เมนู

อรรถกถาอุโภอัตถสูตร


ในอุโภอัตถสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภาวิโต ได้แก่ ทำให้เกิดขึ้น และให้เจริญขึ้น. บทว่า
พหุลีกโต ได้แก่ ทำบ่อย ๆ. บทว่า อตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล.
จริงอยู่ ประโยชน์เกื้อกูลนั้นท่านกล่าว อตฺโถ เพราะความไม่มีข้าศัก เพราะ
ควรเข้าไปถึง. บทว่า สมธิคฺคยฺห ติฏฐติ ได้แก่ ยึดไว้โดยชอบ คือ
ไม่ละยังเป็นไปอยู่. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกํ ได้แก่ อัตภาพที่เห็นประจักษ์
ท่านเรียกว่า ทิฏฐธรรม. ความเจริญในทิฏฐธรรม ชื่อว่า ทิฏฐธรรมิกะ.
อธิบายว่า ความเจริญอัน เนื่องอยู่ในโลกนี้. บทว่า สมฺปรายิกํ ได้แก่โลกอื่น
ชื่อสัมปรายะ เพราะควรไปในเบื้องหน้าด้วยอำนาจธรรม. ความเจริญใน
เบื้องหน้า ชื่อว่า สัมปรายิกะ. ท่านอธิบายว่า ความเจริญอันเนื่องในโลกหน้า.
ถามว่า ประโยชน์ปัจจุบันนั้นคืออะไร หรือประโยชน์ภพหน้าคืออะไร
ตอบว่า กล่าวเพียงโดยย่อ อันใดเป็นความสุขในโลกนี้ และอันใดนำความสุข
มาให้ในโลกนี้ เดี๋ยวนี้ นี้แหละคือประโยชน์ปัจจุบัน. เช่นสุขของคฤหัสถ์
ก่อนมีอาทิอย่างนี้ คือ ของใช้ที่ดี การงานไม่วุ่นวายสับสน รู้วิธีรักษาสุขภาพ
ทำของใช้สะอาด จัดการงานดี ช่างฝ่ายมือและแสวงหาความรู้ สงเคราะห์บริวาร.
ส่วนความสุขของบรรพชิต มีอาทิอย่างนี้ คือ เครื่องใช้ประจำตัว เครื่องใช้
ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช เหล่าใด การได้เครื่องใช้เหล่านั้น
โดยไม่ยาก อนึ่ง การเสพด้วยการพิจารณา การเว้นด้วยการพิจารณาในของใช้
เหล่านั้น การทำวัตถุให้สะอาด ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด
ความไม่คลุกคลี. พึงทราบว่า การอยู่ในประเทศอันสมควร การคบสัตบุรุษ

การฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นต้น เป็นธรรมทั่วไปแก่
คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง และเป็นความสมควรทั้งสองฝ่าย.
ความไม่ประมาทในบทว่า อปฺปมาโท นี้ พึงทราบโดยตรงกันข้าม
กับความประมาท. ถามว่า ก็ชื่อว่าความประมาทนี้ คืออะไร. ตอบว่า คือ
อาการเลินเล่อ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ในความประมาทและ
ความไม่ประมาทนั้น ความประมาทเป็นไฉน การปล่อยจิตไปในกามคุณ 5
ด้วยกายทุจริตก็ดี วจีทุจริตก็ดี มโนทุจริตก็ดี การเพิ่มพูนจิตให้เพลินไปใน
อารมณ์ การไม่ทำความเคารพในการบำเพ็ญกุศลธรรม การทำความเพียรไม่
ติดต่อ การทำอันไม่ยั่งยืน ความประพฤติย่อหย่อน การหมดฉันทะ การ
ทอดธุระ การไม่คบหา การไม่อบรม การไม่ทำให้มาก ความประมาท
ความเลินเล่อ ความเผอเรอเห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ปมาโท (ความประมาท).
เพราะฉะนั้น พึงทราบความไม่ประมาท โดยตรงกันข้ามกับความประมาท
ดังที่กล่าวแล้ว. แท้จริง ความไม่ประมาทนั้นโดยอรรถ ได้แก่การไม่อยู่
ปราศจากสติ. คำว่าไม่ประมาทนี้เป็นชื่อของสติ ที่เข้าไปตั้งไว้เป็นนิจนั่นเอง.
แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ขันธ์ไม่มีรูป 4 ที่เป็นไป โดยประกอบด้วย
สติสัมปชัญญะ ชื่อว่า ความไม่ประมาท.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภาวิโต พหุลีกโต อันภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ดังนี้ ถามว่า ความไม่ประมาทนี้พึงให้เจริญอย่างไร. ตอบว่า
การเจริญอย่างเดียวกัน แต่แยกกัน หาชื่อว่า เจริญความไม่ประมาทไม่. การ
ทำบุญ ทำกุศลทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าเป็นการเจริญความไม่
ประมาททั้งนั้น. แต่โดยต่างกันอันได้แก่การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งหมด
หมายถึงอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (นิพพาน) การถึงสรณะ และการสำรวมทางกาย

