เมนู

อรรถกถาสิกขาสูตร


ในสิกขาสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สิกฺขา ในบทว่า. สิกฺขานิสํสา นี้ เพราะต้องศึกษา.
สิกขานั้นมี 3 อย่าง คือ อธิสีลสิกขา 1 อธิจิตตสิกขา 1 อธิปัญญาสิกขา 1
ซึ่งว่า สิกฺขานิสํสา เพราะมีสิกขา 3 อย่างนั้นเป็นอานิสงส์ มิใช่ลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ บทว่า วิหรถ ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็น
อานิสงส์อยู่เถิด. อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เห็นอานิสงส์ในสิกขา 3 อย่าง
นั้น คือ เห็นอานิสงส์ที่ควรจะได้ด้วยสิกขา 3 อย่างนั้นอยู่เถิด. บทว่า
ปญฺญตรา ความว่า ชื่อว่า มีปัญญายิ่ง เพราะในสิกขา 3 อย่างนั้นมี
ปัญญา ได้แก่ อธิปัญญาสิกขา มีปัญญานั้นยิ่ง คือ เป็นประธานประเสริฐสุด.
อธิบายว่า ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์อยู่ เป็นผู้มีปัญญายิ่ง ดังนี้. บทว่า วิมุตฺติ-
สารา
ได้แก่ ชื่อว่า มีวิมุตติเป็นสาระ เพราะมีวิมุตติอันได้แก่ อรหัตผลเป็น
สาระ. อธิบายว่า ถือเอาวิมุตติตามที่กล่าวแล้วนั่นแล โดยความเป็นสาระแล้ว
ตั้งอยู่. จริงอยู่ ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์และมีปัญญายิ่ง ย่อมไม่ปรารถนาภพวิ-
เศษ. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายหวังความเจริญ ย่อมปรารถนาวิมุตติเท่านั้นโดย
ความเป็นสาระ. บทว่า สตาธิปเตยฺยา ได้แก่ชื่อว่า มีสติเป็นใหญ่ เพราะ
มีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า ทำให้เจริญ. อธิปติ นั่นแลทำให้เป็น อธิปเตยฺยํ
อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 ขวนขวายในการเจริญสมถะและวิปัสสนา
ด้วยหลักวิปัสสนามีกายานุปัสสนาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในบทนี้
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์
กระทำการศึกษาสิกขา 3 อย่าง ในการได้ขณะที่ได้ยากเห็นปานนี้ ให้เป็น

อานิสงส์อยู่เถิด และเมื่ออยู่อย่างนี้ จงเป็นผู้มีปัญญายิ่ง คือ ยิ่งด้วยปัญญา
จงเป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอยู่เถิด ครั้นเป็นอย่างนี้แล้ว จงเป็นผู้มี
วิมุติเป็นสาระ มีนิพพานเป็นสาระ ไม่มีอย่างอื่นเป็นสาระอยู่เถิด ข้อที่เธอ
ทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติเป็นใหญ่ จงเป็นผู้ขวนขวายในการเจริญสติปัฏฐาน หรือ
จงเป็นผู้มีจิตมีสติรักษาในที่ทั้งปวงอยู่เถิด นั้นเป็นอุบายของความเป็นอย่างนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายในสิกขา 3 ด้วยประการ
ฉะนี้ ทรงแสดงถึงอุบายที่จะให้สิกขา 3 ที่ควรศึกษาถึงความบริบูรณ์โดย
สังเขป บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศถึงความปฏิบัตินั้นไม่เป็นโมฆะด้วยเห็นผล
วิเศษของผู้ปฏิบัติตามที่ได้สอนไว้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สิกฺขานิสํสานํ ดังนี้
ข้อนั้นมีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว.
ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ปริปุณฺณสิกฺขํ ได้แก่
พระอเสกขะผู้มีสิกขาบริสุทธิ์ด้วยการบรรลุผลอันเลิศ. วิมุตติทั้งหลายอันกำเริบ
ท่านเรียกว่า หานธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา) ในบทว่า อปหานธมิมํ
นี้. ก็ปหานธรรม ได้แก่ มีความเสื่อมเป็นธรรม มีความกำเริบเป็นธรรมดา.
ชื่อว่า อปหานธมฺโม เพราะไม่มีความเสื่อมเป็นธรรมดา. บาลีว่า อกุปฺป-
ธมฺโม อปหานธมฺโม
ดังนี้บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. ชื่อว่า ขยนฺโต
เพราะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด. ความสิ้นไปแห่งชาติ ชื่อว่า ชาติขยนฺโต
ได้แก่ นิพพานนั้นเอง. ชื่อว่า ชาติขยนฺตทสฺสี เพราะเห็นนิพพานนั้น.
บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะที่สุดแห่งการถึงฝั่งแห่งชรานี้ เป็นอานิสงส์
แห่งการทำสิกขาให้บริบูรณ์. บทว่า สทา คือ ตลอดกาลทั้งหมด. บทว่า
ณานรตา ได้แก่ ยินดีแล้วในฌาน 2 อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน (การ
เข้าไปเพ่งลักษณะ) 1 อารัมมณูปนิชฌาน (การเข้าไปเพ่งอารมณ์) 1 คือ

