เมนู

ประกาศคุณสมบัติของพระศาสนา).
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้เพื่อแสดงว่า คำสอนเอาเป็น
ประมาณได้ เพราะประกาศว่า พระศาสดาเอาเป็นประมาณได้. ก็การแสดงว่า
คำสอนนั้น เอาเป็นประมาณได้นั้น พึงทราบว่าได้ประกาศไว้แล้ว ด้วยบทเหล่า
นี้ว่า ภควตา อรหตา ตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. ใน
ที่นี้ คำนี้แสดงเพียงช่องทางของประโยชน์แห่งคำนิทานเท่านั้น ดังนี้แล.
จบนิทานวรรณนา

เอกนิบาตวรรณนา


บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรม
อย่างหนึ่ง
ดังนี้. ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเป็นการปรากฏทีท่าน
กล่าววิจารณ์ ถึงบทตั้งของพระสูตรไว้ ฉะนั้น เราจักวิจารบทตั้งของพระสูตร
ก่อน.
จริงอยู่ บทตั้ง (ของพระสูตร) มี 4 อย่าง คือ อัตตัชฌาสยะ 1
ปรัชฌาสยะ 1 ปุจฉาวสิกะ 1 อัตถุปปัตติกะ 1.
อันที่จริง พระสูตร
ทั้งหลาย แม้มีประเภทตั้งแสนมิใช่น้อย ก็ไม่เกิน 16 อย่างไปได้โดยปัฏฐานนัย
(การเริ่มต้น) มีสังกิเลสภาคิยะ (เป็นไปในส่วนแห่งความเศร้าหมอง) เป็นต้น
ฉันใด พระสูตรทั้งหลายย่อมไม่เกิน 4 อย่างไปได้ โดยบทตั้งของพหูสูตร
มีอัตตัชฌาสยะเป็นต้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. ใน 4 อย่างนั้น อัตตัชฌาสยะ
และอัตถุปปัตติ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับปรัชฌาสยะและปุจฉา เพราะมีความ
สืบเนื่องกันแห่งอัตตัชฌาสยะ และปุจฉา คือ อัตตัชฌาสยะ และปรัชฌาสยะ
อัตตัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ อัตถุปปัตติกะ และปรัชฌาสยะ อัตถุปปัตติกะ

และปุจฉาวสิกะ ฉันใด เป็นความจริงแท้ที่แน่นอนที่อัตถุปปัตติ ย่อมมีความ
เกี่ยวข้อง แม้ด้วยอัตตัชฌาสยะ ฉันนั้น แต่อัตถุปปัตติไม่มีความเกี่ยวข้อง
ด้วยอัตตัชฌาสยะเป็นต้น อันเกิดขึ้นแต่ต้น เพราะฉะนั้น ปัฏฐานนัยอันไม่มี
เศษเหลือ จึงไม่เกิด. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบทตั้งของ
พระสูตรไว้ 4 อย่าง ด้วยตั้งข้อมูลของบทตั้งที่เหลือ อันเกิดขึ้นเพราะหยั่งลง
ภายในของนัยนั้น.
พึงทราบเนื้อความในสูตรนั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่า นิกเขปะ เพราะ
อรรถว่า อันเขาตั้งไว้. บทตั้งคือพระสูตร ชื่อว่า สุตตนิกเขปะ. อีกอย่างหนึ่ง
การตั้งความ ชื่อว่า นิกเขปะ. การตั้งความแห่งพระสูตร ชื่อว่า สุตตนิกเขปะ.
อธิบายว่า แสดงพระสูตร. อัธยาศัยของตน ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ. ชื่อว่า
อัตตัชฌาสยะ เพราะเป็นเหตุผลของตนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ
เพราะมีอัธยาศัยของตน แม้ในปรัชฌาสยะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ชื่อ ปุจฉาวสะ.
เพราะอำนาจแห่งคำถาม ชื่อว่า ปุจฉาวสิกะ เพราะมีอำนาจแห่งคำถาม.
เรื่องราวอันเป็นเหตุแสดงพระสูตรเกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถุปปัตติ อัตถุปตติ
นั้นแล ชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ. ชื่อว่าอัตถุปปีตตกะ เพราะมีเรื่องเกิดขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นิกเขปะ เพราะเป็นเครื่องยกพระสูตรขึ้น ได้แก่
อัตตัชฌาสยะเป็นต้นนั่นเอง. ในอรรถวิกัปนี้ อัธยาศัยของตนชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ
อัธยาศัยของคนอื่นชื่อว่า ปรัชฌาสยะ. ชื่อว่าปุจฉา เพราะถูกถาม ได้แก่
เนื้อความที่ควรถาม. ถ้อยคำของผู้รับธรรม อันเป็นไปด้วยคำถาม ชื่อว่า
ปุจฉาวสะ. คำนั้นท่านกล่าวโดยเป็นปุลลิงค์ว่า ปฺจฺฉาวสิโก เพราะเพ่งถึง
ศัพท์ นิกฺเขป. อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ อย่างนี้ว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้น
นั้นเอง ชื่ออัตถุปปัตติกะ.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่อัตตัชฌาสยะเป็นความตั้งของพระสูตร ต่าง
ออกไปควรแล้ว เพราะมิได้เพ่งถึงเหตุ มีความแก่กล้าของอินทรีย์เป็นต้น
ของบุคคลเหล่าอื่น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยอัชฌาสัยของตนอย่างเดียว
ดังนี้. เพราะให้เทศนาเป็นไป เพื่อดำรงแบบแผนของพระธรรมไว้. ข้อนี้
ไม่ควรท้วงว่า ความไม่กีดกันอัชฌาสยะ และปุจฉาของคนเหล่าอื่น อันเป็น
ปรัชฌาสยะ. และปุจฉาวสิกะ อันเป็นเหตุของเทศนานิมิตที่เป็นไปแล้วใน
อุปปัตติ ในอัตถุปปัตติกะได้อย่างไร หรือความไม่กีดกันของปุจฉาวสิกะ และ
อัตถุปปัตติกะที่เป็นไปแล้ว ด้วยไม่เข้าไปกีดกันปรัชฌาสยะ ในปรัชฌาสยะ
ได้อย่างไร. เป็นการแยกถือเอาแห่งปรัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ เพราะถือ
เอาโดยความเป็นอัตถุปบัติ แห่งความเกิดของเหตุแสดงพระสูตร อันนอกเหนือ
จากอภินิหารและการสอบถามเป็นต้น. เป็นความจริงดังนั้น การแสดงคุณ
โทษและความเกิดแห่งอามิสเป็นต้น ของพรหมชาลสูตร และธัมมทายาทสูตร
เป็นต้น ท่านเรียกว่า นิมิต. ท่านแสดงปรัชฌาสยะกระทำอัชฌาสยะ เว้นจาก
คำถามของคนเหล่าอื่นให้เป็นนิมิต ท่านแสดงปุจฉาวสิกะ ด้วยสามารถคำถาม
เพราะเหตุนั้น เนื้อความนี้ปรากฏชัดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้
ทูลเชิญ ตรัสพระสูตรเหล่าใดโดยอัชฌาสัยของพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น เช่น
อากังเขยยสูตรตุวัฏฏกสูตรเป็นต้น อัตตัชฌาสัยเป็นความตั้งของสูตรเหล่านั้น.
พระสูตรเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจตราอัชฌาสัย ความอดทน
อภินิหารและความรู้ของคนเหล่าอื่นว่า ธรรมอันแก่กล้า อันจะอบรมราหุลให้
พ้นมีอยู่เราพึงนำราหุลไปในความสิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว เช่น ราหุโลวาท-
สูตรธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นต้น โดยปรัชฌาสยะ ปรัชฌาสยะเป็นความ
ตั้งของสูตรเหล่านั้น.

ก็เหล่าเทวดามนุษย์ บริษัท 4 วรรณะ 4 เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาอย่างนั้น ๆ พระสูตรเหล่าใดมีโพชฌงคสังยุต
เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีผู้ทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์ตรัสโพชฌงค์ โพชฌงค์ ขอพระองค์ตรัสนิวรณ์ นิวรณ์ ดังนี้เป็นต้น
แล้วตรัส ปุจฉาวสิกะเป็นความตั้งของพระสูตรเหล่านั้น. ก็พระสูตรเหล่าใด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว เช่นธัมมทายาทสูตร ปุตต-
มังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตรเป็นต้น อัตถุปัตติกะเป็นความตั้งของพระสูตร
เหล่านั้น. ในความตั้งพระสูตร 4 เหล่านี้ ปรัชฌาสยะเป็นความตั้งของ
พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ท่านยกสูตรนี้ขึ้นด้วยสามารถปรัชฌาสยะ.
ถามว่า ท่านยกขึ้นด้วยอัชฌาสัยของบุคคลเหล่าไหน. ตอบว่า ด้วยอัชฌาสัย
ของบุคคลผู้ไม่เห็นโทษในความโลภ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็น
อัตตัชฌาสยะ.
เอกศัพท์ในบทเป็นต้นว่า เอกธมฺมํ ภิกฺขเว ในสูตรนั้นย่อมมีใน
ความอื่น ดังในประโยคเป็นต้นว่า คนพวกอื่นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและ
โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นสัจจะ อย่างอื่นเป็นโมฆะ. ย่อมมีในความประเสริฐ
ดังในประโยคเป็นต้นว่า เจตโส เอโกทิภาวํ ความที่มีจิตผุดขึ้นดวงเดียว.
ย่อมมีในความไม่มีเพื่อน ดังในประโยคเป็นต้นว่า เอโก วูปกฏฺโฐ ผู้เดียว
หลีกไป. ย่อมมีในความนับดังในประโยคเป็นต้นว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว
ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะและ
สมัยหนึ่งแล เพื่ออยู่พรหมจรรย์. แม้ในสูตรนี้พึงเห็นว่า ย่อมมีในความนับ.
ธัมมะศัพท์ ย่อมปรากฏในความมี ปริยัติ สัจจะ สมาธิ ปัญญา
ปกติ บุญ อาบัติ สุญญตา เญยยะ สภาวะ
เป็นต้น. มีความว่าปริยัติ
ในบทมีอาทิว่า ตถาหิสฺส อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ เป็นความจริง

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเรียนธรรม. มีความว่า สัจจะในบทมีอาทิว่า ทิฏฺฐ-
ธมฺโม
เห็นธรรมแล้ว. มีความว่า สมาธิในบทมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เหล่านั้น ได้เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้. มีความว่า ปัญญาในบทมีอาทิว่า สจฺจํ
ธมฺโม ธิติ จาโค สเว เปจฺจ น โสจติ

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม 4 ประการ คือ
สัจจะ ธรรม ปัญญา จาคะ ละโลกนี้
ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

มีความว่า ปกติในบทมีอาทิว่า ชาติธมฺมานํ ภิกฺเว สตฺตานํ เอวํ อิจฺฉา
อุปฺปชฺชติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีชาติ
เป็นปกติ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้. มีความว่า บุญในประโยคมีอาทิว่า ธมฺโม หเว
รกฺขติ ธมฺมจารี
บุญแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม. มีความว่า
อาบัติในประโยคมีอาทิว่า ติณฺณํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน วเทยฺย ปาราชิ-
เกน วา สงฺฆาทิเสน วา ปาจิตฺติเยน วา
ภิกษุพึงกล่าวถึงอาบัติ 3 อย่าง คือ
ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง. มีความว่า สุญญตา
ในบทมีอาทิว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย ธมฺมา โหนฺติ ก็ในสมัยนั้นแล
ธรรมทั้งหลายย่อมมี. มีความว่า เญยยะ (ธรรมที่ควรรู้) ในบทมีอาทิว่า
สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเขน อาปาถํ
อาคจฺฉนฺติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมมาสู่คลอง โดยญาณมุขของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะโดยอาการทั้งปวง. มีความว่า สภาวะในบทมีอาทิว่า
กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นอกุศล. พึงทราบว่า ในที่นี้ได้แก่สภาวธรรม. เพราะฉะนั้น บทว่า
เอกธมฺมํ ประสงค์เอาสภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว. ชื่อว่า เอกธรรม
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเดียว. [พวกเธอจงละ] ซึ่งเอกธรรมนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกฺขเว ดังนี้. ถามว่า
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ย่อมตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ไม่ทรง
แสดงธรรมทีเดียว เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ. ด้วยว่าภิกษุทั้งหลาย
นั่งคิดอย่างอื่นบ้าง นั่งพิจารณาธรรมบ้าง นั่งมนสิการกรรมฐานบ้าง เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกก่อน ทรงแสดงธรรมไปเลย ภิกษุทั้งหลาย
ไม่อาจกำหนดได้ว่า เทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย. ต่อเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสามารถตั้งสติกำหนดได้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อให้เกิดสติจึงตรัสเรียกว่า ภิกฺขเว ดังนี้.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประการข้อปฏิบัติที่ชนเสพที่หย่อน
และยิ่ง ด้วยความสำเร็จในการประกอบคุณ มีความเป็นผู้มีศีลเป็นต้น แก่
ภิกษุเหล่านั้น จึงทรงทำการปรามในความที่จิตน้อมไปในความฟุ้งซ่าน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้าต่อพระองค์ ด้วยพระ-
ดำรัส อันแผ่ไปด้วยพระกรุณา น้ำพระทัยเยือกเย็น มีดวงพระเนตรเชื่อมฉ่ำ
เป็นเบื้องต้น ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความใคร่ที่จะฟัง ด้วยพระดำรัสอัน
แสดงถึงความเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะกล่าวนั้นเอง ทรงชักจูงให้ตั้งใจฟังด้วยดี
ด้วยมุ่งให้เกิดความรู้นั้นเอง. จริงอยู่ การถึงพร้อมด้วยคำสอนอาศัยการตั้งใจฟัง.
ถามว่า เมื่อเทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่น อันเนื่องด้วยบริษัทมีอยู่. เพราะ
เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะ
ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้นั่งใกล้ เป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมสาธารณ์แก่
บริษัททั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้
เกิดก่อน ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะปฏิบัติตามพระจริยาของพระศาสดา
เริ่มตั้งแต่การออกบวชเป็นต้น และเพราะรับคำสอนไว้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้

ใกล้ เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งในที่นั้น เป็นผู้อยู่ใกล้. ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอน อันเป็นที่ตั้งแห่ง
พระธรรมเทศนา และเพราะเป็นผู้มีความวิเศษ. เทศนานี้ หมายถึงภิกษุ
บางพวก เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น.

ว่าด้วยการละ 5 อย่าง


ชื่อว่าปหานะ ในบทนี้ว่า ปชหถ นี้ มี 5 อย่าง คือ ตทังคปหาน 1
วิกขัมภนปหาน 1 สมุจเฉทปหาน 1 ปฏิปัสสัทธิปหาน 1 นิสสรณ-
ปหาน 1
ในปหานะ 5 อย่างนั้น การละความโลภเป็นต้น ด้วยความไม่โลภ
เป็นต้น การละสิ่งไม่มีประโยชน์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณ มีการกำหนดนามรูป
เป็นต้น เพราะเป็นปฎิปักษ์กัน เหมือนการกำจัดความมืดด้วยแสงประทีป
ฉะนั้น เช่นการละมลทินมีโลภเป็นต้นด้วยการบริจาค การละทุศีลมีปาณาติบาต
เป็นต้นด้วยศีล การละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น ด้วยศรัทธา การละสักกายทิฏฐิ
ด้วยกำหนดนามรูป การละทิฏฐิอันเป็นอเหตุกะและวิสมเหตุ ด้วยการกำหนด
ปัจจัย การละความสงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัยส่วนอื่นๆ นั้นเสียได้ การ
ละความถือมั่นว่าเราของเรา ด้วยพิจารณาเห็นเป็นกลาปะ (กอง) การละความ
เห็นในสิ่งที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและอมรรค การละ
อุจเฉททิฏฐิ ด้วยการเห็นความเกิด การละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม การละ
ความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นภัย การละความสำคัญใน
สิ่งที่ชอบใจ ด้วยการเห็นโทษ การละความสำคัญ ในสิ่งที่น่าอภิรมย์ ด้วยการ
พิจารณาถึงความเบื่อหน่าย การละความที่ไม่อยากหลุดพ้น ด้วยญาณ คือ ความ
อยากพ้น การละความไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ การละธรรมฐิติ ด้วย
อนุโลม การละความเป็นปฏิโลม ด้วยนิพพาน การละความเป็นสังขารนิมิต
ด้วยโคตรภู การละนี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละชั่วคราว).