เมนู

โดยพระสูตร รวมพระสูตรไว้ 112 พระสูตร คือ ในเอกนิบาต 27 สูตร
ในทุกนิบาต 22 สูตร ในติกนิบาต 50 สูตร ในจตุกนิบาต 13 สูตร. อิติ-
วุตตกะนั้น ในบรรดานิบาต มีเอกนิบาตเป็นนิบาตแรก ในบรรดาวรรค
มีปาฎิโภควรรคเป็นวรรคแรก ในบรรดาสูตรมีโลภสูตรเป็นสูตรแรก. อนึ่ง
อิติวุตตกะแม้นั้น มีคำขึ้นต้นที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในคราวทำสังคายนา
ใหญ่ครั้งแรก มีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํ ภควคา เป็นคำแรก. ก็การสังคายนา
ใหญ่ครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่แบบแผน ปรากฏอยู่ในวินัยปิฎกแล้วแล. อนึ่ง
กถามรรคใดจะพึงกล่าวไว้ เพื่อจะได้เข้าใจในคำขึ้นต้นในที่นี้ กถามรรค
แม้นั้นก็ได้กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี
เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ ในอรรถกถานั้นเถิด.

นิทานวรรณนา


ก็คำขึ้นต้นมีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา และพระสูตรมีอาทิว่า
เอกธมฺมํ ภิกฺขเว ปชหถ นี้ใด ในคำขึ้นต้นและพระสูตรนั้น บททั้งหลาย
มีอาทิว่า วุตฺตํ ภควตา เป็นบทนาม. บทว่า อิติ เป็นบทนิบาต. บทว่า
ในบทว่า ปชหถ นี้ เป็นบทอุปสรรค. ว่า ชหถ เป็นบทอาขยาต.
พึงทราบการจำแนกบทในที่ทุกแห่งตามนัยนี้.

อธิบายวุตตศัพท์


อนึ่ง โดยอรรถ วุตตศัพท์ที่มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรดูก่อน ย่อม
ปรากฏในอรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ การหว่านพืช การทำพืชที่หว่านให้
เสมอกัน การโกนผม การเลี้ยงชีวิต ความหลุดพ้น การเป็นไปโดยความเป็น
ปาพจน์ การเล่าเรียน การกล่าว.
จริงอย่างนั้น วุตตศัพท์นั่นมาในการหว่านพืช ในประโยคเป็นต้นว่า

โคทั้งหลายของเขากำลังตกลูก พืช
ที่หว่านในนากำลังงอก ผู้ใดไม่ประทุษ-
ร้ายต่อมิตรทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมได้บริโภค
ผลของพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว.

มาในการทำพืชที่หว่านให้เสมอกันด้วยวัตถุทั้งหลายมีคราดเป็นต้น ในประโยค
มีอาทิว่า โน จ โข ปฏิวุตฺตํ. มาในการโกนผมในประโยคมีอาทิว่า
มาณพหนุ่มชื่อ กาปฏิกะ โกนผมแล้ว. มาในการเลี้ยงชีวิต ในประโยคมิอาทิว่า
มีขนตก อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีวิต มีจิตตั้งมฤคอยู่. มาในความหลุดพ้นจากเครื่อง
ผูก ในประโยคมีอาทิว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้ว ไม่สามารถกลับเป็นของ
เขียวสดได้อีก แม้ฉันใด. มาในการเป็นไปโดยความเป็นปาพจน์ ในประโยค
มีอาทิว่า คนเหล่าใดขับ ร่าย สาธยายมนต์บทเก่านี้ ในบัดนี้. มาในการ
เล่าเรียนในประโยคมีอาทิว่า ก็คุณที่เล่าเรียนในโลก เป็นคุณที่จะต้องเล่าเรียน
ต่อไป. มาในการกล่าวในประโยคมีอาทิว่า ก็แลสมดังพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท
ของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย. แต่ในที่นี้ วุตตศัพท์พึงเห็นว่า
ใช้ในการกล่าว เพราะเหตุนั้น จึงมีความหมายว่า พูด บอก กล่าว. ส่วน
วุตตศัพท์ที่สอง พึงทราบว่า ใช้ในคำพูดและในภาวะที่ประพฤติแล้ว.

อธิบาย หิ และเอตํศัพท์


ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายนี้ว่า แน่แท้ ชัดแจ้ง. หิ
ศัพท์นั้นส่องความว่า สูตรที่จะกล่าวในบัดนี้ เป็นสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้อย่างชัดแจ้ง. นิบาตทั้งหลายประกอบด้วยความประชุมพร้อมแห่งศัพท์