เมนู

เป็นไฉน ? คือ การแสวงหากาม 1 การแสวงหาภพ 1 การแสวงหา
พรหมจรรย์ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น
ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งการแสวงหา
ทั้งหลายเหตุเกิดแห่งการแสวงหาทั้งหลาย
ธรรมเป็นที่ดับแห่งการแสวงหาทั้งหลาย
และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งการ
แสวงหาทั้งหลาย ภิกษุหายหิวแล้ว ดับ
รอบแล้ว เพราะควานสิ้นไปแห่งการ
แสวงทาทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปฐมเอสนาสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมเอสนาสูตร


ในปฐมเอสนาสูตรที่ 5 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
การแสวงหา คือการเสาะหา ได้แก่การค้นหา ชื่อว่า เอสนา.
เพื่อจะทรงแสดงการแสวงหาเหล่านั้น โดยจำแนกออกไป จึงตรัสคำมีอาทิว่า
กาเมสนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสนา คือการแสวงหากามหรือ
การแสวงหากล่าวคือกาม ชื่อว่า กาเมสนา. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า บรรดาเอสนา (การแสวงหา) เหล่านั้น กาเมสนา เป็นไฉน คือ
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความสิเนหา
ในกาม ความกระวนกระวายในกาม ความสยบในกาม การหยั่งลงสู่กาม ในกาม
ทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า กาเมสนา เพราะฉะนั้น กามราคะพึงทราบว่า
เป็น กามเอสนา. แม้ในภเวสนา (การแสวงหาภพ) ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดา เอสนา เหล่านั้น ภเวสนา เป็นไฉน ความพอใจ
ในภพ ฯลฯ การหยั่งลงสู่ภพในภพทั้งหลาย อันใด นี้เราตถาคตเรียกว่า ภวเอ-
สนา
เพราะฉะนั้น ความกำหนัด ในการแสวงหากาม คือความปรารถนารูปภพ
และอรูปภพ พึงทราบว่าเป็น ภวเอสนา.
การแสวงหาพรหมจรรย์ ชื่อว่า พรหมจริยเอสนา. เหมือนอย่าง
ที่ตรัสไว้ว่า บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริยเอสนา เป็นไฉน ทิฏฐิ
ทิฏฐิคตะ รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความ
ดิ้นรนคือทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ การถือเอา การรับ การยึดมั่น
การลูบคลำ ทางที่ผิด คัลลองที่ผิด ความเห็นผิด ลัทธิ การยึดถือ
การแสวงหาที่ผิด
ชนิดนี้ใด ว่า 1. โลกเที่ยง 2. โลกไม่เที่ยง
3. โลกมีที่สุด 4. โลกไม่มีที่สุด 5. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
6. ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง 7. สัตว์หลังจากตายแล้ว
ยังมี 8. สัตว์หลังจากตายแล้ว ไม่มี 9. สัตว์หลังจากตายแล้ว
มีบ้าง ไม่มีบ้าง 10. สัตว์หลังจากตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่

นี้เราตถาคตเรียกว่า พรหมจริยเอสนา เพราะฉะนั้น การแสวงหาพรหม-

จรรย์ที่สมมติกันว่าเป็นทิฏฐิ พึงทราบว่า ได้แก่การแสวงหาทิฏฐิพรหมจรรย์
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงราคะและทิฏฐิว่าเป็น
เอสนา.
ก็ไม่ใช่เพียงราคะและทิฏฐิอย่างเดียวที่ทรงแสดงว่าเป็นเอสนา แม้
กรรมที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับราคะและทิฏฐินั้น ก็ทรงแสดงว่าเป็นเอสนา แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า บรรดา เอสเนา เหล่านั้น กามเอสนา
คืออะไร ? คือ กามราคะ (และ) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็น
อกุศล ตั้งอยู่ในที่อันเดียวกันกับกามราคะ นี้เราตถาคตเรียกว่า กามเอสนา.
บรรดาเอสนาเหล่านั้น ภวเอสนา คืออะไร ? คือ ภวราคะและกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม
ที่เป็นอกุศล ตั้งอยู่ในที่อันเดียวกันกับภวราคะนั้น
นี้เราตถาคตเรียกว่า ภวเอสนา. บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริเยสนา
คืออะไร ? คือ อันตคาหิกทิฏฐิ (และ) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ที่เป็นอกุศล ตั้งอยู่ในที่อันเดียวกับอันตคาหิกทิฏฐินั้น นี้เราตถาคตเรียกว่า
พรหมจริเยสนา พึงทราบเอสนา 3 เหล่านั้น ดังพรรณนามานี้.
พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลายที่มีอวิชชา
เป็นต้น และตัณหาที่เป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นแห่งเอสนา ชื่อว่า
สนฺภโว ในคำว่า สมฺภวํ นี้ อธิบายว่า ได้แก่สมุทัย. บทว่า ยตฺถ
เจตา นิรุชฺฌนฺติ
ความว่า พรหมจริยเอสนา ย่อมดับไปด้วยปฐมมรรค
กามเอสนา ย่อมดับไปด้วยอนาคามิมรรค ภวเอสนา ย่อมดับไปด้วยอรหัต-
มรรค พึงทราบตามที่พรรณนามานี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปฐมเอสนาสูตรที่ 5

6. ทุติยเอสนาสูตร


ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ


[233] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ การแสวงหากาม 1 การแสวงหาภพ 1 การแสวงหาพรหม-
จรรย์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
การแสวงหากาม การแสวงหาภพ
กับการแสวงหาพรหมจรรย์ การยึดมั่นว่า
จริงดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น การ
แสวงหาทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ
พระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีแล้วด้วยความยินดี
ทั้งปวง ผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
สละคืนเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว ภิกษุ
เป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีความสงสัย
เพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้ง-
หลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบทุติยเอสนาสูตรที่ 6