เมนู

พระธรรมในสันดานของตน และสันดานของผู้อื่น. บทว่า ธมฺมมุทีรยนฺตา
ได้แก่ กล่าวจตุราริยสัจจธรรม. บทว่า อปราปุรนฺติ ความว่า ย่อมเปิด
ประตูแห่งอมตะ คือ พระนิพพาน ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า โยคาความว่า
จากกามโยคะเป็นต้น. บทว่า สตฺถวาเหน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า สัตถวาหะ (ผู้นำหมู่) เพราะนำหมู่ คือ เวไนยสัตว์ คือ ขนสัตว์
ออกจากกันดาร คือ ภพ. ด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำหมู่พระองค์นั้น.
บทว่า สุเทสิตํ มคฺคมนุกฺกมนฺติ ความว่า เวไนยสัตว์ย่อมคล้อยตาม คือ
ปฏิบัติ อริยมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงแล้วโดยชอบ ตามแนว
ทางแห่งเทศนาของพระองค์. บทว่า อิเธว ความว่า ในอัตภาพนี้เอง.
คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโลกสูตรที่ 5

6. อสุภสูตร


ว่าด้วยเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย


[264] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พิจารณาเห็น
อารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคานุสัยใน
เพราะความเป็นธาตุงามได้ เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะ
หน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตกทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภาย
นอก อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี เมื่อเธอทั้งหลาย