มีจิตตั้งมั่นจากฌานนั้น. บทว่า มารํ สเสนํ อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำ
มาร 4 อย่างพร้อมด้วยเสนามาร อันได้แก่ เสนา คือ กิเลส และเสนา คือ
ความพินาศ ไม่ให้เหลือ. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า เสนา เพราะ
เข้าถึงความเป็นสหายแม้ของเทวบุตตมารในการฆ่าคุณความดี อนึ่ง ความพินาศ
มีโรคเป็นต้น ก็เป็นเสนาของมัจจุมาร. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
กามา เต ปฐมา เสนา ทุติยา อรติ วุจฺจติ
ตติยา ขุปฺปิปาสา เต จตุตฺถี ตณฺหา ปวุจฺจติ
ปญฺจมี ถีนมิทฺธนฺเต ฉฏฺฐา ภิรู ปวุจฺจติ
สตฺตมี วิจิกิจฺฉา เต มกฺโข ถมฺโภ จ อฏฺฐโม
โลโภ สิโลโก สกฺกาโร มิจฺฉา ลทฺโธ จ โย ยโส
โย จตฺตานํ สมุกฺกํโส ปเร จ อวชานติ
เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหฺสสาภิปฺปหาริณี
น นํ อสุโร ชินาติ เชตฺวา จ ลภเต สุขํ
กามทั้งหลายเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า
เป็นเสนาที่ 1 ความริษยาเป็นเสนาที่ 2
ความอยากความกระหายเป็นเสนาที่ 3
ตัณหาเป็นเสนาที่ 4 ถีนมิทธะเป็นเสนาที่
5 ความขลาดเป็นเสนาที่ 6 ความสงสัย
เป็นเสนาที่ 7 ความลบหลู่ ความหัวดื้อ
ความโลภ ความสรรเสริญ สักการะ ความ
เห็นผิด ยศที่ได้รับแล้ว การยกตน และ
การข่มผู้อื่นเป็นเสนาที่ 8 สารทำลายนั้น

เป็นเสนาของท่าน มีปกติทำลายความ
ชั่วร้าย อสูรชนะมารนั้นไม่ได้ ก็ครั้น
ชนะได้แล้ว ย่อมได้ความสุข.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ควรทำความเพียร ในวันนี้ทีเดียว
ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะ
การผัดเพี้ยนความตายอันมีเสนาใหญ่นั้น
ของเราทั้งหลายมีไม่ได้เลย
ดังนี้.
บทว่า ภวถ ชาติมรณสฺส ปารคา ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็น
ผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ คือ ถึงนิพพานเถิด.
จบอรรถกถาสิกขาสูตรที่ 9

10. ชาคริยสูตร


ว่าด้วยผู้ตื่นอยู่ มีผล 2 อย่าง


[225] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น
มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งใน
กุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนือง ๆ เถิด