เมนู

แม้เทวดาทั้งหลาย เห็นสาวกของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชนะสงครามแล้ว
เป็นผู้ใหญ่ ปราศจาความครั่นคร้าม
ย่อมนอบน้อมด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ
อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้ครอบงำ
กิเลสที่เอาชนะได้ยาก ชนะเสนาแห่งมัจจุ
ที่กางกั้นไว้มิได้ด้วยวิโมกข์ เทวดาทั้งหลาย
ย่อมนอบน้อมพระขีณาสพผู้มีอรหัตผลอัน
บรรลุแล้วนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะ
เทวดาทั้งหลายไม่เห็นเหตุ แม้มีประมาณ-
น้อย ของพระขีณาสพผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
นั้นอันเป็นเหตุให้ท่านเข้าถึงอำนาจของ
มัจจุได้ ฉะนั้น จึงพากันนอบน้อมพระ
ขีณาสพนั้น.

จบสัททสูตรที่ 3

อรรถกถาสัททสูตร


ในสัททสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เทเวสุ ความว่า เว้นเทพที่เป็นอรูปาวจร และเทพที่เป็น
อสัญญีทั้งหลาย ในอุบัติเทพอื่นจากนั้น. บทว่า เทวสทฺทา ได้แก่ เสียง
ที่ประมวลมาจากปีติของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า นิจฺฉรนฺติ ได้แก่ เปล่งออก
ไปด้วยสามารถแห่งการสนทนาปราศรัยกัน. บทว่า สมยา สมยํ อุปาทาย
ความว่า อาศัยสมัยที่เหมาะสม มีคำอธิบายว่า เทวดาทั้งหลายดำรงอยู่ในกาลใด

อาศัยกาลนั้น เห็นอริยสาวกนั้น. ต่อจากนั้นอาศัยสมัย คือ เวลาที่ประจวบเข้า
นั้น. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า หมายเอาทุกสมัย. อธิบายว่า อาศัยสมัย
นั้น ๆ ของท่านเหล่านั้น.
บทว่า ยสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยที่พระอริยสาวกเห็นโทษใน
กามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายอุปมาด้วยร่างกระดูก และโทษ
ในการครองเรือน โดยนัยมีอาทิว่า การอยู่ครองเรือนคับแคบเป็นอย่างยิ่ง
และเห็นอานิสงส์ในการออกบวช โดยนัยที่ตรงข้ามกับการอยู่ครองเรือนนั้น
เป็นอย่างดี. เพราะว่าเมื่อนั้นแหละ จิตของพระอริยสาวกนั้น จะน้อมไปใน
บรรพชาโดยส่วนเดียว. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ สาวกของท่านผู้ประเสริฐ
คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า คืออริยสาวกผู้ประสงค์จะเข้าถึง ความเป็นสาวก
หรือผู้จะเป็น (อริยสาวก) โดยแน่แท้. คำปรารภนี้ (เทวดากล่าว) หมายเอา
พระสาวกและพระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย. บทว่า เกสมสฺสุํ โอหาเรตฺวา
ความว่า ปลงผมและหนวด คือนำออกไป. บทว่า กาสายานิ วตฺถานิ
อจฺฉาเทตฺวา
ความว่า นุ่งห่มผ้าอันเหมาะสมแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ชื่อว่า
กาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาด. บทว่า อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชาย
เจเตติ
ความว่า ตั้งใจคือหมายใจบวชว่า เราออกจากอาคารคือเรือนบวช
เป็นบรรพชิตไม่มีเหย้าเรือน อธิบายว่า จักบวช. ก็เพราะเหตุที่กสิกรรมและ
พาณิชยกรรมเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์แก่การครองเรือน ท่านเรียกว่า อคาริยะ
และกสิกรรมและพาณิชยกรรมนั้นไม่มีในการบรรพชา ฉะนั้น การบรรพชา
พึงทราบว่า เป็นอนาคาริยะ ในคำว่า อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชาย
เจเตติ
นี้. บทว่า มาเรน ได้แก่ กิเลสมาร. บทว่า สงฺคามาย เจเตติ
ความว่า ยังความคิดให้เกิดขึ้นเพื่อต้องการรบ คือเตรียมการเพื่อเอาชัยชนะ
มาร ก็เพราะเหตุที่ แม้เทวบุตรมาร ย่อมพยายามเพื่อ (ทำ) อันตรายแก่บุคคล

ผู้ปฏิบัติเห็นมานั้น ฉะนั้นพึงทราบอรรถาธิบาย ในบทว่า มาเรน ว่าได้แก่
เทวบุตรมารบ้าง. ถึงเทวบุตรมารนี้ ก็จักทำการขัดขวางความปรารถนาของ
ผู้ปฏิบัตินั้นเหมือนกัน. ก็เริ่มแต่วันบรรพชา หรือปลงผมแล้ว เธอสมาทานศีล
รักษาศีลให้บริสุทธิ์ บำเพ็ญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ชื่อว่า
สกัดกิเลสมารไว้ ด้วยสามารถแห่งตทังคปหาน และวิกขัมภนปหานตาม
สมควร ยังไม่ชื่อว่ารบ เพราะยังไม่มีการประจันบาน ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า คิดทำสงครามกับมาร ดังนี้.
บทว่า สตฺตนฺนํ ความว่า โดยหมวดมี 7 แต่โดยข้อ (ประเภท)
โพธิปักขิยธรรมนั้นมี 37 ข้อ คืออะไรบ้าง ? คือ สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
อริยมรรคมีองค์ 8.
ดังนั้น ว่าโดยประเภท (ข้อ) จึงมี 37 โดยโกฏฐาส
(หมวด) จึงมี 7 เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตฺตนฺนํ
ดังนี้. บทว่า โพธิปกฺขิยานํ ความว่า แห่งโพธิปักขิยธรรมที่เป็นฝักฝ่าย
แห่งอริยบุคคล หรือมรรคญาณนั้นเอง ที่ได้นามว่า โพธิ เพราะอรรถว่า
เป็นเหตุตรัสรู้. อธิบายว่า ได้แก่ธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งพระโพธิญาณ.
ปาฐะว่า โพธิปกฺขิกานํ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิ
หรือประกอบในธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิ. บทว่า ภาวนานุโยคมนุยุตฺโต
ความว่า ประกอบความเพียรเนือง ๆ ในการเจริญอริยมรรค ให้วิปัสสนา
เขยิบขึ้น. เพราะว่า ในขณะแห่งวิปัสสนาญาณ สติปัฎฐานเป็นต้น ชื่อว่าเป็น
ฝักฝ่ายแห่งโพธิ โดยอ้อม แต่ในขณะแห่งมรรคเท่านั้น สติปัฏฐานเป็นต้น
เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นโพธิปักขิยธรรมโดยตรง.
บทว่า อาสวานํ ขยา ความว่า เพื่อสิ้นอาสวะทั้งหมดมีกามาสวะ
เป็นต้น. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายเมื่อสิ้นไปแล้ว กิเลสแม้ทั้งหมดก็เป็นอัน

สิ้นไปด้วยเหมือนกัน . ด้วยคำว่า อาสวานํ ขยา นั้น เป็นอันตรัสถึงพระ-
อรหัตด้วย. บทว่า อนาสวํ ความว่า (เจโตวิมุตติ) ที่เว้นจากอาสวะ ด้วย
คำว่า เจโต ในบทว่า เจโตวิมุตฺตึ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิที่
สัมปยุตด้วยอรหัตผล และด้วยคำว่าปัญญา ในบทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญญาที่สัมปยุตด้วยอรหัตผลนั้น. บรรดาเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติ
2 อย่างนั้น สมาธิพึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ
เพราะพ้นจากสาคร ปัญญาพึงทราบว่า ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจาก
อวิชชา. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิ
ของอริยสาวกนั้นเป็นสมาธินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาของพระอริย-
สาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เจโตวิมุตติ
มีได้เพราะการสำรอกราคะ ปัญญาวิมุตติมีได้เพราะการสำรอกอวิชชา.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ นี้ ผลของ
สมถะ พึงทราบว่า เป็นเจโตวิมุตติ ผลของวิปัสสนา พึงทราบว่า เป็น
ปัญญาวิมุตติ. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ความว่า ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า
สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกิตฺวา ความว่า กระทำให้ประจักษ์ ด้วยปัญญาอัน
พิเศษยิ่ง ด้วยตนเองนั้น แหละคือรู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย. บทว่า อุปสมฺ-
ปชฺช วิหรติ
ความว่า ถึงคือให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. บทว่า ตเมว สงฺคามสีสํ
อภิวิชิย อชฺฌาวสติ
ความว่า ชนะมารแล้ว ครอบครองตำแหน่งแห่งความ
เป็นใหญ่ คืออรหัตผลสมาบัติ อันเป็นประธานของอริยมรรค กล่าวคือ
สงคราม อันพระอริยสาวกนั้นทำเสร็จแล้ว อธิบายว่า เข้าสมาบัตินั่นเอง.
ก็เสียงของทวยเทพเหล่านี้ กระฉ่อนไปในหมู่เทพ ผู้เห็นความจริงแล้ว. โดย
พิเศษแล้ว พึงทราบว่า ได้แก่ทวยเทพชั้นสุทธาวาส.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า มหนฺตํ ความว่า
ชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพราะใหญ่ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า วีตสารทํ ความว่า
ปราศจากความครั่นคร้าม คือปราศจากความเก้อเขิน เพราะไม่มีกิเลสที่จะทำ
ให้สะทกสะท้าน. บทว่า ปุริสาชญฺญ ความว่า ดูก่อนบุรุษผู้สูงสุด ผู้เป็น
ชาติอาชาไนย ในบุรุษทั้งหลาย เหมือนม้าที่เป็นชาติอาชาไนยเป็นต้น ในสัตว์
ทั้งหลายมีม้าเป็นต้น. บทว่า ทุชฺชยมชฺฌภู ความว่า ครอบงำ คือ ยืดครอง
กองทัพคือกิเลส อันคนส่วนมากก็ไม่สามารถเพื่อจะชนะได้. บางอาจารย์กล่าว
ว่า อชฺชยิ ดังนี้ก็มี. ความหมายก็คือ เอาชนะไม่ได้. บทว่า เชตฺวา
มจฺจุโน เสนํ วิโมกฺเขน อนาวรํ ความว่า ชนะเสนาแห่งมัจจุคือมาร
ผู้ชื่อว่าไม่มีใครกั้นไว้ได้ เพราะชนเหล่าอื่นไม่สามารถที่จะขัดขวาง ทัดทานได้
เพราะเป็นเสนามีจำนวนมาก โดยครอบไว้ได้ทั้ง 3 โลก และโดยจำแนกออก
ไปถึง หนึ่งพันห้าร้อยเป็นต้น. เชื่อมความว่า ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ขอ
นอบน้อมแต่ท่านผู้ได้ชัยชนะมาร ที่ชนะได้โดยยากดังนี้. บทว่า อิติ ความว่า
ด้วยประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งนิคมพจน์ (คำ
ลงท้าย) ว่าเทวดาทั้งหลายย่อมนมัสการพระขีณาสพผู้สมประสงค์นั้น
คือผู้บรรลุพระอรหัตแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิติ ได้แก่ ด้วยเหตุนี้
ก็เหตุนั้นคืออะไร ? คือข้อที่พระอริยบุคคลมีมานัส (อรหัต) อันบรรลุแล้ว
ด้วยการชนะเสนาของนมุจิมาร. อธิบายว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมนมัสการ
พระขีณาสพนั้น.
ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุนั้น โดยผล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ตญฺหิ ตสฺส นมสฺสนฺติ เยน มจฺจุวสํ วเช ดังนี้. บาท-

พระคาถานั้น มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่เทวดาทั้งหลาย แม้แสวงหาอยู่ก็ไม่
เห็นเหตุของพระขีณาสพนั้น ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ผู้ประณีต แม้ประมาณเท่า
อณู ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านประสบ คือเข้าถึงอำนาจแห่งมัจจุคือความตาย ฉะนั้น
วิสุทธิเทพทั้งหลาย จึงนมัสการ.
จบอรรถกถาสัททสูตรที่ 3

4. จวมานสูตร


ว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต 5 ประการ


[261] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติจาก
เทพนิกาย เมื่อนั้น นิมิต 5 ประการ ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้
ย่อมเหี่ยวแห้ง 1 ผ้าย่อมเศร้าหมอง 1 เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ 1
ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย 1 เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจาก
เทพนิกาย ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ 3 อย่างว่า แน่ะท่าน
ผู้เจริญ ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ 1 ครั้น ไปสู่คติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่าน
ได้ดีแล้ว 1 ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี 1.
[262] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง
ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติ
ของเทวดาทั้งหลาย ? อะไรเป็นส่วนแห่งลาภทีเทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ? อนึ่ง
อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย ? พระเจ้าข้า.