เมนู

สัตว์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระ-
ตถาคตผู้ได้บูชาธรรม ผู้ไม่มีความตระหนี่
ผู้มีปกติอนุเคราะห์สัตว์ทุกหมู่เหล่า ผู้
ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่ง
แห่งภพเช่นนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบพราหมณสูตรที่ 1


จตุกนิบาตวรรณนา็H2>

อรรถกถาพราหมณสูตร


ในพราหมณสูตรที่ 1 แห่งจตุกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อหํ เป็นบทแสดงถึงอัตตา (ตัวเรา). อธิบายว่า อัตตา
กล่าวคือสันดานอันเป็นของตน ที่เที่ยงแท้ไม่ใช่บุคคลอื่น เรียกว่า อหํ (ตัวเรา).
ก็พระศาสดาทรงปฏิญญาอยู่ว่า เรามี คือเมื่อทรงปฏิญญาความเป็นพราหมณ์
โดยปรมัตถ์ ที่กำลังตรัสถึงว่า อหํ (เราตถาคต) ว่ามีอยู่ในพระองค์ จึงได้
ตรัส ว่า เราตถาคตมี และบทว่า เราตถาคต มี พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มิได้
ตรัสเหมือนอย่างที่ปุถุชนทั้งหลาย ผู้ยังละอนุสัย คือ ทิฏฐิและมานะไม่ได้แล้ว
พูดเบ่งด้วยอำนาจการยึดมั่นด้วยทิฏฐิมานะ และความดูหมิ่นว่า เรามี เราเป็น
พรหม เป็นมหาพรหม และว่า เราประเสริฐกว่า. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงละทิฏฐานุสัยและมานานุสัยได้แล้วโดยประการทั้งปวง ไม่ทรงแล่นเลย
สมัญญา ทรงยังธรรมให้ประดิษฐานอยู่ในสันดานของเวไนยสัตว์โดยไม่ขัด-
ขวางกับสมญาโลก ทรงปฏิญญาว่า คุณเช่นนั้นมีอยู่ในพระองค์อย่างครบถ้วน
จึงตรัสว่า เราตถาคตมี. บทว่า พฺราหฺมโณ มีความว่า ชื่อว่า พราหมณ์
เพราะลอยบาปแล้ว และเพราะพูดถึงพระพรหม. ก็ในพระดำรัสนี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์. เพราะพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งการสมาทานวัตร มีทานและสัญญมะเป็นต้น ซึ่ง
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ด้วยการประพฤติตปะไม่มีเหลือ ทรงอยู่จบพรหม-
จรรย์แล้วด้วยดีทีเดียว ทรงถึงที่สุดแห่งเวททั้งหมด ทรงมีวิชชาและจรณะ
บริสุทธิ์ดีแล้ว ทรงล้างมลทิน คือบาปได้โดยประการทั้งปวง ตรัสถึง คือตรัส
บอกพระพรหม กล่าวคืออริยมรรคอันยอดเยี่ยม และทรงประกาศศาสน-
พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ดีแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ ชื่อว่า เป็น
พราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะทรงลอยบาปได้แล้ว โดยประการทั้งปวง และ
เพราะตรัสถึง คือ ตรัสบอกพระพรหม (แก่ผู้อื่น).
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความเป็นพราหมณ์อันยอด-
เยี่ยมของพระองค์ ในโลกกับทั้งเทวโลกอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่ากรรม 6
มีทานเป็นต้น ที่พราหมณ์บัญญัติไว้สำหรับพราหมณ์ ซึ่งบริสุทธิ์ดี มีอยู่ใน
พระองค์อย่างอุกฤษฏ์ จึงตรัสคำว่า ยาจโยโค เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจโยโค ได้แก่ ทรงประกอบด้วย
ภาวะที่ควรแก่ผู้ขอ. ชนเหล่าใด ขอ เหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ยาจะ.
ก็ในที่นี้ ผู้ขอเหล่านั้น พึงทราบว่า ได้แก่เวไนยสัตว์. อธิบายว่า ผู้ขอเหล่านั้น
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลขอให้ทรงแสดงธรรมว่า ข้าแต่พระองค์-

