เมนู

ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดี
ในการคุย ชอบหลับและฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนั้น
ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย
เว้นจากความหลับไม่ฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้เช่น-
นั้นควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปริหานสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 3

อรรถกถาปริหานสูตร


ในปริหานสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมมีเพื่อความไม่เจริญ
คือมีเพื่อเป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรค. แต่ขึ้นชื่อว่ามรรคที่ได้บรรลุแล้ว
เสื่อมไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงจำแนกธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดง
ด้วยสามารถแห่งธรรมาธิษฐานว่า ธรรม 3 อย่างดังนี้ ด้วยเทศนาที่เป็นบุคลา-
ธิษฐาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว เสโข ภิกฺขุ ดังนี้.
ใน 3 อย่างนั้น ภิกษุชื่อว่า กัมมารามะ เพราะมีการงานเป็นที่มา
ยินดี เพราะต้องเพลิดเพลินอยู่กับ (การงาน). ชื่อว่า กมฺมรโต เพราะ

ยินดีแล้วในการงาน. ชื่อว่า กมฺมารามตมนุยุตฺโต เพราะประกอบเนือง ๆ
คือขวนขวายความยินดียิ่งในงาน คือความเพลิดเพลินในงาน การงานที่จะต้อง
กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าการงาน ในบทว่า กมฺมาราโม นั้น เช่นการทำอุปกรณ์
มีอาทิอย่างนี้ คือ การตรวจจีวร การทำจีวร การซ่อมแซมตลกบาตร ผ้าอังสะ
ประคดเอว ธมกรก เชิงบาตร กระเบื้องรองเท้า การปัดกวาด และการ
ปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดและแตกหักเป็นต้นในพระวิหาร จริงอยู่ ภิกษุบางรูป
เมื่อกระทำสิ่งเหล่านี้ ย่อมกระทำสิ่งเหล่านั้นแหละตลอดทั้งวัน. บทว่า
กมฺมาราโม นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการงานนั้น ส่วนภิกษุใด
ในเวลาทำงานเหล่านี้ เท่านั้น จึงจะทำงานเหล่านี้ ในเวลาเรียนอุเทศก็เรียน
อุเทศ ในเวลาท่องบ่นก็ท่องบ่น ในเวลาทำวัตร มีวัตรคือการปัดกวาดลาน-
พระเจดีย์เป็นต้น กระทำวัตร (คือการปัดกวาด) ลานพระเจดีย์ ในเวลาทำ
มนสิการ ก็ทำมนสิการในสัพพัตถกกรรมฐาน หรือในปาริหาริยกรรมฐาน
ภิกษุนั้นหาชื่อว่า เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดีไม่ (ไม่หมกมุ่นงาน) การงาน
ของเธอนั้นย่อมเป็นการกระทำที่พระศาสดา ทรงอนุญาตไว้ทีเดียว โดยนัยมี
อาทิว่า ก็เธอเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจน้อยใหญ่ ที่เป็นของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยการใคร่ครวญ อันเป็นอุบายใน
กรณียกิจนั้น สามารถเพื่อจะกระทำ สามารถเพื่อจะจัดแจงได้ ดังนี้.
บทว่า ภสฺสาราโม ความว่า ภิกษุใดยังวันและคืนให้ล่วงไปด้วย
สามารถแห่งการกล่าวถึง ราชกถาเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้แล้ว
ภิกษุนี้เป็นผู้พูดไม่รู้จบ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ จึงชื่อว่า ภสฺสาราโม (ยินดี
ในการพูด) ส่วนภิกษุใดพูดธรรม วิสัชนาปัญหา เวลากลางคืนบ้าง กลางวัน-
บ้าง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้พูดน้อย พูดมีสิ้นสุด. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า
เธอดำเนินตามวิธีที่พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทีเดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกันแล้ว มีกิจที่จะต้องกระทำ 2 อย่างคือ กล่าว-
ธรรม หรือนิ่ง แบบพระอริยะ.
บทว่า นิทฺทาราโม ความว่า ภิกษุใดฉันจนเต็มท้อง เต็มตามที่
ต้องการ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในการนอน ความสุขในการเอน
ความสุขในการหลับ และภิกษุใดเดินก็ดี นั่งก็ดี ถูกถีนมิทธะครอบงำหลับอยู่
ภิกษุนี้นั้นชื่อว่า นิทฺทาราโม (ยินดีในความหลับ) ส่วนภิกษุใดมีจิตหยั่งลงสู่
ภวังค์ เพราะอาพาธ (ความเจ็บไข้ของกรชกาย) ภิกษุนี้ หาชื่อว่า นิททฺาราโม
(ยินดีในความหลับ) ไม่. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน
อัคคิเวสนะ ก็แลเราตถาคตรู้อยู่ว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เราตถาคตกลับจาก
บิณฑบาต หลังฉันเสร็จแล้ว ปูสังฆาฏิให้เป็น 4 ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมป-
ชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับโดยข้างเบื้องขวา รู้สึกตัวอยู่ ดังนี้.
ก็ในพระสูตรนี้ ถึงกัลยาณปุถุชน ก็พึงทราบว่า เป็นพระเสกขะ
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ธรรม 3 อย่างนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมแห่งการบรรลุคุณพิเศษของกัลยาณปุถุชนแม้ทั้งหมดนั้น และการ
บรรลุคุณพิเศษสูง ๆ ขึ้นไป ของพระเสกขะนอกนี้. พึงทราบการขยายความ
แห่งธรรมฝ่ายขาวตามปริยายที่ตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อุทฺธโต ความว่า
ฟุ้งซ่าน คือไม่สงบ เพราะอุทธัจจะ ที่ทำให้จิตฟุ้งซ่าน. บทว่า อปฺปกิจฺจสฺส
ความว่า เธอพึงเป็นผู้มีกิจการน้อย เพราะกระทำในเวลาที่ขวนขวายประกอบกิจ
มีประการดังกล่าวแล้วเท่าที่ทรงอนุญาตไว้. บทว่า อปฺปมิทฺโธ ความว่า
พึงเป็นผู้เว้นจากการหลับ เพราะชาคริยานุโยค ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน. บทว่า อนุทฺธโต ความว่า เป็นผู้

ไม่มีการพูดเป็นทีมายินดี ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตสงบ อธิบายว่า
(มีจิต) เป็นสมาธิ เพราะเว้นความฟุ้งซ่านแห่งจิต ที่เกิดขึ้นเพราะมีการพูดคุย
เป็นที่มายินดี. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นเพราะมีนัยเหมือนที่เคยกล่าวแล้ว
ในก่อน.
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้ใน
พระสูตรที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ไว้ในวรรคนี้แล้ว.
(ส่วน) ในวรรคนอกนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาปริหานสูตรที่ 10
จบวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. มิจฉาทิฏฐิสูตร 2. สัมมาทิฏฐิสูตร 3. นิสสรณสูตร 4. รูปสูตร
5. ปุคคสูตร 6. อวุฏฐิกสูตร 7. สุขสูตร 8. ภินทนสูตร 9. ธาตุสูตร
10. ปริหานสูตร และอรรถกถา.