เมนู

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบโสมนัสสสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 1

อรรถกถาโสมนัสสสูตร


ในโสมนัสสสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล นี้มีอธิบายดังนี้ บทว่า สุขํ
ได้แก่ สุขทางกาย. บทว่า โสมนสฺสํ ได้แก่ สุขทางใจ เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ที่มีสุขทางกาย และสุขทางใจ เป็นไปเนือง ๆ ว่า เป็นผู้มาก
ไปด้วยความสุขและโสมนัส.
บทว่า โยนิ ได้แก่ กำเนิด มาแล้วในบทมีอาทิว่า จตสฺโส
โข อิมา สารีปุตต โยนิโย
ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด 4 เหล่านี้แล.
ได้แก่ เหตุในบทมีอาทิว่า โยนิ เหสา ภูมิ จ ผลสฺส อธิคมาย ก็
และภูมินี้เป็นเหตุเพื่อบรรลุผล ดังนี้. และได้แก่ ช่องคลอด ในบทมีอาทิว่า
น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ เตเมนํ กมฺมชวาตา
นิพฺพตฺติตฺวา อุทฺธํปาทํ อโธสิรํ สมฺปริวตฺติตฺวา มาตุ โยนิมุเข
สมฺปฏิปาเทนฺติ
เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดจากช่องคลอด มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่า
เป็นพราหมณ์ ลมกรรมชวาต (ลมเบ่ง) เกิดขึ้นกลับเด็กนั้นให้มีเท้าขึ้น ให้มี

หัวลง แล้วให้ตกไปในช่องคลอดของมารดา. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเหตุ.
บทว่า อสฺส แปลว่า โดย. บทว่า อารทฺธา ได้แก่ ตั้งไว้ ประคองไว้
หรือให้สำเร็จบริบูรณ์.
ในบทว่า อาสวานํ ขยาย นี้ ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลออก.
ท่านอธิบายว่า อาสวะทั้งหลายไหล คือ ซ่านออกจากตาบ้าง จากใจบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลจากธรรมถึงโคตรภู จากโอกาสถึง
ภวัคคพรหม. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายกระทำโอกาสนั้นในธรรมเหล่านั้น ไว้
ในภายในเป็นไปอยู่. อาการนี้มีความว่า ทำไว้ในภายใน. ชื่อว่า อาสวะ เพราะ
อรรถว่า หมักไว้นาน ดุจเครื่องดองมีน้ำหวานเป็นต้นบ้าง. น้ำหวานเป็นต้น
ที่ชาวโลกหมักไว้นาน เรียกว่า อาสวะ. ก็กิเลสเหล่านี้ควรเป็นอาสวะ เพราะ
อรรถว่า หมักหมมไว้นาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ปุริมา
ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺญายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เบื้องต้นที่สุดของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ อวิชชามิได้
มีแล้วก่อนจากนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไปแล่นไปสู่สัง-
สารทุกข์อันกว้างขวาง. ก็ในที่นี้ไม่มีคำพูดมาก่อน กิเลสทั้งหลาย ย่อมประกอบ
ไว้ในที่ที่พูดถึงอาสวะ. คำหลัง ย่อมประกอบไว้แม้ในกรรม. อนึ่ง อาสวะ
ทั้งหลายหาใช่เป็นกรรมและกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่. แม้อันตรายมีประการต่าง ๆ
ก็เป็นอาสวะด้วยแท้. ด้วยว่า อาสวะอันมาในอภิธรรมมี 4 อย่าง คือ
กามาสวะ 1 ภวาสวะ 1 ทิฏฐาสวะ 1 อวิชชาสวะ 1 เพราะฉะนั้น กิเลส
ทั้งหลายมีกามราคะเป็นต้น ก็เป็นอาสวะ. แม้ในพระสูตรท่านก็กล่าวถึงกรรม
เป็นไปในภูม 3 และอกุศลธรรมที่เหลือไว้ในที่นี้ว่า นาหํ จุนฺท ทิฏฐฺธมฺมิ-
กามํเยว อาสวานํ สํวราย ธมฺมํ เทเสมิ
ดูก่อนจุนทะ เราย่อมไม่

