว่า เยสํ ความว่า ของตระกูลเหล่าใด. บทว่า ปุตฺตานํ ความว่า
อันบุตรทั้งหลาย. ก็คำว่า ปุตฺตานํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมาย
ของตติยาวิภัตติ เพราะประกอบเข้ากับศัพท์ ปูชิต. บทว่า อชฺฌาคาเร
ความว่า ในเรือนของตน. บทว่า ปูชิตา โหนฺติ ความว่า เป็นผู้ที่บุตร
ทั้งหลายปฏิบัติแล้ว ด้วยสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน คือ ปรนนิบัติแล้ว ด้วยสิ่งที่
พึงพอใจ และด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและเป็นประโยชน์แก่การพูดจา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญตระกูล ที่บุตรบูชามารดา
บิดาว่า ชื่อว่าเป็นตระกูลที่มีพระพรหม อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่