เมนู

7. ธรรมสูตร


ว่าด้วยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม


[265] เมื่อภิกษุกล่าวว่า ผู้นี้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ด้วย
การพยากรณ์ด้วยธรรมอันสมควรใด ธรรมอันสมควรนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้
ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ดังนี้ ชื่อว่าย่อมกล่าวธรรมอย่างเดียว ย่อม
ไม่ตรึกถึงวิตกที่ไม่เป็นธรรม ภิกษุเว้นการกล่าวอธรรมและการตรึกถึงอธรรม
ทั้ง 2 นั้น เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว
ในธรรม ค้นคว้าธรรมอยู่ ระลึกถึงธรรม
อยู่เนื่อง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอน
อยู่ก็ดี ให้จิตของตนสงบอยู่ ณ ภายใน
ย่อมถึงความสงบอันแท้จริง.

จบธรรมสูตรที่ 7

อรรถกถาธรรมสูตร


ในธรรมสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
โลกุตรธรรม 9 อย่าง ชื่อว่า ธรรม ในบทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิ-
ปนฺนสฺส
นี้ ธรรมที่สมควรแก่ธรรมนั้น คือธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น
มีศีลวิสุทธิเป็นต้น แก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น คือกำลังปฏิบัติ
เพื่อบรรลุ (โลกุตรธรรม) นั้น. บทว่า อยมนุธมฺโม โหติ ความว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมมีสภาพสมควร คือมีสภาพเหมาะสม. บทว่า เวยฺยากรณาย
ได้แก่ ด้วยกถาสำหรับพูดกัน. บทว่า ยํ ในคำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ยํ
เป็นปฐมาวิภัตติใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายว่า ภิกษุเมื่อพยากรณ์อยู่ว่า
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ควรชื่อว่า พยากรณ์อยู่โดยชอบทีเดียว
ด้วยธรรมอันสมควรใด เธอไม่ควรถูกวิญญูชนตำหนิ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยํ เป็นกิริยาปรามาส. ด้วยบทว่า ยํ นั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการกล่าวธรรมนั่นแหละ. และการตรึกถึงธรรมวิตก
ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นเหตุสมควร คือเป็นเหตุเหมาะสมแก่กถา สำหรับ
พูดกันว่า ธรรมนี้เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมนี้สมควร
อย่างนั้น ดังนี้ ด้วยอุเบกขาที่สัมปยุตด้วยญาณ ในเมื่อไม่มีกิจทั้งสองอย่างนั้น.
บทว่า ภาสมาโน ธมฺมํ เยว ภาเสยฺย ความว่า ถ้าหากภิกษุพูดอยู่
ก็พึงชื่อว่าพูดธรรม คือกถาวัตถุ 10 อย่างนั่นเอง ไม่ใช่พูดอธรรมอันมีความ
มักมากเป็นต้น ที่ตรงข้ามกับกถาวัตถุ 10 อย่างนั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า กถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิตนี้ใด