เมนู

9. ธาตุสูตร


ว่าด้วยสัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยชาติ


[256] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกัน
กับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเทียบเคียงกัน
เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกันกับสัตว์
ผู้มีอัธยาศัยดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล...แม้ในอนาคตกาล...
แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์
ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกัน
กับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์
ผู้มีอัธยาศัยดี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง
บุคคลย่อมตัดเสียได้เพราะความไม่เกี่ยว-
ข้อง แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัย
บุคคลผู้เกียจคร้านย้อมจมลงในสมุทร คือ
สงสาร เปรียบเหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้
น้อย ๆ พึงจมลงในมหรรณพ ฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงเว้นบุคคลผู้

เกียจคร้านมีความเพียรอันเลวนั้นเสีย พึง
อยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้สงัดแล้ว
ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปกติเพ่ง ผู้ปรารภ
ความเพียรเป็นนิตย์ ผู้เป็นบัณฑิต.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบธาตุสูตรที่ 9

อรรถกถาธาตุสูตร


ในธาตุสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธาตุโส ความว่า โดยธาตุ. ธาตุคืออัธยาศัย คือสภาพของ
อัธยาศัย ที่ตรัสเรียกว่า อธิมุตติบ้าง พระองค์ทรงประสงค์เอาว่า ธาตุ (ใน
พระสูตรนี้). บทว่า สํสนฺทติ ความว่า เข้ากันได้ คือรวมกันได้ ตามธาตุ
คือตามอัธยาศัย เพราะมีธาตุมีส่วนเสมอกันนั้น. บทว่า สเนนฺติ ความว่า
เป็นผู้มีความคิดร่วมกัน สมาคมกันได้ คือคบหากันได้ ได้แก่เข้าไปหากันได้
เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยเสมอกันนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง ปรับความชอบใจ
(รสนิยม) ความอดทน และความเห็นให้เสมอกันในเรื่องนั้น ๆ. บทว่า
หีนาธิมุตฺติกา ความว่า ชื่อว่ามีอธิมุตติทราม เพราะมีความโน้มเอียงใน
ธรรมที่ต่ำทราม มีกามคุณเป็นต้น คือมีอัธยาศัยต่ำ. บทว่า กลฺยาณาธิ-
มุตฺติกา
ความว่า ชื่อว่ามีอธิมุตติดี เพราะมีความโน้มเอียงในธรรมอันงาม
มีเนกขัมมะเป็นต้น คือ มีอัธยาศัยประณีต. อธิบายว่า ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์