เมนู

อรรถกถาเมตตาภาวสูตร


ในเมตตาภาวสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยานิ กานิจิ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุไม่มีเหลือ. บทว่า
อปธิกานิ ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ เป็นคำกำหนดถึงบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น.
ขันธ์ทั้งหลายท่านเรียกว่าอุปธิในบทนั้น. ศีลเป็นเหตุแห่งอุปธิ หรือ ความ
ขวนขวายอันเป็นอุปธิของขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า โอปธิกะ (มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุ)
ทำให้เกิดในอัตภาพในสมบัติภพ คือ ให้ผลอันเป็นไปในปฏิสนธิ. บทว่า
ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ คือ ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ เพราะเป็นบุญกิริยาและเป็น
วัตถุแห่งผลานิสงส์นั้น ๆ. ก็บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี 3 อย่าง คือ
ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ 1 สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล 1 ภาวนา-
มัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา 1. ในบุญกิริยาวัตถุ 3 อย่างนั้น ข้อที่ควร
กล่าวจักมีแจ้งในอรรถกถาติกนิบาตต่อไป.
บทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา ได้แก่การเข้าฌานหมวด 3
และหมวด 4 ที่ได้ด้วยเมตตาภาวนา. ก็เมื่อกล่าวว่าเมตตาย่อมหมายทั้งอุปจาร
ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติ ย่อมหมายถึงอัปปนาฌานอย่างเดียว.
ก็อัปปนาฌานนั้นท่านเรียกว่า เจโตวิมุตติ เพราะจิตพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็น
ข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น. บทว่า กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ได้แก่บุญกิริยา-
วัตถุมีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งเมตตาธรรมวิหาร. ข้อนี้ท่าน
อธิบายไว้ว่า กระทำผลแห่งเมตตาเจโตวิมุตติให้เป็น 16 เสี้ยว คือ ให้เป็น
16 ส่วนแล้วทำส่วนหนึ่งจาก 16 ส่วนนั้นให้เป็น 16 ส่วนอีก บุญกิริยา-
วัตถุ มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุเหล่าอื่น ยังไม่ถึงส่วนหนึ่งในส่วนที่ 16 นั้น.

บทว่า อธิคฺคเหตฺวา คือครอบงำแล้ว. บทว่า ภาสเต คือย่อม
สว่างไสวเพราะหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง. บทว่า ตปเต ได้แก่เผาธรรมอัน
ปฏิปักษ์ไม่ให้มีเหลืออีกเลย. บทว่า วิโรจเต ได้แก่ย่อมไพโรจน์ด้วยสมบัติ
ทั้งสอง. จริงอยู่ เมตตาเจโตวิมุตติ ย่อมสว่างไสวดุจความแจ่มใสอันปราศจาก
ความเศร้าหมอง ได้แก่ความสว่างของดวงจันทร์ ย่อมกำจัด คือ เผาธรรม
เป็นข้าศึก ดุจแสงสว่างกำจัดความมืด ย่อมสว่างไสวไพโรจน์ ดุจดาว
ประกายพฤกษ์โชติช่วง ฉะนั้น.
บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงความเปรียบเทียบ.
บทว่า ตารกรูปานํ ได้แก่ ความรุ่งเรื่อง. บทว่า จนฺทิยา ชื่อว่า จนฺที
เพราะอรรถว่ามีรัศมี. อธิบายว่า แห่งรัศมี คือ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์
นั้น. บทว่า วสฺสานํ ได้แก่ฤดู อันได้ชื่อเป็นพหูพจน์ว่า วสฺสานิ ดังนี้.
บทว่า ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ในเดือน 12. บทว่า สรทสมเย ได้แก่ใน
สารทกาล (ฤดูใบไม้ร่วง). เดือนอัสสยุชะ (เดือน 11) และเดือนกัตติกะ
(เดือน 12) ท่านเรียกฤดูสารทในโลก. บทว่า วิทฺเธ ได้แก่ ลอยขึ้นไป.
อธิบายว่า เคลื่อนคล้อยไปโดยปราศจากเมฆ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า วิคตวลาหเก
ปราศจากฝน. บทว่า เทเว ได้แก่ในอากาศ. บทว่า นถํ อพฺภุสฺสกฺกมาโน
ได้แก่ลอยขึ้นสู่อากาศจากที่โผล่ขึ้น. บทว่า ตมคตํ ได้แก่อากาศมืด. บทว่า
อภิหฺจจ ได้แก่ทำลาย คือ กำจัด. บทว่า โอสธิตารกา ได้แก่ดาวใดชื่อว่า
โอสธิ (ดาวประกายพฤกษ์) เพราะเป็นเหตุทำให้มีรัศมีมากขึ้น หรือเพราะ
ดาวประกายพฤกษ์เพิ่มให้มีพลังมากขึ้น.
ในบทนี้ท่านกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร เมื่อยังมีอาสวะอยู่ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมตตาวิเศษกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้เล่า. ท่านแก้ว่า
เพราะความปฏิบัติชอบในสัตว์ทั้งหลายด้วยความประเสริฐสุดและกามไม่มีโทษ.

