เมนู

อรรถกถาอวุฏฐิกสูตร


ในอวุฏฐิกสูตรที่ 6 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวุฏฺฐิกสโม ความว่า เช่นกับด้วยเมฆที่ไม่ทำฝนให้ตก.
เพราะเมฆบางกลุ่ม หนาตั้ง 100 ชั้น 1,000 ชั้น ตั้งขึ้น ร้องกระหึ่ม แลบ
แปลบปลาบ ไม่ให้ฝนแม้หยดเดียวตกลงมา แล้วผ่านเลยไป พระผู้มีพระภาค-
เจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลบางจำพวกก็มีอุปมาเช่นนั้น จึงตรัสว่า
อวุฏฺฐิกสโม (บุคคลผู้เสมอด้วยฝนไม่ตก) ดังนี้. บทว่า ปเทสวสฺสี
ความว่า เช่นกับเมฆที่ทำฝนให้ตกบางท้องที่อธิบายว่า บุคคลชื่อว่า ปเทสวาสี
เพราะเป็นเหมือนกับเมฆที่ทำฝนให้ตกบางท้องที่ เมฆบางกลุ่ม เมื่อคนทั้ง
หลายยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นเอง ตกหยิม ๆ โดยที่คนบางพวกก็เปียก บาง
พวกก็ไม่เบียก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงบุคคลบางพวก ผู้มีอุปมาอย่าง
นั้น ว่าเป็นเหมือนฝนตก เฉพาะบางท้องที่. บทว่า สพฺพตฺถาภิวสฺสี ความว่า
เสมอกับเมฆที่ให้ฝนตกทั่วไป ทุกแห่งหนคือ ในประเทศ คือแผ่นดินมีพื้น
ปฐพี ภูเขา และสมุทรเป็นต้น อธิบายว่า เมฆบางกลุ่ม กระจายไปทั่วสากล
จักรวาล ให้ฝนตกทั่วทุกหนทุกแห่งทีเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
สพฺพตฺถาภิวสฺสี ดังนี้ โดยทรงเปรียบเทียบมหาเมฆที่ตั้งขึ้นใน 4 ทิศนั้น
กับบุคคลบางจำพวก. บทว่า สพฺเพสานํ เท่ากับ สพฺเพสํ. อีกอย่าง
หนึ่ง ปาฐะ (ในพระบาลี) ก็เป็นอย่างนี้แหละ บทว่า น ทาตา โหติ
ความว่า เป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน. อธิบายว่า ไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ เพราะเป็น
ผู้ตระหนี่เหนียวแน่น.