เมนู

อารมณ์) 1 ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ) 1. บทว่า อปฺปมตฺโต
ได้แก่ ไม่ประมาทด้วยกรรมฐานภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมชำระจิต
จากอาวรณียธรรม (ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดี) ด้วยการจงกรม ด้วย
การนั่งตลอดวัน. บทว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัดกิเลส
10 อย่างมีกามราคะเป็นต้น อันได้ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะประกอบสัตว์ไว้ด้วย
ชาติ และชราจากมูลรากด้วยการถอนอนุสัย (กิเลสอัน นอนเนื่องอยู่ในสันดาน)
ขาดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัด
กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติชราขาดแล้ว. อันที่จริง ผู้ที่ยังตัดสังโยชน์
ขาดไม่ได้ ก็ยังตัดและถอนชาติชราไม่ได้ แต่ผู้ที่ตัดสังโยชน์ได้ ก็ตัดชาติชรา
ขาดได้ เพราะถอนเหตุเสียได้ ฉะนั้น เมื่อตัดสังโยชน์ขาด ก็ชื่อว่า ตัดชาติ
ชราขาดได้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สํโยชนํ ชาติชราย
เฉตฺวา
ดังนี้. บทว่า อิเธว สมฺโพธิมนุตฺตรํ ผุเส ได้แก่ พึงถูกต้อง
คือ พึงบรรลุพระอรหัต อันล้ำเลิศได้ในอัตภาพนี้แล.
จบอรรถกถาอาตาปีสูตรที่ 7

8. ปฐมนกุหนาสูตร


ว่าด้วยแนวปฏิบัติพรหมจรรย์


[213] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ
หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ

ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วย
อาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติ
เพื่อการสำรวมและเพื่อการละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้
ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร
อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อ
การสำรวม เพื่อการละ ทางนี้ พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายนี้ประโยชน์ใหญ่ ผู้แสวงหา
คุณอันใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่า
ใด ๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้น ๆ
ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จัก
กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปฐมนกุหนาสูตรที่ 8

อรรถกถาปฐมนกุหนาสูตร


ในปฐมนกุหนาสูตรที่ 8 ทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ในบทว่า นยิทํ นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ.
ศัพท์นั้นต่อด้วย บทว่า วุสฺสติ. ย อักษรทำเป็นมนสนธิ.
อิทํ ศัพท์เป็นเพียงนิบาต ในบทมีอาทิว่า เอกมิทาหํ ภิกฺขเว
สมยํ อุกฏฺฐายํ วิหรามิ สุภควเน สาลราชมูเล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่งนี้ เราอยู่ ณ โคนต้นสาละ ในสุภควันใกล้ศาลาอุกัฏฐ. มาในความ
เห็นชัดในที่ใกล้ ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทมีอาทิว่า อิทํ โข ตํ
ภิกฺขเว อปฺปมตฺตกํ โอรมตฺตกํ สีลมตฺตกํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนั้นนี้แลเป็นเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงข้างนี้ เป็นเพียงธรรมดา. มาในความ
เห็นชัดในที่ใกล้ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบทมีอาทิว่า
อิทํ หิ ตํ เชตวนํ อิสีสํฆนิเสวิตํ
อาวุฏฺฐํ ธมฺมราเชน ปีติสญฺชนนํ มมํ
มหาวิหารเชตวันนี้ อันหมู่ฤษีอาศัย
อยู่ อันพระธรรมราชประทับอยู่ ยังปีติ
ให้เกิดแต่เรา.

ในที่นี้พึงเห็นในความเห็นชัด ในที่ใกล้ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสูตรนี้.
พรหมจริยศัพท์มาในการให้ในปุณณกชาดกนี้ว่า
กินฺเต วตํ กึ ปน พฺรหฺมจริยํ
กิสฺส สุจิณฺณสฺส อยํ วิปาโก
อิทฺธิชุติพลวีริยูปปตฺติ