ก็วิหารธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นธรรมประเสริฐที่สุด เป็นสัมมาปฏิบัติในสัตว์
ทั้งปวง คือ เมตตาฌาน. ก็เหมือนอย่างว่า พวกพรหมมีจิตไม่ประทุษร้าย
ฉันใด พระโยคีทั้งหลายผู้ประกอบด้วยวิหารธรรมเหล่านี้ ก็เป็นผู้เสมอด้วย
พรหมฉันนั้น. เป็นความจริงอย่างที่ท่านกล่าวว่า เมตฺตา พฺรหฺมวิหารา เมตตา
เป็นพรหมวิหารธรรม. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเมตตาว่า
วิเศษกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้ เพราะเป็นการปฏิบัติชอบในสัตว์ทั้งหลายด้วย
ความประเสริฐที่สุดและด้วยความไม่มีโทษ. ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุ
ไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตาเท่านั้นว่าวิเศษถึงอย่างนี้. ตอบว่า เพราะ
เมตตาเป็นที่ตั้งของพรหมวิหารธรรมนอกนี้ และเพราะกัลยาณธรรมทั้งหมดมี
ทานเป็นต้นครบบริบูรณ์. ก็เมตตานี้ มีความประพฤติอาการอันเป็นประโยชน์
เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีการประมวลประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส มี
การปลดเปลื้องความอาฆาตเป็นเครื่องปรากฏ ผิว่าเมตตาอันบุคคลเจริญแล้วทำ
ให้มากแล้วโดยไม่ว่างเว้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาวนามีกรุณาเป็นต้น ย่อมสำเร็จ
ได้โดยง่ายทีเดียว เพราะเหตุนั้น เมตตาจึงเป็นที่ตั้งแห่งพรหมวิหารธรรมนอก
นี้. จริงอย่างนั้น เมื่อมีอัธยาศัยเกื้อกูลให้สัตว์ทั้งหลาย ความเป็นผู้นำสัตว์
ให้ออกไปจากทุกข์ ความเป็นผู้ใคร่จะให้สมบัติวิเศษดำรงอยู่ได้นานย่อมสำเร็จ
ได้โดยง่าย เพราะไม่มีการฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง และเพราะมีจิตเป็นไปสม่ำเสมอใน
ที่ทั้งปวง. ก็ด้วยเหตุอย่างนี้ พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้น้อมไปในการแบ่ง
ความสุขอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล ไม่ทำการแบ่งแยกด้วยการ
เลือกว่า ควรให้แก่ผู้นี้ ไม่ควรให้แก่ผู้นี้ดังนี้ แล้วให้ทานอันเป็นเหตุให้ความ
สุขแก่สรรพสัตว์ไม่เลือกหน้า สมาทานศีลเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ บำเพ็ญ
เนกขัมมะเพื่อให้ศีลบริบูรณ์ ทำปัญญาให้บริสุทธิ์เพื่อความไม่ลุ่มหลงใน
ประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ ปรารภความเพียรมั่นเพื่อประโยชน์สู่ยิ่ง ๆ ขึ้น

