เมนู

โดยความเป็นอภิไญยธรรมเป็นต้นนั่นแล ชนเหล่านั้นเป็นผู้กระทำตามคำ
สั่งสอน คือกระทำตามโอวาทของเราผู้เป็นศาสดา ผู้พร่ำสอนด้วยประโยชน์
ปัจจุบัน และสัมปรายภพตามสมควร จักกระทำที่สุด คือ ความเป็นไปไม่ได้
แห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปฐมนกุหนาสูตรที่ 8

9. ทุติยนกุหนาสูตร


ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร


[214] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ
หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์
คือ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้
จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุอยู่
ประพฤติเพื่อความรู้ยิ่ง และเพื่อกำหนดรู้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้
ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร
อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ทางนี้ พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์นี้ใหญ่ ผู้แสวงหา
คุณใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่าใด ๆ
ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระ-
พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้น ๆ
ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบทุติยนกุหนาสูตรที่ 9

อรรถกถาทุติยนกุหนาสูตร


ในทุติยนกุหนาสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิญฺญตฺถํ ได้แก่ เพื่อความรู้ธรรมทั้งปวง โดยจำแนกมี
กุศลเป็นต้น และโดยจำแนกมีขันธ์เป็นต้น โดยไม่วิปริตด้วยความรู้อันวิเศษยิ่ง.
บทว่า ปริญฺญตฺถํ ได้แก่ เพื่อกำหนดรู้และเพื่อก้าวล่วงธรรมอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 โดยนัยมีอาทิว่า อิทํ ทุกฺขํ นี้เป็นทุกข์ ดังนี้.
ในบทนั้น ความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เป็นวิสัยของอริยสัจ 4. ก็การ
รู้รอบ คือ การกำหนดรู้. ผิว่า การกำหนดรู้เป็นวิสัยของทุกข์สัจไซร้
พรหมจรรย์เว้นจากการตรัสรู้ด้วยปหานะ สัจฉิกิริยา และภาวนาย่อมเป็นไป
ไม่ได้. พึงทราบว่า ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปหานะเป็นต้น. บทที่เหลือมีเนื้อ
ความได้กล่าวไว้แล้วในสูตรตามลำดับ.
จบอรรถกถาทุติยนกุหนาสูตรที่ 9