เมนู

ขึ้นรูป. บทว่า วณฺโณ ได้แก่ รูปสมบัติ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวาร-
สมบัติ. บทว่า กิตฺติ ได้แก่ เสียงสดุดีกึกก้อง. บทว่า สุขํ ได้แก่ ความสุข
ทางกายและความสุขทางใจ. บทว่า พลํ ได้แก่ กำลังกายและกำลังความรู้.
บทว่า อคฺคสฺส ทาตา ความว่า ถวายแก่พระรัตนตรัยอันล้ำเลิศ อีกอย่างหนึ่ง
บำเพ็ญบุญในพระรัตนตรัยนั้น โดยทำการถวายไทยธรรมอันเลิศให้โอฬาร.
บทว่า อคฺคธมฺมสมาหิโต ความว่า ดำรงอยู่แล้ว คือ ประกอบแล้วด้วย
ธรรมคือความเลื่อมใส และธรรมมีทานเป็นต้น ที่ล้ำเลิศ ได้แก่ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว หรือประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย มีความ
รักใคร่และความพอใจของคนจำนวนมากเป็นต้น ที่เป็นผลของความเลื่อมใส
นั้น. บทว่า อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ ความว่า ประสบความล้ำเลิศ คือ
ความประเสริฐสุด ในหมู่สัตว์ที่ตนเกิดแล้ว หรือเป็นผู้บรรลุมรรคผลที่เป็น
โลกุตระแล้ว ย่อมบันเทิงคือรื่นเริงใจ ได้แก่พอใจมาก ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปสาทสูตรที่ 1

2. ชีวิตสูตร


ว่าด้วยก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น


[271] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่เพราะการแสวงหาก้อน-
ข้าวนี้ เป็นกรรมที่ลามกของบุคคลผู้เป็นอยู่ทั้งหลาย บุคคลผู้ด่าย่อมด่าว่า
ท่านผู้นี้มีบาตรในมือ ย่อมเที่ยวแสวงหาก้อนข้าวในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็กุลบุตรทั้งหลาย เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ อาศัยอำนาจแห่งเหตุ ไม่
ได้ถูกพระราชาทรงให้นำไปจองจำไว้เลย ไม่ได้ถูกพวกโจรนำไปกักขังไว้

ไม่ได้เป็นหนี้ ไม่ได้ตกอยู่ในภัย เป็นผู้มีความเป็นอยู่เป็นปกติ ย่อมเข้าถึง
ความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้น ด้วยคิดว่า ก็แม้พวกเราแล เป็นผู้
ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว
ถูกทุกข์ติดตามแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว แม้ไฉน การการทำซึ่งที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้
เป็นผู้มีอภิชฌามาก มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุน
ไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ เรากล่าวบุคคลนี้ว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผี
ที่ไฟติดทั่วแล้วทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้าน
ในป่า ก็ไม่สำเร็จฉะนั้น บุคคลนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ และไม่
ยังผลแห่งความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจาก
โภคะแห่งคฤหัสถ์ ย่อมขจัดผลแห่งความ
เป็นสมณะให้กระจัดกระจายไป เหมือน
ดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น
ก้อนเหล็กร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ อัน
บุคคลบริโภคแล้ว ยังจะดีกว่า บุคคลผู้
ทุศีล ผู้ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าว
ของชาวแว่นแคว้นจะดีอะไร.

จบชีวิตสูตรที่ 2

อรรถกถาชีวิตสูตร


ชีวิตสูตรที่ 2

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ด้วยอำนาจเหตุที่
เกิดขึ้น.
ดังได้ทราบมาว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่
นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ภิกษุทั้งหลายพากันปูที่นั่งที่นอนสำหรับภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลาย กำลังเก็บบาตรและจีวรอยู่ และสามเณรทั้งหลายพากันรับ
เอาลาภ ของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วมาถึงแล้ว ในที่ ๆ แจกลาภได้ส่งเสียงอึกทึก
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ได้ทรงประณาม (ขับไล่) ภิกษุ
เหล่านั้น. ได้ทราบว่า ภิกษุเหล่านั้น เป็นภิกษุใหม่ทั้งนั้นมาสู่พระธรรมวินัยนี้
ยังไม่นาน. ท้าวมหาพรหมทราบพฤติการณ์นั้นแล้ว ได้เสด็จมาแล้ว ทูลขอ
พระพุทธานุเคราะห์ แก่ภิกษุที่ถูกประณามเหล่านั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพอพระทัยภิกษุสงฆ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
เปิดโอกาสให้ท้าวมหาพรหมนั้น. ทีนั้นท้าวมหาพรหมได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เปิดโอกาสให้ข้าพระองค์แล้วได้ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วได้เสด็จหลีกไป. ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงดำริว่า ขอพระภิกษุสงฆ์จงมาเถิด แล้วได้ทรงแสดงอาการแก่
พระอานนทเถระ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงถูกพระอานนทเถระเรียก
ให้มาหา ได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยินดีแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาหาพระธรรมเทศนาที่จะเป็นสัปปายะ
ของภิกษุเหล่านั้น ทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ถูกเราตถาคตประณาม เพราะ
เหตุแห่งอามิส ธรรมเทศนาว่าด้วยก้อนข้าวที่ทำเป็นคำ ๆ จะเป็นสัปปายะของ