แสดงธรรมเพื่อความสำรวมอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น. ใน
บทนี้ว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย สมฺปรายิกานํ ปฏิฆาตาย
เพื่อความสำร่วมอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน เพื่อ กำจัดอาสวะทั้งหลาย
อันเป็นไปในสัมปรายภพ ท่านแสดงถึงการเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้เขา
เดือดร้อน การฆ่า การจองจำเป็นต้น และอันตรายมีประการต่าง ๆ อันเป็น
ทุกข์ในอบาย. ก็อาสวะเหล่านั้นมาในวินัย 2 อย่าง คือ เพื่อความป้องกัน
อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปใน
สัมปรายภพ 1. อาสวะมาในสัพพาสวสูตร 3 อย่าง ในบาลีมีอาทิว่า ตโย เม
อาวุโส อาสวา กามาสโว ภวาสโว อวิชฺชาสโว
ดูก่อนอาวุโส
อาสวะ 3 อย่างเหล่านี้ คือ กามาสวะ 1 ภวาสวะ 1 อวิชชาสวะ 1 ดังนี้.
ในสูตรอื่นก็อย่างนั้น. ในอภิธรรม อาสวะ 3 รวมเป็น 4 กับทิฏฐาสาวะ.
โดยการแสดงเพื่อให้รู้อาสวะมี 5 อย่าง คือ อาสวะนำสัตว์ไปนรกก็มี 1
อาสวะนำสัตว์ไปในกำเนิดเดียรัจฉานก็มี 1 อาสวะนำสัตว์ไปเปรตวิสัยก็มี 1
อาสวะนำสัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มี 1 อาสวะนำสัตว์ไปเทวโลกก็มี 1. แต่ในที่นี้
ท่านประสงค์เอากรรมเท่านั้นเป็นอาสวะ. ในฉักกนิบาต อาสวะมี 6 อย่าง
โดยนัยเป็นต้นว่า อตฺถิ อาสวา สํวรา ปหาตพฺพา อาสวะทั้งหลายพึงละ
เพราะการสำรวมก็มี. โดยการแสดงถึงความสำรวมอาสวะทั้งปวง อาสวะ
เหล่านั้นมี 7 อย่าง รวมกับธรรมอันทัสสนะพึงละ. แต่ในที่นี้ โดยการแสดง
ในอภิธรรม พึงทราบว่า ท่านประสงค์เอาอาสวะ 4.
ในบทว่า ขยาย นี้ การทำลายอาสวะทั้งหลายพร้อมด้วยรสในบทว่า
อาสวะสิ้นไป เสื่อมไป แตกไป ทำลายไป ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน
ท่านกล่าวว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. อาการสิ้นไป ความไม่มี

ความสิ้นสุด ความไม่เกิด แห่งอาสวะทั้งหลายในบทนี้ว่า ชานโต อหํ
ภิกฺขเว ปสฺสโต อาสวานํ ขยํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้
เมื่อเห็น เราย่อมกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ ท่านกล่าวว่า
ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้. อริยมรรคในคาถานี้ว่า
เสกฺขสฺส สิกฺขมานสฺส อุชุนคฺคานุสาริโน
ขยสฺมึ ปฐมํ ญาณํ ตโต อญฺญา อนนฺตรา

ญาณที่หนึ่ง ในเพราะควานสิ้นไป
ของพระเสกขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ดำ-
เนินตามทางตรง จากญาณนั้น ก็รู้ทั่วถึง
เป็นลำดับไป.

ท่านกล่าวว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ. กล่าวผลในบทนี้ว่า อาสวานํ
ขยา สมโณ โหติ
เป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย. กล่าวนิพพานใน
คาถานี้ว่า
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ผู้มอง
เห็นแต่โทษของผู้อื่น มีความสำคัญใน
การเพ่งโทษเป็นนิจ เขาไกลจากความสิ้น
อาสวะ.

ก็ในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า อาสวานํ ขยาย หมายถึงผล. อธิบายว่า
เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.

