เมนู

อรรถกถาเมตตาภาวสูตร


ในเมตตาภาวสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยานิ กานิจิ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุไม่มีเหลือ. บทว่า
อปธิกานิ ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ เป็นคำกำหนดถึงบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น.
ขันธ์ทั้งหลายท่านเรียกว่าอุปธิในบทนั้น. ศีลเป็นเหตุแห่งอุปธิ หรือ ความ
ขวนขวายอันเป็นอุปธิของขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า โอปธิกะ (มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุ)
ทำให้เกิดในอัตภาพในสมบัติภพ คือ ให้ผลอันเป็นไปในปฏิสนธิ. บทว่า
ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ คือ ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ เพราะเป็นบุญกิริยาและเป็น
วัตถุแห่งผลานิสงส์นั้น ๆ. ก็บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี 3 อย่าง คือ
ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ 1 สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล 1 ภาวนา-
มัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา 1. ในบุญกิริยาวัตถุ 3 อย่างนั้น ข้อที่ควร
กล่าวจักมีแจ้งในอรรถกถาติกนิบาตต่อไป.
บทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา ได้แก่การเข้าฌานหมวด 3
และหมวด 4 ที่ได้ด้วยเมตตาภาวนา. ก็เมื่อกล่าวว่าเมตตาย่อมหมายทั้งอุปจาร
ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติ ย่อมหมายถึงอัปปนาฌานอย่างเดียว.
ก็อัปปนาฌานนั้นท่านเรียกว่า เจโตวิมุตติ เพราะจิตพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็น
ข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น. บทว่า กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ได้แก่บุญกิริยา-
วัตถุมีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งเมตตาธรรมวิหาร. ข้อนี้ท่าน
อธิบายไว้ว่า กระทำผลแห่งเมตตาเจโตวิมุตติให้เป็น 16 เสี้ยว คือ ให้เป็น
16 ส่วนแล้วทำส่วนหนึ่งจาก 16 ส่วนนั้นให้เป็น 16 ส่วนอีก บุญกิริยา-
วัตถุ มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุเหล่าอื่น ยังไม่ถึงส่วนหนึ่งในส่วนที่ 16 นั้น.