เมนู

5. สีลสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น


[284] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้วด้วยศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้
เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรม
ได้อย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การไปนั่งใกล้ภิกษุ
เหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่า
มีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพคบหา เข้าไป
นั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์
วิมุตติญาณทัสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น เราตถาคตกล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง
นำพวกไปบ้าง ละข้าศึก คือกิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอกาสบ้าง
กระทำความรุ่งเรืองบ้าง กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง
มีจักษุบ้าง ดังนี้.
การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตน
อันอบรมแล้ว ผู้มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม
ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำซึ่งความ
ปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง บัณ-
ฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้า
ทั้งหลายผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่าง

เป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก คือ
กิเลส ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลก
ให้สว่าง แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้นไป
แต่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่
ภพใหม่.

จบสีลสูตรที่ 5

อรรถกถาสีลสูตร


ในสีลสูตรที่ 5 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สีลสมฺปนฺนา นี้มีอธิบายว่า โลกิยศีลและโลกุตรศีลของ
พระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า ศีล. ภิกษุทั้งหลายชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะ
หมายความว่า สมบูรณ์คือประกอบด้วยศีลนั้น ๆ. แม้ในสมาธิและปัญญา
มีนัย นี้แล. ส่วนวิมุตติ ได้แก่ผลวิมุตตินั่นแล. วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่
ปัจจเวกขณญาณ. ในอธิการนี้ ธรรม 3 มีศีล เป็นต้น เป็นทั้งโลกิยะ
และโลกุตระ. วิมุตติเป็นโลกุตระอย่างเดียว วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นโลกิยะ
อย่างเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้กล่าวสอน เพราะหมายความว่า กล่าวสอน คือ
พร่ำสอนบุคคลเหล่าอื่น ด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกกัตถประโยชน์
และปรมัตถประโยชน์ตามควร. บทว่า วิญฺญาปกา ได้แก่ช่วยบุคคลเหล่าอื่น
ให้เข้าใจกรรมและผลของกรรม. อนึ่ง ในบทว่า วิญฺญาปกา นั้น มีอธิบายว่า
ช่วยบุคคลเหล่าอื่นให้เข้าใจ คือให้รู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ด้วยนัย 3 อย่าง ตาม