เมนู

เกียจคร้านมีความเพียรอันเลวนั้นเสีย พึง
อยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้สงัดแล้ว
ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปกติเพ่ง ผู้ปรารภ
ความเพียรเป็นนิตย์ ผู้เป็นบัณฑิต.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบธาตุสูตรที่ 9

อรรถกถาธาตุสูตร


ในธาตุสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธาตุโส ความว่า โดยธาตุ. ธาตุคืออัธยาศัย คือสภาพของ
อัธยาศัย ที่ตรัสเรียกว่า อธิมุตติบ้าง พระองค์ทรงประสงค์เอาว่า ธาตุ (ใน
พระสูตรนี้). บทว่า สํสนฺทติ ความว่า เข้ากันได้ คือรวมกันได้ ตามธาตุ
คือตามอัธยาศัย เพราะมีธาตุมีส่วนเสมอกันนั้น. บทว่า สเนนฺติ ความว่า
เป็นผู้มีความคิดร่วมกัน สมาคมกันได้ คือคบหากันได้ ได้แก่เข้าไปหากันได้
เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยเสมอกันนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง ปรับความชอบใจ
(รสนิยม) ความอดทน และความเห็นให้เสมอกันในเรื่องนั้น ๆ. บทว่า
หีนาธิมุตฺติกา ความว่า ชื่อว่ามีอธิมุตติทราม เพราะมีความโน้มเอียงใน
ธรรมที่ต่ำทราม มีกามคุณเป็นต้น คือมีอัธยาศัยต่ำ. บทว่า กลฺยาณาธิ-
มุตฺติกา
ความว่า ชื่อว่ามีอธิมุตติดี เพราะมีความโน้มเอียงในธรรมอันงาม
มีเนกขัมมะเป็นต้น คือ มีอัธยาศัยประณีต. อธิบายว่า ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์

เป็นคนไม่มีศีล แต่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริก เป็นผู้มีศีล อันเตวาสิกและ
สัทธิวิหาริกเหล่านั้น ย่อมไม่เข้าไปหาอาจารย์และอุปัชฌาย์ จะเข้าหาเฉพาะ
แก่ภิกษุผู้มี (สมณ) สารูปเช่นตน. ก็ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นผู้มีศีล
อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกนอกนี้เป็นผู้ไม่มีศีล แม้อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริก
เหล่านั้น จะไม่เข้าไปหาอาจารย์และอุปัชฌาย์ จะเข้าไปหาเฉพาะผู้มีอัธยาศัยต่ำ
เช่นเดียวกับตนเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า การเข้าไปหาอย่างนี้ จะมี
เฉพาะในปัจจุบันอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว แม้ในอดีตและอนาคตก็มี
ดังนี้ จึงตรัสว่า อตีตมฺปิ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. โดยสังเขปแล้ว ผู้ตั้งมั่น
ในสังกิเลสธรรม ชื่อว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยชั่ว ผู้ตั้งมั่นในโวทานธรรม ชื่อว่า
มีอัธยาศัยงาม. ถามว่า ก็การที่คนทุศีลคบคนทุศีลเท่านั้น การที่คนมีศีล
คบคนมีศีลเท่านั้น การที่คนมีปัญญาทราม คบคนที่มีปัญญาทรามเท่านั้น
การที่คนมีปัญญา คบคนที่มีปัญญาเท่านั้น นี้ใครกำหนด. ตอบว่า ธาตุ
คืออัธยาศัยกำหนด.
เล่ากันว่า ภิกษุหลายรูปเที่ยวภิกษาจารในบ้านหมู่หนึ่ง. คนเหล่านั้น
นำภัตรเป็นอันมากมาใส่จนเต็มบาตร กล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายฉัน
ตามส่วน (ที่ต้องการ) แล้วส่งไป. ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย
คนทั้งหลายประกอบการงานที่เหมาะสมกับธาตุ (อัธยาศัย) ดังนี้. ธาตุคือ
อัธยาศัย ย่อมกำหนด (งานที่ทำ) อย่างนี้. บัณฑิตพึงแสดงความโดยธาตุ-
สังยุต ดังต่อไปนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าบันทมบนพระแท่นประชวร บนภูเขา
คิชฌกูฏ ทอดพระเนตรดู พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ที่เฝ้าถวาย
อารักขา แต่ละรูปจงกรมอยู่กับบริษัทของตน จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือไม่ พระสารีบุตรจงกรมอยู่กับภิกษุ-

