เมนู

นางขุชชุตตรานั้น นุ่งผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งเอาห่มเฉวียงบ่าแล้ว
ปูลาดอาสนะนั่งบนอาสนะถือพัดอันวิจิตร ร้องทักมาตุคามทั้ง 500 นางซึ่งนั่ง
อยู่บนอาสนะที่ต่ำกว่า ดำรงอยู่ในเสกขปฏิสัมภิทา แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น
ตามนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั่นแล. เวลาจบเทศนา หญิงทั้งหลาย
นั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล. หญิงทั้งหมดนั้นไหว้นางขุชชุตตราพลางกล่าวว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ตั้งแต่วันนี้ไป ขอแม่เจ้าอย่าได้ท่างานอันต่ำต้อยอีกต่อไปเลย
ขอแม่เจ้าจงดำรงอยู่ในฐานะเป็นมารดา ในฐานะเป็นอาจารย์ของเราทั้งหลาย
เถิด ดังนี้แล้ว ได้ตั้ง (นาง) ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ.

อดีตชาติของนางขุชชุตตรา


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางขุชชุตตรานี้จึงบังเกิดเป็นนางทาสี ?
ตอบว่า เล่ากันว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ
นางบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองพาราณสีเมื่อพระเถรีผู้เป็นพระขีณาสพ
รูปหนึ่งไปยังตระกูลอุปัฏฐาก ก็เรียนว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงให้กระเช้า
ประดับนั่นแก่ดิฉันเถิด ดังนี้แล้ว สั่งให้คนใช้ทำการรับใช้ (พระเถรี) ฝ่ายพระ-
เถระ คิดว่า เมื่อเราไม่ให้ นางจักเกิดความอาฆาต (ตายแล้ว) จักได้เกิดใน
นรก เมื่อเราให้ นางจักเกิดเป็นทาสีของคนอื่น การที่นาง (เกิด) เป็นทาสี
ดีกว่าการไหม้ในนรก ดังนี้แล้ว อาศัยความกรุณาจึงได้ทำตามคำของนาง.
ด้วยกรรมนั้น นางได้บังเกิดเป็นทาสีของคนอื่นสิ้น 500 ชาติ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางจงได้เป็นหญิงค่อม ? ตอบว่า เล่ากันว่า
เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นราชกุลุปกะองค์หนึ่งหลังค่อมนิดหน่อย เมื่อจะ
ทำการล้อเลียนต่อหน้าหญิงที่อยู่ด้วยกันกับตน จึงได้แสดงอาการหลังค่อมเป็น
การสนุกสนานตามที่กล่าว เพราะเหตุนั้น นางจึงบังเกิดเป็นหญิงค่อม.

ถามว่า ก็นางทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นหญิงมีปัญญามาก ? ตอบว่า
เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า 8 องค์ เปลี่ยน (มือ) อุ้มบาตรที่เต็มด้วยข้าวปายาส
ร้อน (ที่รับ) จากพระราชวังก็ได้ถวายวลัยงา 8 อัน ซึ่งเป็นของตนพลาง
เรียนว่า ขอพระคุณเจ้าโปรดวาง (บาตร) ไว้บนวลัยนี้ แล้วอุ้ม (บาตร) เถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ทำตามนั้นแล้วมองดู (นาง) นางเรียนว่า วลัย
เหล่านี้ ดิฉันสละถวายแด่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงถือไปเถิด พระปัจ-
เจกพุทธเจ้า
เหล่านั้น ได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ แม้จนวันนี้ วลัยเหล่านั้น
ก็ยังไม่ผุกร่อนเลย. นางเกิดเป็นหญิงมีปัญญามากเพราะผลแห่งกรรมนั้น
ต่อมา สตรี 500 นางซึ่งมีพระนางสามนาวดีเป็นประมุข ได้กล่าวกะ
นางว่า ข้าแต่แม่ ขอแม่จงไปยังสำนักของพระศาสดาทุกวัน สดับธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว (มา) แสดงแก่เราบ้าง. นางได้ทำตามนั้น
ในเวลาต่อมาจึงกลายเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎก. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึง
ตั้งนางไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาสาวิกาของเรา
ที่เป็นพหูสูต ขุชชุตตรานี้เป็นเลิศ อุบาสิกาขุชชุตตรา ผู้เป็นอริยสาวิกา
ได้บรรลุปฏิสัมภิทาอัน พระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ เพราะเป็นพหูสูต
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี ได้ไปยังสำนักพระศาสดาตามกาล
อันสมควร ได้ฟังธรรมแล้ว กลับไปภายในราชสำนัก เมื่อจะกล่าวธรรมตาม
ที่ได้ฟังมา ตามนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงแก่สตรีอริยสาวิกา 500 นางมี
พระนางสามาวดีเป็นประมุข เมื่อจะเปลื้องตนประกาศความที่ธรรมตนได้
สดับในสำนักพระศาสดา จึงยกนิทาน (คำเริ่มต้น) ขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า
ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว คือ พระอรหันต์ตรัสไว้แล้วดังพรรณ-
นามาฉะนี้.

ก็เพราะเหตุที่นางขุชชุตตรานั้นได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ในนครนั้นแล แล้วกล่าวแก่สตรีเหล่านั้น ในวันนั้นด้วย
ฉะนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะอ้างเวลาและสถานที่ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี เพราะเวลาและสถานที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว.
ฝ่ายภิกษุณีทั้งหลายก็ได้เรียนเอาสูตรเหล่านี้ในสำนักนางขุชชุตตรานั้น. แม้ใน
หมู่ภิกษุ นิทาน(คำเริ่มต้น) ที่นางขุชชุตตรานั้นยกขึ้นไว้ก็ปรากฏโดยสืบทอด
กันมาอย่างนี้. ต่อมาท่านพระอานนท์ นั่งสั่งคายนาพระธรรมอยู่ในท่ามกลาง
คณะพระเถระ ผู้เชี่ยวชาญมี พระมหากัสสปะเป็นประมุข ในสัทธรรมมณฑป
ที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงให้สร้างขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภายหลังจากเวลา
ที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน เมื่อจะหลีกเลี่ยง (ไม่ต้องการให้) นิทานของ
สูตรเหล่านี้มี 2 นิทาน จึงยกนิทานขึ้นตามนิยามที่นางขุชชุตตรานั้นยกไว้
แล้วแล. แต่อาจารย์บางพวกขยายประการในที่นี้ให้มากออกไป. ประโยชน์
อะไรด้วยประการเหล่านั้น.

อิติวุตตกะมี 112 สูตร


อีกอย่างหนึ่ง พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย สังคายนาพระธรรมวินัยไว้
โดยนัยต่าง ๆ. จริงอยู่ พระมหาเถระผู้สังคายนาพระธรรมเป็นพระอนุพุทธะ
(ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า). พระมหาเถระเหล่านั้นรู้อาการสังคายนาพระธรรม
วินัย โดยชอบแท้ทีเดียวในทีบางแห่งจึงตั้งนิทาน(คำเริ่มต้น) ไว้โดยนัยเป็นต้น
ว่า เอวมฺเม สุตํ ในที่บางแห่งตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เตน สมเยน
ในที่บางแห่งตั้งนิทาน โดยเป็นคาถาพันธ์ (แต่) ในที่บางแห่งไม่ตั้งนิทาน
ไว้ทั้งหมด สังคายนาพระธรรมวินัย โดยแยกเป็นวรรคสังคหะเป็นต้น. บรรดา
อาคตสถานเหล่านั้น ในที่นี้ พระสังคีติกาจารย์ตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า