เมนู

อรรถกถาจัตตาริสูตร


ในจัตตาริสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปานิ แปลว่า (ปัจจัย 4) มีน้อย. บทว่า สุลภานิ
คือ อันบุคคลพึงได้โดยง่าย คือ สามารถจะหาได้ในที่ใดที่หนึ่ง. บทว่า
อนวชฺชานิ คือ ชื่อว่า เว้นจากโทษ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีโทษ เพราะ
การมาบริสุทธิ์ และเพราะไม่มีภาวะเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีการประดับกายเป็นต้น.
ในบทว่า อปฺปานิ (มีน้อย) สุลภานิ (หาได้ง่าย) และบทว่า อนวชฺชานิ
(ไม่มีโทษ) นั้น มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความไม่มี
ทุกข์อันเกิดจากการแสวงหาไว้ เพราะความที่ปัจจัย 4 หาได้ง่าย. ทรง
แสดงความไม่มีทุกข์อันเกิดจากการรักษาไว้ เพราะความที่ปัจจัย 4 มีน้อย.
ทรงแสดงความที่ปัจจัย 4 เป็นของสมควรแก่ภิกษุ เพราะใคร ๆ ติเตียน
ไม่ได้ เหตุที่เป็นของไม่มีโทษ. ทรงแสดงความที่ปัจจัย 4 ไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความหวังอันเล็กน้อย เพราะเป็นของมีน้อย. ทรงแสดงว่าปัจจัย 4 ไม่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะหาได้ง่าย. ทรงแสดงว่าปัจจัย 4 เป็น
ที่ตั้งแห่งนิสสรณปัญญา ด้วยอำนาจแห่งโทษ เพราะหาโทษมิได้. ปัจจัย 4
ไม่ยังโสมนัสให้เกิด เพราะลาภตามที่ได้เนื่องจากมีน้อย ไม่ยังโทมนัสให้เกิด
เพราะไม่ได้ เนื่องจากหาได้ง่าย ไม่ยังอัญญาณุเบกขา ซึ่งมีความเดือดร้อน
เป็นนิมิตให้เกิด เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อน เนื่องจากไม่มีโทษ.
บทว่า ปํสุกูลํ ความว่า จีวรที่เลือกเก็บเอาเศษผ้าที่หล่นตามถนน
เป็นต้นมาทำ ซึ่งได้นามอย่างนี้ว่า บังสุกูล เพราะว่า เป็นเหมือนกองฝุ่น

โดยความหมายว่า อยู่สูง เนื่องจากอยู่บนฝุ่นทั้งหลายในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
มีถนน ป่าช้า และกองขยะเป็นต้น และเพราะหมายความว่า ไป คือ ถึง
ความเป็นของน่าเกลียด เหมือนฝุ่น. บทว่า ปิณฺฑิยาโลโป ความว่า โภชนะ
ที่ตนเที่ยวไปด้วยพลังปลีแข้งแล้วได้มาในเรือน กะประมาณเพียงหลังละคํา.
บทว่า รุกฺขมูลํ แปลว่า ที่ใกล้ต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมแก่วิเวก.
บทว่า ปติมุตฺตํ ได้แก่ น้ำมูตรโคชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่า ร่างกาย
แม้มีผิวพรรณดุจทองคำ ก็เป็นร่างกายที่เปื่อยเน่าอยู่นั่นเองฉันใด น้ำมูตรแม้
จะใหม่ก็เป็นน้ำมูตรเน่าฉันนั้นเหมือนกัน. ในเรื่องนั้น อาจารย์บางพวกเรียก
ชิ้นสมอที่ดองด้วยมูตรโคว่า น้ำมูตรเน่า. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เภสัช
ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขาสละ คือ ทิ้ง ได้แก่ นำออกมาจากร้านตลาด เป็นต้น
เพราะเป็นของเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาว่า เป็นน้ำมูตรเน่า.
บทว่า ยโต โข เป็นปัญจมีวิภัตติลงในปัจจัตตะ. มีคำอธิบายว่า ยํ โข.
ด้วยเหตุนั้น บทว่า ยโต โข จึงคลุมถึงกิริยาที่ท่านกล่าวไว้ว่า ตุฏฺโฐ โหติ.
บทว่า ตุฏฺโฐ แปลว่า สันโดษ. บทว่า อิทมสฺสาหํ ความว่า ความ
สันโดษด้วยปัจจัย 4 ตามที่กล่าวแล้วซึ่งมีน้อย (แต่) หาได้ง่ายใด เรา
ตถาคตกล่าวความสันโดษนี้ว่า เป็นองค์ของความเป็นสมณะ คือ องค์ที่ทำ
ให้เป็นสมณะองค์ใดองค์หนึ่ง คือ องค์หนึ่ง ในองค์ทั้งหลายมีศีลสังวรเป็นต้น
ของภิกษุนี้. เพราะว่า จตุปาริสุทธิศีลของภิกษุผู้สันโดษ ย่อมบริบูรณ์ดี
สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ย่อมถึงความบริบูรณ์. อีกประการหนึ่ง.
อริยมรรค ชื่อว่า สามัญญะ (ความเป็นสมณะ). ว่าโดยย่อ สามัญญะนั้น
มีองค์ 2 คือ องค์ภายนอก 1 องค์ภายใน 1. บรรดาองค์ทั้งสองนั้น
องค์ภายนอก ได้แก่ สัปปุริสูปัสสยะ (การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ) 1 สัทธัม-