ไป บรรลุความเป็นผู้กล้าด้วยความเพียรอันสูงสุด อดโทษด้วยอัธยาศัยอัน
เป็นประโยชน์นานัปการแก่สรรพสัตว์ ไม่ผิดคำพูดที่ได้ปฏิญาณไว้ด้วยคำ
มีอาทิว่า เราจักให้ จักกระทำสิ่งนี้แก่ท่านเป็นผู้ตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์สุขแก่
สรรพสัตว์ เป็นผู้แผ่เมตตาไม่เลื่อนลอยในสรรพสัตว์ เป็นผู้ให้อภัยในความ
ผิดพลาดของสรรพสัตว์ด้วยอัธยาศัยเกื้อกูล แม้เพราะได้ทำอุปการะก่อนก็ไม่
หวังการตอบแทน. พระมหาโพธิสัตว์เหล่านั้นบำเพ็ญบารมีแล้วยังกัลยาณธรรม
ทั้งหมด อันเป็นประเภทแห่งพุทธธรรม 18 หมวด ตลอดถึงทศพลญาณ
จตุเวสารัชญาณ และอสาธารณญาณ 6 ให้บริบูรณ์. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตานั้นให้วิเศษกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้ เพื่อทรงแสดง
ถึงความวิเศษนี้ว่า เมตตาบริบูรณ์ว่ากัลยาธรรมทั้งหมดมีทานเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่เมตตามีอานุภาพ
มากกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้ด้วยเวลามสูตร. ก็ในสูตรนั้นท่านกล่าวไว้ว่าทาน
ของพระโสดาบันองค์หนึ่งมีผลมากกว่ามหาทานของเวลามพราหมณ์มาก ฉัน
ใด ทานของพระสกทาคามีองค์หนึ่งมีผลมากกว่าพระโสดาบันร้อยหนึ่ง ฯลฯ
ทานของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีผลมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยองค์ ทาน
ของพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มีผลมากกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นั้น
การให้วิหารแก่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง 4 มีผลมากกว่าทานของพระสงฆ์มีพระ
พุทธเจ้าเป็นประมุขนั้นอีก การรับสรณคมน์ มีผลมากกว่าการให้วิหารแก่พระ
สงฆ์นั้นอีก การสมาทานศีลมีผลมากกว่าการรับสรณคมน์อีก การเจริญเมตตา
แม้ชั่วรีดนมโค พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสว่าผลมากกว่าการสมาทานศีลนั้น
ฉันนั้น ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ข้อที่เวลามพราหมณ์
ได้ให้ทาน อันเป็นมหาทาน ผู้พึงบริโภคทานอย่างเดียวอันเป็นสัมมาทิฏฐิ

มีผลมากกว่ามหาทานนั้น อนึ่ง ผู้พึงบริโภคทานของสัตบุรุษผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
และเป็นผู้เว้นจากสุราเมรัย ของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พึงเจริญ
เมตตาจิตแม้โดยที่สุดชั่วขณะรีดนมวัว ก็มีผลมากกว่านั้นดังนี้. แต่ไม่ควร
กล่าวถึงเมตตานั้นดีเกินกว่าบุญนิดหน่อย เพราะความเป็นบุญประกอบด้วย
มหัคคตกรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
กรรมใดกระทำพอประมาณ ธรรม
นั้นจักไม่เหลือในภพนั้น กรรมใดกระทำ
พอประมาณ กรรมนั้นย่อมไม่ติดอยู่ใน
ภพนั้น ดังนี้.

ก็กามาวจรกรรม ชื่อว่า กระทำพอประมาณ. แต่มหัคคตกรรม ชื่อว่า
กระทำไม่เป็นประมาณ เพราะพ้นประมาณแล้ว ทำเจริญ ด้วยการแผ่ไปโดย
เจาะจงและไม่เจาะจง. กามาวจรกรรมไม่สามารถยึดติดในระหว่างมหัคคตกรรม
หรือเพื่อครอบงำกรรมนั้น แล้วถือโอกาสแห่งผลของตนดำรงไว้ได้. ทีนั้นแหละ
มหัคคตกรรมนั่นแลครอบงำกรรมนิดหน่อยนั้น ดุจห้วงน้ำใหญ่ท่วมน้ำน้อย
แล้วถือโอกาสของตนตั้งอยู่ ห้ามผลของกรรมนั้นแล้ว นำเข้าไปสู่ความเป็น
สหายของพรหมด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น ข้อนี้ จึงเป็นอธิบายของมหัคคต-
กรรมนั้น.
ในคาถาทั้งหลายพึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า โย ได้แก่ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตคนใดคนหนึ่ง. บทว่า เมตฺตํ ได้แก่ เมตตาฌาน. บทว่า
อปฺปมาณํ ได้แก่ ไม่มีประมาณ ด้วยอำนาจภาวนาและอารมณ์. จริงอยู่
เมตตาไม่มีประมาณด้วยไม่ทำการยึดถือ เป็นส่วนหนึ่งในอารมณ์ ดุจอสุภภาวนา
เป็นต้น ด้วยแผ่ไปโดยไม่เจาะจง และด้วยก็เจริญโดยคล่องแคล่ว เพราะ
ไม่มีความประมาณเป็นอารมณ์.

