เมนู

เหมือนคนตายแล้ว บัณฑิตทั้งหลายรู้
ความต่างกันในความไม่ประมาทนี้แล้ว
ขึ้นดีในธรรมเป็นโคจรของพระอริยะ
ทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.

เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺทปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ

นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มี
ความเพ่ง มีความพยายามติดต่อ มีความ
เพียรมั่นเป็นนิจ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน
อันเกษมจากโยคะ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า
ดังนี้.

เพราะฉะนั้น ในบทว่า อตฺถาภิสมยา นี้ พึงทราบความแม้ด้วย
ประโยชน์อัน เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาอุโภอัตถสูตรที่ 3

4. เวปุลลปัพพตสูตร


ว่าด้วยกองกระดูกโตเท่าภูเขาก็ล่วงทุกข์ไม่ได้


[202] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลหนึ่งแล่นไปท่องเที่ยวไปตลอดกัป
ร่างกระดูก หมู่กระดูก กองกระดูก พึงเป็นกองใหญ่ เหมือนภูเขาเวปุลล-
บรรพตนี้ ถ้าว่าใคร ๆ จะพึงรวบรวมไปกองไว้ และถ้าว่าส่วนแห่งกระดูก
อันใคร ๆ นำไปแล้วจะไม่พึงฉิบหายไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณ
อันใหญ่ ตรัสไว้ดังนี้ว่า กองแห่งกระดูก
ของบุคคลคนหนึ่ง พึงเป็นกองเสมอด้วย
ภูเขาโดยกัปหนึ่ง ก็ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลล-
บรรพตนี้นั้นแล อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสบอกแล้ว สูงยิ่งกว่าภูเขาคิชฌกูฎอยู่
ใกล้พระนครราชคฤห์ของชาวมคธ เมื่อ
ใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นอริยสัจ คือ
ทุกข์ 1 ธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ 1
ธรรมเป็นที่ก้าวล่วงแห่งทุกข์ 1 อริยมรรค
มีองค์ 8 อันให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ 1
ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้นบุคคลนั้นท่อง
เที่ยวไปแล้ว 7 ครั้งเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้
กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะสังโยชน์
ทั้งปวงสิ้นไป.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบเวปุลลปัพพตสูตรที่ 4

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตร


ในเวปุลลปัพพตสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า บุคคล ในบทว่า เอกปุคฺคบสฺส นี้ เป็นโวหารกถา
(กล่าวเป็นโวหาร). จริงอยู่ เทศนาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคมี 2 อย่าง
คือ สมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา. ในเทศนา 2 อย่างนั้น สมมติ-
เทศนามีอย่างนี้คือ บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา
มาร. ปรมัตถเทศนามีอย่างนี้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
สติปัฏฐาน.
ในเทศนา 2 อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา
แก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยสมมติ แล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. ทรงแสดง
ปรมัตถเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนา โดยปรมัตถแล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้.
พึงทราบอุปมาในข้อนั้นดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้อง
ถิ่น พรรณนาความแห่งพระเวท 3 บอกด้วยภาษาทมิฬแก่ผู้ที่เมื่อเขาสอนด้วย
ภาษาทมิฬก็รู้ความ บอกด้วยภาษาแก่ผู้ที่รู้ด้วยภาษาใบ้เป็นต้นอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ฉันใด มาณพทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลมย่อม
เรียนศิลปะได้รวดเร็วฉันนั้น. ในข้อนั้นพึงทราบว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค
ดุจอาจารย์ พระไตรปิฎกอันตั้งอยู่ในภาวะที่ควรบอก ดุจไตรเพท ความเป็นผู้
ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ ดุจความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้
สามารถแทงตลอดด้วยสมมติและปรมัตถ์ ดุจมาณพผู้รู้ภาษาต้องถิ่นต่าง ๆ
การแสดงด้วยสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจการบอกด้วยภาษา
ทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. ในข้อนี้อาจารย์กล่าวไว้ว่า