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตเจ้าจง
ทรงแสดงธรรมเถิด. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงทำการริดรอนความ
ปรารถนาของผู้ขอเหล่านั้น แสดงธรรมตามความพอใจ (ของผู้ขอ) ทรง
ประทานพระธรรมทาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงมีความเหมาะสมแก่ผู้ขอ.
พระองค์ไม่ทรงเหินห่างจากผู้ขอเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ คือ ตลอดเวลา. อีก-
ประการหนึ่ง บทว่า ยาจโยโค ได้แก่ เป็นผู้ควรแก่การขอ. อธิบายว่า
พระองค์ ชื่อว่า เป็นผู้ควรที่จะขอ เพราะทรงสนองความต้องการ (ของผู้ขอ)
ได้. ปาฐะว่า ยาชโยโค ดังนี้ก็มี. ในบทว่า ยาชโยโค นั้น มีอธิบายว่า
มหาทาน เรียกว่า ยาชะ อธิบายว่า การบูชา. แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า ได้แก่
ธรรมทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบในทาน เพราะเหตุนั้นจึง
ชื่อว่า ยาชโยคะ (เป็นผู้ประกอบในทาน). บทว่า สทา แปลว่า ในกาลทุกเมื่อ.
อธิบายว่า ทรงมีวัตรที่พึงอนุสรณ์ถึงและทรงมีพระสัทธรรมเป็นมหาทาน.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบสัตว์ด้วย ยาชะ (ทาน)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ยาชโยคะ อธิบายว่า ทรงประกอบสัตว์ทั้งหลายด้วย
ยาชะกล่าวคือทาน 3 อย่าง ตามสมควร คือ ทรงประกอบสัตว์ไว้ในทานนั้น.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ยาชโยโค สตตํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปยตปาณิ ได้แก่ พระองค์ทรงมีพระหัตถ์บริสุทธิ์. อธิบายว่า
บุคคลใด น้อมไปในทาน เมื่อจะให้อามิสทาน ย่อมเป็นผู้ล้างมือใน
กาลทุกเมื่อทีเดียว เพื่อให้ไทยธรรมโดยเคารพด้วยมือของตน บุคคลนั้น
ท่านเรียกว่า ปยตปาณิ (ผู้ล้างมือแล้ว). แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง
น้อมไปในธรรมทาน ทรงประกอบขวนขวายในธรรมทานตลอดกาลทุกเมื่อ
โดยเคารพ เพราะเหตุดังว่ามานี้ ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงล้างมือแล้ว. และบทว่า สทา พึงประกอบเข้ากับบทว่า ปยตปาณิ
นี้ด้วย. บทว่า สทา ปยตปาณิ ความว่า ก็พระศาสดาทรงยังการให้พระ-
สัทธรรม ให้เป็นไปแก่สัตว์โลกผู้เป็นเวไนยสัตว์ในกาลทุกเมื่อ คือ ทุกเวลา
โดยไม่ทรงแบ่งแยก ชื่อว่า ทรงประกอบขวนขวายในธรรมทานนั้นอยู่.
อีกนัยหนึ่ง ภาวนาเรียกว่า โยคะ. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ปัญญา ย่อมเกิดจาก โยคะ (การประกอบ) เพราะเหตุนั้น ในบทว่า
ยาชโยโค จึงมีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ยาชภาวนา คือ บริจาคภาวนา. จริงอยู่ ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า แม้เป็นพระโพธิสัตว์ อันพระกรุณากระตุ้นแล้วทรงเพิ่มพูนทาน
โดยไม่มีส่วนเหลือ ทรงบำเพ็ญบารมีถึงขั้นอุกฤษฏ์ในทานนั้นแล้ว บรรลุ
พระอภิสัมโพธิญาณ แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ยังทรงเพิ่มพูนทาน 3 อย่าง
ทรงประทานพระธรรมทานโดยพิเศษ ทั้งยังทรงแนะนําผู้อื่นไว้ในธรรมทาน
นั้น. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประทานคุณทรัพย์ตาม
ความประสงค์แก่ผู้ขอที่เป็นเวไนยสัตว์ ให้เป็นธรรมทาน ซึ่งแยกเป็นโลกิย-
ทรัพย์และโลกุตรทรัพย์มีอาทิอย่างนี้คือ บางคน ได้ทรงประทาน
สรณะ (3) ให้ บางคน ได้ทรงประทานศีล 5 ให้ บางคน ได้ทรง
ประทานศีล 10 ให้ บางคนได้ทรงประทานปาริสุทธิศีล 4 ให้ บางคน
ได้ทรงประทานธุตธรรมให้ บางคน ได้ทรงประทานฌาน 4 ให้ บางคน
ได้ทรงประทานสมาบัติ 8 ให้ บางคน ได้ทรงประทานอภิญญา 5 มรรค 4
สามัญผล 4 วิชชา 3 ปฏิสัมภิทา 4 ให้ และทรงแนะนำบุคคลอื่นว่า
ท่านทั้งหลายจงให้ ชื่อว่า ทรงเพิ่มพูนบริจาคภาวนา. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบเนือง ๆ ซึ่งบริจาคภาวนา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปยตปาณิ ได้แก่ มีพระหัตถ์แบออกแล้ว. อธิบายว่า

ทรงประกอบขวนขวายในการให้พระสัทธรรม ไม่ทำกำมือแห่งอาจารย์ (ไม่หวง)
เหมือนบุคคลผู้แบมือออกเพื่อจะให้อะไร ๆ ที่อยู่ในมือ พร้อมทั้งพูดว่า เชิญ
มา รับเอาเถิดฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปยตปาณิ ได้แก่ มีพระหัตถ์
อาจหาญ อธิบายว่า ทรงกระทำความอาจหาญในการทรงประทานพระธรรม
เหมือนบุคคลผู้มีมืออาจหาญเพื่อจะให้อามิสทานฉะนั้น.
บทว่า อนฺติมเทหธโร ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงไว้
ซึ่งอัตภาพครั้งสุดท้าย เพราะธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นพราหมณ์บริบูรณ์ด้วย
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. อธิบายว่า สำหรับบุคคลผู้ยังมิได้อยู่จบพรหมจรรย์
ยังจะพึงมีคติที่มีสมัญญาว่า ต่ำต้อยเป็นต้น เพราะละธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น
คนต่ำต้อยยังไม่ได้ คือ ยังจะพึงมีการนอนในครรภ์ต่อไป. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า พระองค์ทรงเป็นพราหมณ์ ผู้อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้วอย่างแท้จริง.
บทว่า อนุตฺตโร ภิสโก สลฺลกตฺโต ความว่า (พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
) ชื่อว่า เป็นนายแพทย์ผู้ยอดเยี่ยม เพราะทรงเยียวยาโรคคือวัฏทุกข์
ที่เยียวยาโดยยากได้ ชื่อว่า เป็นศัลยแพทย์ผู้ยอดเยี่ยม เพราะตัด คือ ถอนขึ้น
ได้โดยเด็ดขาดซึ่งลูกศรมีราคะเป็นต้น ที่คนอื่นยังถอนไม่ขึ้น. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสการทำบุคคลเหล่าอื่นให้เป็นพราหมณ์ได้โดยทรงประดิษฐาน
ธรรมทงั้หลายที่ทำให้เป็นพราหมณ์ได้โดยตรงซึ่งประดิษฐานอยู่แล้วในพระองค์
ไว้ในสันตติของบุคคลอื่นด้วยคำว่า อนุตฺตโร ภิสโก สลฺลภตฺโต นี้.
บทว่า ตสฺส เม ตุมฺเห ปุตฺตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอ
เธอทั้งหลายจงเป็นบุตร คือ จงเป็นผู้เกิดจากตนของเราตถาคตนั้น คือ ผู้เห็น
ปานนี้. บทว่า โอรสา ได้แก่ ผู้ผูกพันอยู่ในอก. เหมือนอย่างว่าโอรส คือ
บุตรผู้เกิดจากตนของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งทรัพยสมบัติที่เป็นของ