บทว่า ตนู สํโยชนา โหนฺติ ความว่า สังโยชน์มีปฏิฆสังโยชน์
เป็นต้น อันผู้พิจารณากระทำเมตตาฌานให้เป็นบาท แล้วบรรลุอริยมรรคชั้นต่ำ
ละได้โดยง่ายทีเดียว ย่อมเป็นธรรมชาติเบาบาง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสฺสโต อุปธิกฺขยํ ของผู้พิจารณาเห็นธรรมอันเป็นที่
สิ้นไปแห่งอุปธิ. จริงอยู่ นิพพานท่านเรียกว่า ความสิ้นไปแห่งอุปธิ.
พระโยคาวจรย่อมเห็นนิพพานนั้น ด้วยมรรคญาณโดยบรรลุการทำให้แจ้งธรรม
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธินั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตนู สํโยชนา โหนฺติ
ความว่า จะกล่าวไปไยถึงสังโยชน์แม้ 10 ประการ ของผู้ชื่อพิจารณาเห็น
อันตนบรรลุที่สิ้นไปแห่งอุปธินั้น เพราะวิปัสสนาอันมีเมตตาฌานเป็นปทัฏฐาน
อันตนบรรลุพระอรหัตกล่าวคือความสิ้นไปแห่งอุปธิโดยลำดับย่อมเป็นธรรมชาติ
เบาบาง อธิบายว่า ย่อมละได้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตนู สํโยชนา โหนฺติ ความว่า ปฏิฆะและ
สังโยชน์สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ย่อมเป็นธรรมชาติเบาบาง. บทว่า ปสฺสโต
อุปธิกฺขยํ
พึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ว่า ของผู้พิจารณาเห็นเมตตาอันเป็น
ที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสแห่งสังโยชน์เหล่านั้นนั่นเอง ด้วยการบรรลุ. ด้วยประ
การฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งการบรรลุถึงยอดแห่ง
เมตตาภาวนา อันละกิเลสและบรรลุถึงพระนิพพานแล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดง
ถึงอานิสงส์แม้อย่างอื่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอกํปิ เจ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อทุฏฺฐิตฺโต ได้แก่ มีจิตไม่ประทุษร้ายด้วย
ความพยาบาท เพราะข่มความพยาบาทได้ด้วยดี ด้วยกำลังเมตตา บทว่า
เมตฺตายติ ได้แก่ ทำเมตตาด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูลให้. บทว่า กุสโล
ได้แก่ เป็นผู้มีกุศล คือ มีบุญมาก เพราะความดียิ่ง หรือเป็นผู้มีความเกษม
เพราะปราศจากความพินาศมีปฏิฆะเป็นต้น. บทว่า เตน ได้แก่ เพราะการ

