เมนู

(เวรเกิดจากบุคคล) กิเลสเวร (เวรเกิดจากกิเลส) และภัยมีการติเตียนตน
เป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัย ผู้ชื่อว่าละกิเลสทุกอย่างได้ เพราะละกิเลส
และอภิสังขารเป็นต้นทั้งมวลได้ ฉันนั้น.
จบอรรถกถาปฐมราคสูตรที่ 9

10. ทุติยราคสูตร


ว่าด้วยผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก


[247] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็น
ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว ผู้นี้เรากล่าวว่า ข้ามสมุทรที่มีคลื่น
มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ
โทสะ โมหะ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว ผู้นี้เรากล่าวว่า
ข้ามพ้นสมุทรที่มีคลื่น มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำได้แล้ว
ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เรากล่าวว่า ผู้ใดสำรอกราคะ โทสะ
โมหะ และอวิชชาได้แล้ว ผู้นั้นข้ามพ้น
สมุทรที่มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ มีคลื่น

น่าพึงกลัว ข้ามได้โดยยาก ได้แล้ว ผู้นั้น
ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ละมัจจุราช หา
อุปธิมิได้ ละทุกข์เพื่อความไม่เกิดอีก ถึง
ความขาดสูญแล้ว ย่อมไม่ถึงการนับได้
เธอยังมัจจุราชให้หลงได้แล้ว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบทุติยราคสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 2

อรรถกถาทุติยราคสูตร


ในทุติยราคสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า น อตริ แปลว่า ข้ามไม่ได้แล้ว. บทว่า สมุทฺทํ ได้แก่
ทะเลคือสงสาร หรือทะเลคืออายตนะ มีจักขุอายตนะเป็นต้น สงสารและ
อายตนะแม้ทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่า สมุทร เพราะเป็นเหมือนทะเล โดยความ
หมายว่า เต็มได้ยาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่า เป็นเหมือน
สมุทร อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นเหมือนสมุทร เพราะเป็นทีอยู่อาศัยของกิเลส คือ
เพราะสันดานของสัตว์เป็นเรือนของกิเลส. บทว่า สวิจึ ความว่า มีระลอก
โดยระลอกคือความโกรธ และความแค้น . สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
คำว่าภัยคือระลอกนี้แล เป็นชื่อของความโกรธและความแค้น . บทว่า สาวฏฺฏํ
ความว่า พร้อมด้วยวังวน โดยวังวนคือกามคุณ 5. สมจริงตามที่ตรัสไว้ว่า