บิดา เป็นพิเศษฉันใด แม้พระอริยบุคคลเหล่านี้ก็ฉันนั้น เกิดแล้วในอริยชาติ
ในที่สุดแห่งการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นโอรส เพราะ
เป็นผู้มีส่วนแห่งวิมุตติสุข และรัตนะคือพระอริยธรรมซึ่งเป็นของ พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า
นั้นอย่างแน่นอน. อีกประการหนึ่ง พระอริยสาวกทั้งหลายที่กำลัง
ก้าวลง และก้าวลงแล้วสู่อริยภูมิด้วยอานุภาพแห่งธรรมเทศนาของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ชื่อว่า ย่อมควรเป็นผู้ที่ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า เป็นบุตร ผู้เกิด
แต่อกโดยตรง เพราะท่านมีอภิชาติ (การเกิด) อันความพยายามให้เกิดแล้ว
ที่พระอุระของพระศาสดา จริงอย่างนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้น อันพระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทรงทำไว้ในหทัย ด้วยการตรวจดูอาสยะ อนุสัย จริยา และ
อธิมุตติ เป็นต้น และด้วยการทรงคิดถึงสิ่งที่เป็นโทษเนือง ๆ ทรงกันออกจาก
สิ่งที่เป็นโทษแล้ว ให้ประดิษฐานอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นโทษ ทรงเลี้ยงดูให้เติบโต
โดยการเลี้ยงดูร่างกายด้วยธรรมมีศีลเป็นต้น.
บทว่า มุขโต ชาตา ความว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า
เกิดจากพระโอษฐ์ เพราะเกิดในอริยชาติ ด้วยพระธรรมเทศนาที่เกิดจาก
พระโอษฐ์. อนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งหลาย เกิดแล้วโดยอริยมรรคชาติจาก
ปากทางแห่งกุศลธรรมทั้งหมด คือปาฏิโมกข์ที่ไม่ทั่วไปกับธรรมอื่น หรือจาก
วิโมกขมุข กล่าวคือวิปัสสนาอันเป็นเหตุให้ถึงการออกไป(วุฏฐานคามินีวิปัสสนา)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เกิดจากพระโอษฐ์. พระอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า
เกิดในธรรม เพราะว่า เกิดในศาสนธรรม หรือในธรรมคืออริยมรรค ซึ่ง
ประมวลไตรสิกขาไว้. พระอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า อันธรรมเนรมิต เพราะ
หมายความว่า อันธรรมนั้นนั่นเอง นิรมิตคือสร้างแล้ว. พระอริยบุคคล
ทั้งหลาย เป็นทายาททางธรรมมีสติและธรรมวิจยะเป็นต้น ไม่ใช่เป็นทายาท-
ทางอามิสมีลาภและสักการะเป็นต้น. อธิบายว่า เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็น
อามิสทายาทเลย.

ธรรมในบทว่า ธมฺมทายาทา โน อามิสทายาทาเยว นั้นมี 2
อย่าง คือ นิปปริยายธรรม (ธรรมโดยตรง) 1 ปริยายธรรม (ธรรมโดยอ้อม) 1
แม้อามิสก็มี 2 อย่าง คือ นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง) 1 ปริยายอามิส
(อามิสโดยอ้อม) 1. มีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม 9
อย่าง แยกประเภทเป็นมรรค (4) ผล (4) นิพพาน (1) จัดเป็นนิปปริยาย-
ธรรมโดยแท้ หาจัดเป็นธรรมโดยปริยาย คือ โดยเหตุหรือโดยเลศอะไรๆ ไม่
ส่วนกุศลที่เข้าไปอาศัยวิวัฏฏะนี้ใด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อปรารถนา
วิวัฏฏะ จึงให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ทำการบูชาพระศาสดาด้วย
ของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ฟังธรรม แสดงธรรม ทำฌานสมาบัติให้บังเกิด
เขาเมื่อทำอยู่อย่างนี้ย่อมได้นิปปริยายธรรม คือ อมตนิพพานโดยลำดับ กุศลนี้
ชื่อว่า ปริยายธรรม. อนึ่ง ปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น ชื่อว่า นิปปริยายอามิส
เหมือนกัน หาใช่เป็นอามิสโดยปริยาย คือ โดยเหตุหรือโดยเลศอย่างอื่นไม่.
ส่วนกุศลที่เป็นเหตุให้ถึงวัฏฏะนี้ใด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อปรารถนา
วัฏฏะต้องการภพที่พร้อมด้วยสมบัติจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิด เขา
เมื่อทำอยู่อย่างนี้ ก็ได้สมบัติของเทวดาและมนุษย์ตามลำดับ กุศลนี้ชื่อว่า
ปริยายอามิส.
บรรดาธรรม 2 อย่างนั้น แม้นิปปริยายธรรมก็เป็นของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทีเดียว. อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก
ภิกษุทั้งหลายจึงได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่เกิดไม่พร้อมให้เกิดพร้อม (ทรงสร้าง
มรรคา) ฯลฯ ส่วนสาวกทั้งหลาย ในบัดนี้ที่มาในภายหลัง เป็นผู้ดำเนินไป

ตามมรรคอยู่ และว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น เมื่อรู้
(ก็ทรงบอกว่ารู้) เมื่อเห็น (ก็ทรงบอกว่า) เห็น ทรงมีพระจักษุ ทรง
มีพระญาณ ทรงมีธรรม ทรงเป็นพรหม ทรงบอก ทรงขยาย ทำให้ผู้ฟัง
น้อมไปสู่อรรถ ทรงประทานอมตะ ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงเป็นพระ-
ตถาคต. แม้ปริยายธรรมก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน. อธิบายว่า
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกนั่นเอง สาวกทั้งหลายจึงทราบว่า บุคคล
ผู้ปรารถนาวิวัฏฏะให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิด ย่อมได้อมตนิพพาน
โดยลำดับ. แม้นิปปริยายอามิส ก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน.
อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ภิกษุทั้งหลายจึงได้จีวร
อันประณีต เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องของหมอชีวก. สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตคหบดีจีวร
ภิกษุรูปใดปรารถนา ขอภิกษุรูปนั้นจงเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเถิด ภิกษุ
รูปใดปรารถนา ขอภิกษุรูปนั้นจงยินดีคหบดีจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรา
ตถาคตสรรเสริญความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้. เพราะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ทรงอนุญาตไว้แล้วเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงได้บริโภคปัจจัยแม้นอกนี้
ดังพรรณนามาฉะนี้. แม้ปริยายอามิสก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือน
กัน. อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกนั่นเอง สาวกทั้งหลายจึง
ทราบว่า บุคคลผู้ปรารถนาภพที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ
ทำสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ย่อมได้ปริยายอามิส คือ ทิพยสมบัติ (และ) มนุษย-
สมบัติ โดยลำดับ. เพราะเหตุที่ ทั้งนิปปริยายธรรม ทั้งปริยายธรรม ทั้ง
นิปปริยายอามิส ทั้งปริยายอามิส เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น ฉะนั้น
เมื่อจะทรงแสดงว่า พระองค์ทรงเป็นเจ้าของในธรรมนั้น และในธรรมและ
อามิสนั้น เมื่อจะทรงประกอบสาวกเหล่านั้นไว้ เฉพาะในธรรมและอามิสที่

