เมนู

อรรถกถาทุติยเอสนาสูตร


ในทุติยเอสนาสูตรที่ 6 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า พร้อมกับด้วยการแสวงหา
พรหมจรรย์. ก็ด้วยการลบวิภัตติออกเสีย ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริเยสนา นี้
จึงเป็นศัพท์นิเทศ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺรหฺมจริยเอสนา นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ
(แต่) ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ กามเอสนา ภวเอสนา
รวมกับ พรหมจริยเอสนา จึงเป็นเอสนา 3 อย่าง. ในบรรดาเอสนาเหล่านั้น
เพื่อจะทรงแสดงพรหมจริยเอสนาโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้ว่า
อิติ สจฺจปรานาโส ทิฏฺฐิฏฐานา สมุสฺสยา การยึดมั่นว่าจริง ดังนี้
เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น ดังนี้ .
คำนั้นมีอธิบายดังนี้ การยึดมั่นว่า สิ่งนี้เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการ
อย่างนี้ ชื่อว่า อิตสจฺจปรามาโส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาการ
คือ ความเป็นไปแห่งทิฏฐิไว้ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ" ทิฏฐิ
นั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฺฐิฏฐานา เพราะเป็นเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวโทษที่จะ
พึงตำหนิว่า มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่งดังนี้ และมีคำอธิบายว่า มิจฉาทิฏฐิ
เหล่านั้นแหละ ทั้งที่เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งเป็นที่เกิดขึ้น โดยเป็นที่เกิดแห่ง
กิเลส มีโลภะเป็นต้น ทิฏฐิทั้งหลายที่ยึดมั่นผิด ๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่น
เป็นโมฆะ ดังนี้ เป็นทั้งเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง เป็นทั้งเหตุแห่งการก่อทุกข์
คือกิเลส จึงชื่อว่า พฺรหฺมจริยเอสนา. ด้วยบทแห่งพระคาถาว่า อิติสจฺจ-
ปรามาโส ทิฏฺฐฐฏฺฐานา สมุสฺสยา
นี้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์