เจริญเมตตานั้น. ศัพท์ในบทว่า สพฺเพ จ ปาเณ เป็นนิบาตลงพยติเรกะ
(ความแย้งกัน ). บทว่า มนสานุกมฺปิ ได้แก่ มีใจอนุเคราะห์. ท่านอธิบาย
ข้อนี้ไว้ว่า เมตตาแม้เป็นวิสัยของสัตว์อย่างหนึ่งก็ตาม แต่เป็นกองมหากุศล
พระอริยบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ มีใจอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ด้วยการแผ่ประโยชน์
เกื้อกูล ดุจบุตรอันเป็นที่รักของตน ย่อมกระทำคือผลิตบุญอันยิ่งใหญ่มากมาย
ไม่สิ้นสุด สามารถผูกพันวิบากของตนให้เป็นไปใน 64 มหากัปได้. บทว่า
สตฺตสณฺฑํ ได้แก่ เต็มไปด้วยหมู่สัตว์ คือไม่เว้นว่างจากสัตว์ทั้งหลาย
อธิบายว่า เกลื่อนกล่นด้วยหมู่มนุษย์. บทว่า วิชิตฺวา ได้แก่ ทรงชนะโดย
ธรรมอย่างเดียว ไม่ใช่โดยท่อนไม้และศัสตรา. บทว่า ราชีสโย ได้แก่ พระ
ราชาผู้ทรงธรรมเช่นฤษีทั้งหลาย. บทว่า ยชมานา ได้แก่ ให้ทานเป็นต้น.
บทว่า อนฺปริยคา ได้แก่ เสด็จเที่ยวไป.
ในบทว่า อสฺสเมธํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า
สังคหวัตถุ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาจาเปยยะ ได้มีมาใน
รัชกาลก่อน ๆ การเก็บส่วนที่ 10 จากข้าวกล้าที่สำเร็จแล้ว ในส่วนที่พระราชา
ทรงสงเคราะห์ชาวโลก ชื่อว่า สัสสเมธะ คือ ทรงฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า.
การเพิ่มอาหารและค่าจ้าง แก่ทหารทุก 6 เดือน ชื่อ ปุริสเมธะ คือ ทรงฉลาด
ในการสงเคราะห์คน. การรับสัญญากู้ในมือของตนจน ยกเว้นดอกเบี้ย 3 ปี
แล้วเพิ่มทรัพย์ประมาณ 1 พัน 2 พัน เพื่อเป็นกำไร ชื่อ สัมมาปาสะ คือ
คล้องมนุษย์ไว้โดยชอบ ดุจประทับผูกไว้ในหทัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัมมาปาสะ. การสงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน เช่นเรียกว่า พ่อ ลุง เป็นต้น
ชื่อว่า วาจาเปยยะ คือ กล่าวถ้อยคำดูดดื่มน่ารัก. แว่นแคว้นที่พระราชาทรง
สงเคราะห์ ด้วยสังคหวัตถุ 4 อย่างนี้ ย่อมเป็นแว่นแคว้นที่สมบูรณ์ มั่งคั่ง
มีข้าวน้ำบริบูรณ์ เกษมปลอดภัย. พวกมนุษย์ร่าเริงบันเทิง เล่นหัวฟ้อนรำ

กับบุตร เรือนก็ไม่ต้องปิด. นี้ท่านเรียกว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่มีกลอนที่
ประตูเรือน. นี้เป็นประเพณีเก่าแก่. แต่ในภายหลัง ครั้งรัชกาลพระเจ้า-
โอกกากราช พวกพราหมณ์ได้เปลี่ยนแปลงสังคหวัตถุ 4 เหล่านี้ และสมบัติ
ของแว่นแคว้นนี้เสีย. กระทำให้มีค่าสูงขึ้น แล้วจัดเป็นยัญพิธี 5 ประการ
มี อสฺสเมธํ ปุริสเมธํ เป็นต้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
พราหมณธัมมิยสูตรว่า
เตสํ อาสิ วิปลฺลาโส ทิสฺวาน อณุโต อณุํ
เต ตตฺถ มนฺเต คณเฐตฺวา โอกกากํ ตทุปาคมุํ.

พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้มีความวิปลาส
เพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย จากสิ่งเล็กน้อย
ได้ผูกมนต์ในยัญนั้นแล้ว พากันไปเฝ้าพระเจ้า
โอกากราช.

ในยัญเหล่านั้น ยัญชื่ออัสสเมธะ เพราะเป็นที่ฆ่าม้า. อัสสเมธะนี้เป็น
ชื่อของยัญอันเป็นผลที่จะให้ได้สมบัติทั้งปวงที่เหลือ เว้นแผ่นดินและคนเป็น
ยัญพิธีที่น่ากลัว เพทะจะต้องฆ่าสัตว์เลี้ยงอย่างละ 500 ถึง 7 ครั้ง หรือ 9
ครั้ง ในวันสุดท้ายวันหนึ่ง ที่เสาบูชายัญ 20 เสา อันจะต้องบูชาด้วยการ
บูชายัญ 2 อย่าง. บทนี้เป็นชื่อของยัญอันเป็นผลให้ได้สมบัติดังได้กล่าวแล้ว
ในอัสสเมธะ อันจะต้องบูชาด้วยการบูชายัญ 4 อย่างกับพื้นที่. ยัญชื่อว่า
สัมมาปาสะ เพราะเป็นที่คล้องคือซัดไปซึ่งสลักแอกไถ. บทนี้เป็นชื่อของการ
บูชายัญที่เขาสอดสลักแอกไถ คือ ท่อนไม้เข้าไปในช่องแอก แล้วทำแท่นรับ
ในโอกาสที่แอกนั้นตกไป แล้วทวนกลับจำเดิมแต่โอกาสที่เสาบูชายัญเป็นต้น
อันเคลื่อนที่ได้จมลงไปในแม่น้ำสวัสสวดี ทำการบูชายัญ. ยัญชื่อว่า วาชเปยยะ
เพราะเป็นที่ดื่มน้ำศักดิ์สิทธ์ ยัญนี้เป็นชื่อของยัญอันเป็นทักษิณาอย่างละ
สิบเจ็ด ๆ อันมีเสายัญทำวัยไม้มะตูม อันควรบูชาด้วยสัตว์ 17 ด้วยยัญ
อันหนึ่ง. ยัญชื่อว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่มีกลอนประตู. ยัญนี้เป็นชื่อของ

