เมนู

อรรถกถาทุติยสีลสูตร


ในทุติยสีลสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภทฺทเกน สีเลน ได้แก่ ปาริสุทธิศีล 4 มีกายสุจริตเป็นต้น.
จริงอยู่ ปาริสุทธิศีล 4 นั้น เป็นความงามในตัวเอง เพราะไม่ต่างเป็นต้น
และนำมาซึ่งคุณอันงามมีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ภทฺทกํ (เจริญ). บทว่า ภทฺทิกาย ทิฏฐิยา ได้แก่กัมมัสสกตญาณ
(ความรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัมมาทิฏฐิอันเป็นกรรมบถ.
ในบทนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลอันเจริญ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปโยคะ
ประกอบด้วยทิฏฐิอันเจริญ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาสยะ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ปโยคะและอาสยะ เป็นผู้เข้าถึงสวรรค์ ด้วยประการฉะนี้. สมดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบธรรมสองอย่าง
เหล่านี้แล เป็นผู้อันกรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ฉะนั้น.
บทว่า สปฺปญฺโญ คือ มีปัญญา. บทที่เหลือพึงรู้ได้ง่ายทั้งนั้น .
จบอรรถกถาทุติยสีลสูตรที่ 6

7. อาตาปีสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้มีความเพียรบรรลุธรรมเกษม


[212] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ ไม่
ควรเพื่อจะตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน ไม่ควรเพื่อจะบรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเพียร ผู้มีโอตตัปปะ
ควรเพื่อจะตรัสรู้ ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อจะบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะชั้นเยี่ยม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุใดไม่มีความเพียร ไม่มีโอต-
ตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มาก
ไปด้วยถีนมิทธะ ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุเช่นนั้น ไม่ควรเพื่อจะบรรลุญาณ
เป็นเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด
มีสติ มีปัญญาเครื่องรักษาตน มีฌาน
มีความเพียร มีโอตตัปปะ ไม่ประมาท
ตัดกิเลสชาติ เครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วย
ชาติและชราขาดแล้ว พึงบรรลุญาณเป็น
เครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ในอัตภาพนี้แล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบอาตาปีสูตรที่ 7

อรรถกถาอาตาปีสูตร


ในอาตาปีสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนาตาปี ได้แก่ ความเพียรชื่ออาตาปะ เพราะอรรถว่า
เผากิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า อาตาปี เพราะมีความเพียร. ชื่อว่า อนาตาปี
เพราะไม่มีความเพียร. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้เกียจคร้านเว้นจากสัมมัปปธาน
(ความเพียรชอบ). ความหวาดสะดุ้งต่อบาป ท่านเรียกว่า โอตตัปปะ. ชื่อว่า
โอตตัปปี เพราะมีความหวาดสะดุ้ง. ชื่อว่า อโนตตัปปี เพราะไม่มีความ
หวาดสะดุ้ง ได้แก่ เว้นจากความหวาดสะดุ้ง. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มี
ความเพียรเป็นปฏิปักษ์ต่อความเพียร ได้แก่ความเกียจคร้าน. ชื่อว่า อนาตาปี
เพราะไม่มีความเพียร. ความไม่หวาดสะดุ้งใดที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บุคคล
ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อสิ่งที่ควรหวาดสะดุ้ง คือไม่หวาดสะดุ้ง เพราะเข้าถึง
อกุศลธรรมอันลามก ความไม่หวาดสะดุ้งนั้น ชื่อว่า อโนตตาปะ (ไม่มีความ
หวาดสะดุ้ง). ชื่อว่า อโนตตาปี เพราะไม่มีความหวาดสะดุ้ง. พึงทราบ
ความในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อภพฺโพ แปลว่า ไม่ควร. บทว่า สมฺโพธาย คือ เพื่อ
อริยมรรค. บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ เพื่ออมตมหานิพพานอันสงบกิเลสได้
โดยสิ้นเชิง. บทว่า อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส ได้แก่อรหัตผล. จริงอยู่
อรหัตผลนั้นชื่อว่า เป็นอนุตระ (ชั้นเยี่ยม) เพราะไม่มีสิ่งที่ยิ่งกว่า ชื่อว่า
เขมะ (เป็นแดนเกษม) เพราะไม่ถูกโยคะ 4 เบียดเบียน ท่านจึงกล่าวว่า
นิพพาน และว่าเป็นแดนเกษมจากโยคะ. บทว่า อธิคมาย ได้แก่ เพื่อบรรลุ.