มัสสวนะ (การฟังธรรมของสัตบุรุษ) 1. ส่วนองค์ภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ
(การทำไว้ในใจโดยแยบคาย) 1 ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรม-
สมควรแก่ธรรม) 1. บรรดาธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุที่ธรรมเหล่านั้นเป็นตัว
ธัมมานุธัมมปฏิบัติด้วย เป็นมูลรากแห่งธัมมานุธัมมปฏิบัตินั้นด้วย ตาม
สมควร ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ อัปปิจฉตา (ความมักน้อย)
สันตุฏฐิตา (ความสันโดษ) ปวิวิตตตา (ความเป็นผู้สงัด) อสังสัฏฐตา (ความ
เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ) อารัทธวิริยตา (ความเป็นผู้ปรารภความเพียร).
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ เราตถาคตกล่าวสันโดษนี้ว่า เป็น
องค์แห่งความเป็นสมณะองค์ใดองค์หนึ่ง ของภิกษุนั้น.
บทว่า เสนาสนนารพฺภ ได้แก่อาศัยเสนาสนะมีวิหารเป็นต้น และ
เสนาสนะมีเตียงและตั่งเป็นต้น. ในบทว่า จีวรํ ปานโภชนํ มีการเชื่อมความ
ว่า ปรารภ สบงจีวรเป็นต้น น้ำดื่มมีน้ำมะม่วงเป็นต้น และวัตถุที่พึงบริโภค
มีขาทนียะและโภชนียะเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า ความคับแค้น คือ
ภาวะที่ใจถูกกระทบกระทั่ง ได้แก่ ความทุกข์ใจ ไม่มี. ก็ในข้อนี้มีความย่อ
ดังนี้ว่า ความเคียดแค้นแห่งจิตอันใด เพราะไม่ได้ปัจจัยที่ต้องการ ย่อมมี
แก่ภิกษุผู้ไม่สันโดษ ผู้แสวงหาปัจจัยมีเสนาสนะเป็นต้น ด้วยการไปสู่ที่
ที่จะพึงได้ด้วยหวังว่า ในอาวาสชื่อโน้น ปัจจัยทั้งหลายหาได้ง่าย ก็ดี ด้วย
การโต้เถียงกันว่า ปัจจัยนี้ถึงแก่ผม ไม่ถึงแก่ท่าน ก็ดี ด้วยการทำงานเป็นต้น
ก็ดี ความเคียดแค้นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สันโดษในปัจจัยเหล่านั้น
บทว่า ทิสา นปฺปฏิหญฺญติ ความว่า เพราะสันโดษ ทิศทั้งหลายจึงไม่ถูก
กระทบกระทั่ง เนื่องจากภิกษุผู้สันโดษ เป็นผู้ไปได้ทั้ง 4 ทิศ. สมด้วยพระ
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้ ย่อมเป็นผู้ไปได้ทั้ง 4 ทิศ และไม่
ถูกกระทบกระทั่ง.

อธิบายว่า ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่โน้นแล้วจักได้ปัจจัยมีจีวรเป็น
ต้น ทิศของภิกษุนั้น ชื่อว่า ถูกกระทบกระทั่ง. ส่วนภิกษุใด ไม่เกิดความ
คิดอย่างนี้ขึ้นมา ทิศของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ถูกกระทบกระทั่ง.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติทั้งหลาย. บทว่า
สามญฺญสฺสานุโลมิกา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีความมักน้อยเป็นต้น ซึ่ง
เหมาะสมแก่สมณธรรม แก่สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา หรือแก่อริย-
มรรคนั่นแล. บทว่า อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมเป็น
อันภิกษุผู้มีจิตยินดีแล้ว คือ ภิกษุผู้มีจิตสันโดษแล้ว บรรลุแล้ว คือ ครอบงำ
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ยึดไว้ได้แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมมีอยู่ภายใน ไม่ใช่มีอยู่
ภายนอก.
จบอรรถกถาจัตตาริสูตรที่ 2

3. ชานสูตร


ว่าด้วยรู้อะไรเห็นอะไร


[282] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เราตถาคตไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลายของภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป