เมนู

ประกาศคุณสมบัติของพระศาสนา).
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้เพื่อแสดงว่า คำสอนเอาเป็น
ประมาณได้ เพราะประกาศว่า พระศาสดาเอาเป็นประมาณได้. ก็การแสดงว่า
คำสอนนั้น เอาเป็นประมาณได้นั้น พึงทราบว่าได้ประกาศไว้แล้ว ด้วยบทเหล่า
นี้ว่า ภควตา อรหตา ตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. ใน
ที่นี้ คำนี้แสดงเพียงช่องทางของประโยชน์แห่งคำนิทานเท่านั้น ดังนี้แล.
จบนิทานวรรณนา

เอกนิบาตวรรณนา


บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรม
อย่างหนึ่ง
ดังนี้. ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเป็นการปรากฏทีท่าน
กล่าววิจารณ์ ถึงบทตั้งของพระสูตรไว้ ฉะนั้น เราจักวิจารบทตั้งของพระสูตร
ก่อน.
จริงอยู่ บทตั้ง (ของพระสูตร) มี 4 อย่าง คือ อัตตัชฌาสยะ 1
ปรัชฌาสยะ 1 ปุจฉาวสิกะ 1 อัตถุปปัตติกะ 1.
อันที่จริง พระสูตร
ทั้งหลาย แม้มีประเภทตั้งแสนมิใช่น้อย ก็ไม่เกิน 16 อย่างไปได้โดยปัฏฐานนัย
(การเริ่มต้น) มีสังกิเลสภาคิยะ (เป็นไปในส่วนแห่งความเศร้าหมอง) เป็นต้น
ฉันใด พระสูตรทั้งหลายย่อมไม่เกิน 4 อย่างไปได้ โดยบทตั้งของพหูสูตร
มีอัตตัชฌาสยะเป็นต้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. ใน 4 อย่างนั้น อัตตัชฌาสยะ
และอัตถุปปัตติ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับปรัชฌาสยะและปุจฉา เพราะมีความ
สืบเนื่องกันแห่งอัตตัชฌาสยะ และปุจฉา คือ อัตตัชฌาสยะ และปรัชฌาสยะ
อัตตัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ อัตถุปปัตติกะ และปรัชฌาสยะ อัตถุปปัตติกะ