เมนู

อรรถกถาอัคคิสูตร


ในอัคคิสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ :-
ชื่อว่าไฟ เพราะความหมายว่า ลวกลน. ไฟคือราคะ ชื่อว่า
ราคัคคิ. เพราะว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้นจะลวกลนคือไหม้สัตว์ทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อัคคิ. ในโทสะ และโมหะ 2 อย่างนอกจากนี้ ก็มี
นัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคคฺคิ เป็นต้นต่อไป. ไฟติดขึ้นเพราะ
อาศัยเชื้ออันใด ก็จะไหม้เชื้อนั้น (ลุกฮือ) เร่าร้อนมากทีเดียว ฉันใด ราคะ
เป็นต้น แม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเองในสันดานใด ก็จะเผาลน
สันดานนั้นให้กลัดกลุ้มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ดับได้ยาก. บรรดาสัตว์ที่ถูกราคะ
เป็นต้นเผาลนเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ถูกความกลัดกลุ้มเผาลนหทัย ประสบ
ความตายเพราะความทุกข์ คือไม่ได้สิ่งที่ต้องการ (ไม่สมหวัง) หาประมาณ
มิได้. นี้เป็นการเผาลนของราคะก่อน. แต่โดยพิเศษแล้ว ได้แก่เทพเจ้าเหล่า
มโนปโทสิกา (จุติเพราะทำร้ายใจ) เพราะการเผาลนของโทสะ. เทพเจ้าเหล่า
ขิฑฑาปโทสิกา (จุติเพราะเพลิดเพลินกับการเล่น) เป็นตัวอย่าง เพราะ
การเผาลนของโมหะ. เพราะว่า ความเผลอสติของเทพเจ้าเหล่านั้นมีได้ ด้วย
อำนาจโมหะ เพราฉะนั้น เทพเจ้าเหล่านั้น เมื่อปล่อยเวลารับประทานอาหาร
ให้ล่วงเลยไป ด้วยอำนาจการเล่นจนทำกาละ นี้ คือการเผาลนแห่งราคะเป็นต้น
ที่มีผลทันตาเห็นก่อน. แต่ที่มีผลในสัมปรายิกภพซึ่งร้ายแรงกว่า และยับยั้ง
ได้ยาก มีขึ้นด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นในนรกเป็นต้น. และอรรถาธิบายนี้
ควรขยายให้แจ่มชัด ตามอาทิตตปริยายสูตร.