กำหนดการฆ่าม้าอัน เป็นชื่อโดยปริยาย เป็นทักษิณาให้สมบัติดังกล่าวแล้วใน
อัสสเมธะ อันควรบูชาด้วยยัญ 9 อย่าง กับด้วยพื้นที่และบุรุษ. บทว่า
จนฺทปฺปภา ได้แก่ รัศมีพระจันทร์. บทว่า ตารคณาว สพฺเพ ความว่า
หมู่ดาวแม้ทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของรัศมีพระจันทร์ ฉันใด ยัญ
ทั้งหลายมีอัสสเมธะเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของเมตตาจิตที่
กล่าวไว้ดีแล้ว โดยลักษณะที่กล่าวแล้ว ฉันนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า โย น หนฺติ ดังนี้
เพื่อทรงแสดงถึงอานิสงส์แห่งเมตตาภาวนา อันเป็นปัจจุบันและสัมปรายภพ
แม้อื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า โย ได้แก่ บุคคลผู้ขวนขวายแล้วในการ
เจริญเมตตาพรหมวิหาร. บทว่า น หนฺติ ได้แก่ ไม้เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ
หรือไม่ทำร้าย ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น เพราะข่มพยาบาทไว้ด้วยดี
ด้วยอานุภาพแห่งเมตตานั้นแล. บทว่า น ฆาเตติ ได้แก่ ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ฆ่าสัตว์. บทว่า น ชินาติ ได้แก่ ไม่ชนะใคร ๆ ด้วยการแข่งดี และ
พูดหาเรื่องทะเลาะกัน. หรือไม่ชนะใคร ๆ ด้วยก่อคดีเป็นต้น หมายจะทำให้
เกิดความเสื่อม เพราะไม่มีการแข่งดีนั่นเอง. บทว่า น ชาปเย ได้แก่
ไม่พึงชักชวนแม้คนอื่นทำให้คนอื่นเขาเสื่อมจากทรัพย์. บทว่า เมตฺตํโส
ได้แก่ มีส่วนแห่งจิตสำเร็จด้วยเมตตา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมตฺตํโส เพราะ
มีส่วนแห่งเมตตา คือมีส่วนต่าง ๆ เพราะไม่ละโดยถ่องแท้. บทว่า สพฺพ-
ภูเตสุ
ได้แก่ ในสรรพสัตว์. บทว่า เวรนฺตสฺส น เกนจิ ได้แก่ อกุศลเวร
ของผู้นั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุอะไร ๆ เลย อธิบายว่า ความพิโรธอันได้แก่
เวรในบุคคล ย่อมไม่มีแก่ผู้มีวิหารธรรมคือเมตตานั้น กับด้วยบุรุษไร ๆ เลย.
จบอรรถกถาเมตตาภาวสูตรที่ 7

ในเอกนิบาตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงวิวัฏฏะใน 15 สูตร คือ
ใน 13 สูตรตามลำดับ และในสิกขาสูตร 2. ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะใน 4 สูตร
เหล่านี้คือ นิวรณสูตร 1 สังโยชนสูตร 1 อัปปมาสูทตร 1 อัฏฐิสัญจยสูตร 1.
แต่ในสูตรนอกนั้นตรัสถึงวัฏฏะอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาเอกนิบาต อิติวุตตกะ
แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. จิตตฌายีสูตร 2. อุโภอัตถสูตร 3. ปุญญสูตร 4. เวปุลล-
ปัพพตสูตร 5. สัมปชานมุสาวาทสูตร 6. ทานสูตร 7. เมตตาภาวสูตร
และอรรถกถา
ในธรรมหมวดหนึ่งมีพระสูตรรวม 27 สูตร คือ พระสูตรเหล่านี้
7 สูตร และพระสูตรข้างต้น 20 สูตร ฉะนี้แล.
จบเอกนิบาต