เมนู

บทว่า กาเม ปหนฺตฺวาน ความว่า ละกิเลสกามทั้งหลาย กล่าวคือ
กามราคะ ด้วยพระอนาคามิมรรค. บทว่า ฉินฺนสํสยา ความว่า มีความ
สงสัยอันตัดขาดแล้วด้วยดี ก็แลการตัดความสงสัยนั่นแล จะมีได้ก็ด้วยพระ-
โสดาปัตติมรรคเท่านั้น. ก็เพื่อจะทรงสรรเสริญมรรคที่ 4 จึงตรัสไว้อย่างนี้.
อธิบายว่า พระอรหันต์ทั้งหลายทรงประสงค์เอาว่า ผู้ตัดความสงสัยได้แล้วใน
พระคาถานี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ขีณมานปุนพฺภวา
มีมานะและภพใหม่สิ้นแล้ว ดังนี้. พระอริยบุคคลชื่อว่า มีมานะและภพใหม่
สิ้นแล้ว เพราะท่านมีมานะทั้ง 9 และภพใหม่ต่อไปสิ้นแล้ว โดยประการ
ทั้งปวง. ก็ในบทว่า ขีณมานปุนพฺภวา นี้ กิเลสอันมรรคที่ 4 พึงฆ่าทั้งหมด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยมานศัพท์ หรือด้วยสามารถแห่งลักษณะ
เพราะกิเลสมีอรรถอย่างเดียวกับมานะนั้น. ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยที่พระขีณาสพมีอาสวะสิ้นแล้ว. อนุปาทิ-
เสสนิพพานธาตุ
เป็นอันพระองค์ตรัสแล้ว โดยที่พระขีณาสพมีภพใหม่
สิ้นแล้ว. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถากามสูตรที่ 7

8. กัลยาณสูตร


ว่าด้วยศีลงามธรรมงามปัญญางาม


[277] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม มีปัญญา
งาม เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้
สูงสุดในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้มี่ศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีล
งามด้วยประการดังนี้.
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบ
ด้วยความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม 37 ประการเนือง ๆ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม
ด้วยประการดังนี้.
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มี
ปัญญางามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วย
ประการนี้ เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็น
บุรุษสูงสุดในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุใดไม่มีการทำชั่วด้วยกาย วาจา
ใจ พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น กล่าวภิกษุผู้มีหิรินั้นแลว่าผู้มีศีล
งาม.
ภิกษุใดเจริญดีแล้วซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันให้ถึงอริยมรรคญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ดี
ที่ตนได้บรรลุแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าวภิกษุผู้ไม่มีกิเลส
เครื่องฟูขึ้นนั้นแลว่า ผู้มีธรรมอันงาม.
ภิกษุรู้ชัดซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์

ของตนในอัตภาพนี้แล พระอริยเจ้าทั้ง
หลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวภิกษุ
ผู้ไม่มีอาสวะ สมบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านั้น
ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ไม่
อาศัยละกิเลสทั้งหมดในโลกทั้งปวงนั้นแล
ว่าผู้มีปัญญางาม.

จบกัลยาณสูตรที่ 8

อรรถกถากัลยาณสูตร


ในกัลยาณสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กลฺยาณสีโล ความว่า ผู้มีศีลอันงาม คือ มีศีลสมบูรณ์แล้ว
ได้แก่ มีศีลบริบูรณ์แล้ว. ในองคคุณทั้ง 3 นั้น ภิกษุชื่อว่า มีศีลบริบูรณ์
ด้วยเหตุ 2 ประการ คือด้วยการเห็นโทษแห่งศีลวิบัติโดยชอบนั่นเอง 1
ด้วยการเห็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติ 1. แต่ในข้อที่ว่ามีศีลอันงามนี้ พึงทราบ
ความที่ศีลนั้นงามด้วยสามารถแห่งมรรคศีลและผลศีล ที่พ้นจากข้อผูกพัน
ทั้งหมด (และ) บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง.
โพธิปักขิยธรรมทั้งหมด ทรงประสงค์เอาว่า กัลยาณธรรม
เพราะฉะนั้น ภิกษุชื่อว่า มีกัลยาณธรรม เพราะมีโพธิปักขิยธรรม มีสต-ิ
ปัฏฐานเป็นต้น อันงดงาม.
และภิกษุผู้มีปัญญางามด้วยสามารถแห่งมรรคผลปัญญานั่นแล ชื่อว่า
ผู้มีปัญญางาม อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่เป็นโลกุตรธรรม