ประเสริฐกว่า ซึ่งนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียว จึงตรัสอย่างนี้ว่า ขอเธอ
ทั้งหลายจงเป็นบุตร เป็นโอรสของเราตถาคตอย่างนั้นเถิด ฯลฯ อย่าเป็น
อามิสทายาทเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความเป็นพราหมณ์ โดยปรมัตถ์
ของพระองค์ และความที่พระอริยสาวกทั้งหลาย เป็นบุตรผู้เกิดแต่อกเป็นต้น
ของพระองค์ ผู้มีการสมาทานวัตรอันบริบูรณ์ ผู้ทรงบำเพ็ญตบะ ทรงอยู่จบ
พรหมจรรย์แล้วโดยชอบทีเดียว ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะอันบริสุทธิ์
ดีแล้ว ทรงถึงฝั่งคือที่สุดแห่งเวทไม่มีส่วนเหลือ ทรงลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว
ทรงเป็นผู้ควรแก่การขอตลอดกาลเป็นนิตย์ ทรงถึงความเป็นทักขิไณยบุคคล
ผู้ยอดเยี่ยมในโลก กับทั้งเทวโลก ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระองค์ว่า เป็นเหมือนราชสีห์ ใน
ประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นั่นแลเป็นชื่อของพระตถาคต
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเหมือนบุรุษผู้ชี้ทาง ในประ
โยคนี้ว่า ดูก่อนติสสะ คำว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง นั่นแลเป็นชื่อของ
พระตถาคต เป็นเหมือนพระราชา ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนเสละ เราตถาคต
เป็นพระราชา เป็นเหมือนนายแพทย์ ในประโยคนี้ว่า ดูก่อน สุนักขัตตะ
คำว่า นายแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด นั่นแลเป็นชื่อของพระตถาคต เป็น
เหมือนพราหมณ์ ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์
นั่นแลเป็นชื่อของพระตถาคต. แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัส
พระองค์ว่า เป็นเหมือนพราหมณ์.
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมสำคัญพราหมณกิจของพราหมณ์ ภายนอกจาก
ศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยคุณมีทานเป็นต้น เหล่าใด ว่าบริบูรณ์ เพื่อจะทรง

ประกาศว่า คุณมีทานเป็นต้นของพระองค์เลิศ และประเสริฐกว่าคุณเหล่านั้น
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า เทฺวมานิ ภิกฺขเว ทานานิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาคา ได้แก่ มหายัญ. อธิบายว่า
มหาทาน ซึ่งท่านเรียกว่า ของบูชา ดังนี้บ้าง. บรรดายัญ 2 อย่างนั้น ยัญ
คืออามิส พึงทราบว่า เป็นเหมือนทานของเวลามพราหมณ์ ทานของพระ
เวสสันดร และยัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช. ยัญคือธรรม พึงทราบว่า ได้แก่
การที่ทรงแสดงมหาสมยสูตร มงคลสูตร จูฬราหุโลวาทสูตร สมจิตตสูตร
เป็นต้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาดังต่อไปนี้ บทว่า อสชฺชิ แปลว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ให้แล้ว. บทว่า อมจฺฉรี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ชื่อว่า ทรงปราศจากจากความตระหนี่ เพราะทรงละความตระหนี่ทั้งหมดได้
แล้วอย่างเด็ดขาด ณ โคนโพธินั่นเอง. บทว่า สพฺพสตฺตานุกมฺปิ ความว่า
(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงมีปกติอนุเคราะห์สรรพสัตว์ด้วยพระมหากรุณา
เหมือนบิดาอนุเคราะห์บุตรสุดที่รัก ฉะนั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
พระมหามุนี ทรงมีพระทัยสม่ำเสมอ
ในนายขมังธนู ในพระเทวทัต ในโจร
องคุลิมา ในช้างธนบาล และในพระ-
ราหุล.

บทที่เหลือเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว.
จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ 1

2. จัตตาริสูตร


ว่าด้วยปัจจัยน้อยหาง่ายไม่มีในโทษ 4


[281] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ
อย่างนี้ 4 อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาจีวร ผ้าบังสุกุล น้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ บรรดาโภชนะ คำข้าวที่ได้ด้วยปลีแข้ง น้อย หา
ได้ง่าย และไม่มีโทษ บรรดาเสนาสนะ โคนไม้ น้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ
บรรดาเภสัช มูตรเน่าน้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปัจจัยน้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ 4 อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ตถาคตกล่าวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของภิกษุซึ่งเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่น้อย
หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ว่าเป็นองค์แห่งความเป็นสมณะ.
ความคับแค้นแห่งจิต ย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษ เพราะปรารภเสนาสนะ
จีวรปานะและโภชนะ ทิศของเธอชื่อว่าไม่
กระทบกระเทือน ภิกษุผู้สันโดษ ไม่
ประมาท ยึดเหนี่ยวเอาไว้ได้ซึ่งธรรมอัน
สมควรแก่ธรรมเครื่องความเป็นสมณะที่
พระตถาคตตรัสบอกแล้วแก่เธอ.

จบจัตตาริสูตรที่ 2