บทว่า สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ ได้แก่ในฐานะอันให้เกิดความสังเวช
คือ ในวัตถุอันควรสังเวช มีชาติเป็นต้น . วัตถุอันควรสังเวชเหล่านี้ คือ ชาติ
ชรา พยาธิ มรณะ อันนำไปสู่อบาย ในอดีต ในอนาคตเป็นทุกข์ มีวัฏฏะ
เป็นมูล ในปัจจุบันเป็นทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูล ชื่อว่า ฐานะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความสังเวช. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
โลกสันนิวาส ร้อนระอุ สับสน วุ่นวาย เดินทางผิด โลกอันชรานำเข้าไป
ไม่ยั่งยืน ไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ โลกไม่มีอะไรเป็นของตน ต้องละ
สิ่งทั้งปวงไป โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของตัณหา ดังนี้
ชื่อว่า ฐานะอันให้เกิดความสังเวชในที่นี้. บทว่า สํเวชเนน ได้แก่ ด้วย
ความสังเวชอันได้แก่กลัวเกิดอาศัยวัตถุอันควรสังเวชมีชาติเป็นต้น. แต่โดย
อรรถ ญาณพร้อมด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่า ความสังเวช. บทว่า สํเวคสฺส
ได้แก่ เกิดความสังเวชเพราะทุกข์มีชาติเป็นต้นหลาย ๆ อย่าง นับแต่หยั่ง
ลงสู่ครรภ์เป็นต้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สํเวชิต บ้าง. บทว่า โยนิโส
ปธาเนน
ได้แก่ ด้วยความเพียร โดยอุบาย คือ ด้วยความเพียรชอบ. จริง
อยู่ สัมมาวายามะนั้นท่านกล่าวว่าเป็นปธาน เพราะเป็นที่ตั้งความเพียรและ
เพราะให้สำเร็จภาวนาชั้นสูงสุด ดุจผู้ที่ละอกุศลธรรมได้ บรรดากุศลธรรม
ย่อมถึงการทำภาวนาให้บริบูรณ์ฉะนั้น.
ในบทนั้น ภิกษุไม่เห็นที่ต้านทาน ที่เร้น ที่พึ่งไร ๆ ในภพเป็นต้น
ด้วยความสังเวช ไม่ติดในภพนั้น มีใจไม่เกี่ยวเกาะ และหมดความรู้สึกในอัน
ที่จะหันกลับไป เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งนั้น จึงเป็นผู้น้อมไปเพื่อนิพพาน
โน้มไปเพื่อนิพพาน โอนไปเพื่อนิพพานโดยแท้. ภิกษุนั้น เป็นผู้มากไปด้วย
โยนิโสมนสิการเพราะอาศัยกัลยาณมิตร เป็นผู้ประกอบไปด้วยอัธยาศัยอัน
บริสุทธิ์ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายในสมถวิปัสสนา ย่อมเบื่อหน่ายใน

สังขารทั้งปวง ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนา. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มากด้วยโยนิโสมนสิ-
การ เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยอันบริสุทธิ์ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายใน
สมถะและวิปัสสนานี้ พึงทราบความเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัส ในปัจจุบัน
นั้นแล. ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ตั้งอยู่ในสมถะ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายใน
วิปัสสนา ย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนานั้น พึง
ทราบว่าเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ในคาถาทั้งหลาย พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า สํวิชฺเชเถว
ได้แก่พึงสังเวช คือ พึงทำความสลดใจนั้นเอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
สํวิชฺชิตฺวาน ก็มี. อธิบายว่า เป็นผู้มีความสลดใจตามนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้มีปัญญา. อธิบายว่าได้แก่ติเหตุกปฏิสนธิ (การปฏิ-
สนธิด้วยเหตุ 3 ประการ). บทว่า ปญฺญาย สมเวกฺขิย ได้แก่ พิจารณา
สังเวควัตถุ (วัตถุอันควรให้เกิดความสังเวช) ด้วยความสลดใจโดยชอบด้วย
ปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วโดยชอบด้วยปัญญา บทที่เหลือในที่ทั้ง
ปวงมีความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโสมนัสสสูตรที่ 10
จบอรรถกถาวรรคที่ 1 ในทุกนิบาต
แห่งอรรถกถาอิติวุตตกะ ชื่อปรมัตถวิภาวินี ด้วยประการฉะนี้.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมภิกขุสูตร 2. ทุติยภิกขุสูตร 3. ปนียสูตร 4. อตป-
นียสูตร 5. ปฐมสีลสูตร 6. ทุติยสีลสูตร 7. อาตาปีสูตร 8. ปฐมนกุ-
หนาสูตร 9. ทุติยนกุหนาสูตร 10. โสมนัสสสูตร และอรรถกถา.