ทั้งหลายจำนวนมาก ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้ทั้งหมดแล ล้วนมีปัญญามาก ดังนี้ ควรนำเรื่อง
ทั้งหมดมาแสดงโดยพิสดาร.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้ บทว่า สํสคฺคา ความว่า
เพราะสังกิเลส คือ เพราะประกอบร่วมกัน ด้วยสามารถแห่งการอยู่ร่วมกัน
เป็นต้น . อีกอย่างหนึ่ง เพราะคลุกคลีกันในการคลุกคลี 5 อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่งอย่างนี้ คือ ทัสสนสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยการเห็น) สวนสัง-
สัคคะ (คลุกคลีด้วยการฟัง) สมุลลาปนสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยการเจรจา)
สัมโภคสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยการใช้ร่วม) กายสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยกาย).
บทว่า วนโถ ชาโต ความว่า กิเลสเกิดขึ้น เพราะยังไม่ได้ถอนขึ้นด้วยมรรค.
บทว่า อสํสคฺเคน ฉิชฺชติ ความว่า กิเลสขาดไปในตอนต้น โดยการงด
การคลุกคลีกัน มีกายวิเวกเป็นต้น แล้วขาดไปคือละได้อีก ด้วยการไม่เกี่ยวข้อง
โดยส่วนเดียว คือด้วยสมุจเฉทวิเวก. โดยสังเขป การเกิดขึ้นและการดับไป
แห่งอัธยาศัยที่ต่ำ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงแล้วโดยสังเขป ด้วยคำเพียงเท่านี้ .
ก็เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้คลุกคลีกัน และกิเลสเหล่านั้น ก็เกิดขึ้น
และเจริญขึ้น ด้วยอำนาจแห่งความเกียจคร้าน มิใช่ด้วยอำนาจแห่งการปรารภ
ความเพียร ฉะนั้น ภิกษุเว้นบุคคลผู้มีอัธยาศัยต่ำ ผู้เกียจคร้านแล้วคบหาผู้มี
อัธยาศัยงาม ผู้ประกอบความเพียร พึงตัดกิเลสอันเกิดจากการคลุกคลีกันได้
ด้วยการไม่คลุกคลีกัน ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงเนื้อความ ตามที่กล่าวแล้วโดยพิสดาร
จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ปริตฺตํ ทารุํ เพื่อประกาศโทษแห่งการคบหาผู้เกียจคร้าน
ก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริตฺตํ ทารุํ ได้แก่ ไม้ท่อนเล็ก ๆ.
บทว่า ยถา สีเท มหณฺณเว ความว่า เหมือนผู้ประสงค์จะข้ามมหาสมุทร
โดยนำเอาแพสำเร็จด้วยไม้ท่อนเล็ก ๆ (ขี่ข้าม) จะไม่ถึงฝั่ง คงจมลงใน
ท่ามกลางมหาสมุทรนั่นเอง พึงตกไปเป็นภักษาของปลาและเต่าฉันใด. บทว่า
เอวํ กุสีตํ อาคมฺม สาธุชีวีปิ สีทติ ความว่า ผู้ที่อาศัยคนเกียจคร้าน
ปราศจากการปรารภความเพียร ตกอยู่ในอำนาจกิเลส ถูกเขาทำการคลุกคลี
ถึงจะมีชีวิตราบรื่น มีอาชีพบริสุทธิ์ (และ) มีศีลบริสุทธิ์ (แต่) ถูกกามวิตก
เป็นต้น ที่เกิดขึ้นจากการคลุกคลี่กับคนต่ำ รบกวนอยู่ก็ไม่สามารถไปถึงฝั่งได้
จะจมอยู่ในห้วงมหรรณพนั่นเอง ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ตสฺมา ความว่า
เพราะเหตุที่การคลุกคลีกับคนเกียจคร้าน เป็นเหตุนำอนัตถะอย่างนี้มาให้
ฉะนั้น ภิกษุควรเว้นมิตร ที่ชื่อว่าเกียจคร้าน เพราะจมดิ่งลง โดยการประกอบ
ความเกียจคร้านเนือง ๆ เพราะอาศัยเขา คือ ผู้มีความเพียรต่ำกว่าบุคคลนั้น
นั่นแหละ. ได้แก่ไม่มีความเพียร. แต่พึงอยู่ร่วม คือคบหากับด้วยบัณฑิต
ทั้งหลาย คือผู้มีปัญญานั่นเอง ผู้สงบสงัดแล้ว ด้วยสามารถแห่งกายวิเวก
เป็นต้น และตทังควิเวก เป็นต้น โดยส่วนเดียวนั่นเอง. ผู้ชื่อว่า
เป็นอริยะ เพราะต่อแต่นั้นไปนั้นเอง จะเป็นผู้ไกลจากิเลส ชื่อว่าผู้มีตน
(ใจ) อันส่งไปแล้ว เพราะความเป็นผู้มีตนถูกส่งไปแล้วสู่พระนิพพาน ผู้ชื่อว่า
เพ่งอยู่ (มีฌาน) เพราะเพ่งอยู่ด้วยสามารถแห่งอารัมมณูปณิชฌาน และ
ลักขณูปณิชฌาน ผู้ชื่อว่าปรารภความเพียรแล้ว เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร
โดยความเป็นผู้ประคองความเพียรได้ตลอดกาลทุกเมื่อ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ 9

10. ปริหานสูตร


ว่าด้วยธรรม 3 ประการเป็นไปเพื่อความเสื่อม


[257] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ 3 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการงาน ขวนขวาย
ในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี 1 เป็นผู้ขอบคุย ยินดีในการคุย
ขวนขวายในความเป็นผู้ขอบคุย 1 เป็นผู้ชอบหลับ ยินดีในการหลับ ขวนขวาย
ในความเป็นผู้ชอบหลับ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล ย่อม
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่
เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ 3 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะ
ในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่
ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี 1 ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการ
คุย ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ขอบคุย 1 ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ
ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอนหลับ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ
นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า