และทางใจ เพราะเหตุนั้น การเจริญกุศล การเจริญธรรมอันไม่มีโทษพึงทราบ
ว่าเป็นการเจริญความไม่ประมาท.
จริงอยู่ บทว่า อปฺปมาโท นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึง
ประโยชน์ใหญ่ คือ ทรงยึดถือประโยชน์มากดำรงอยู่. ไม่ควรกล่าวว่า
พระธรรมกถึกนำเอาพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกแม้ทั้งสิ้น มากล่าวทำอรรถ
แห่งบท คือ อัปปมาท ออกนอกทางไป. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า
เพราะความไม่ประมาทเป็นธรรมข้อใหญ่. เป็น ความจริงดังนั้น พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เมื่อใกล้จะปรินิพพานทรงบรรทม ณ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ใกล้
เมืองกุสินารา ทรงรวบรวมธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมาในเวลา 45 พรรษา
ตั้งแต่การตรัสรู้ลงด้วยบทเดียว จึงได้ประทานพระโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.
และทรงกล่าวขยายความต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้ง
หลายบนแผ่นดินเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงใน
รอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างท่านกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหมด เพราะ
เป็นรอยเท้าใหญ่ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่
ประมาท เรากล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้
อธิบายความในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้. บทว่า อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปัญญา มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมสรรเสริญ
คือ ย่อมพรรณนา ย่อมยกย่องความไม่ประมาทในการทำบุญมีทานเป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อม
ถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้.
ถามว่า ก็ประโยชน์ทั้งสองเหล่านั้น คืออะไร.
ตอบว่า คือประโยชน์ในปัจจุบัน 1 ประโยชน์ในอนาคต 1. พึงทราบ

การแก้บทในคาถานี้อย่างนี้. ในบทว่า ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ ประโยชน์
ในปัจจุบัน ได้แก่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ก่อน คือกรรมอันไม่มีโทษ ประโยชน์
ที่คฤหัสถ์ควรจะได้มีวิธีประกอบกสิกรรม และโครักขกรรมเป็นต้น ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า อนากุลา จ กมิมนฺตา
การงานไม่อากูล ดังนี้. ส่วนของบรรพชิต พึงทราบว่าได้แก่ประโยชน์ มี
ความไม่เดือดร้อนเป็นต้น. ส่วนบทว่า โย จตฺโถ สมฺปรายิโก ประโยชน์
ในสัมปรายภพ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการประพฤติธรรมของทั้งสองฝ่าย
คือ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะได้
ประโยชน์ คือประโยชน์เกื้อกูลแม้ทั้งสอง. การได้ชื่อว่า สมยะ เพราะร่วมกัน
เกี่ยวข้องกัน ประชุมกัน ด้วยสิ่งที่ควรได้. สมยะนั่นแล คือ อภิสมยะ หรือ
สมยะชื่อว่า อภิสมยะ เพราะความมีหน้าเข้าหากัน . พึงทราบอรรถแห่งบท
ในที่นี้ ดังนี้. ชื่อว่า ธีโร เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. อนึ่ง ในที่นี้
พึงทราบการสงเคราะห์แม้พระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยอัตถ
ศัพท์. บทที่เหลือชัดดีแล้วทั้งนั้น.
ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงวัฏสมบัติอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้ ส่วนใน
คาถาพึงเห็นการสงเคราะห์ซึ่งวิวัฏด้วย. จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
อปฺปมาโท อมตํปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา
เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ อริยานํ โคจเร รตา

ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความ
ไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความ
ตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาท

เหมือนคนตายแล้ว บัณฑิตทั้งหลายรู้
ความต่างกันในความไม่ประมาทนี้แล้ว
ขึ้นดีในธรรมเป็นโคจรของพระอริยะ
ทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.

เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺทปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ

นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มี
ความเพ่ง มีความพยายามติดต่อ มีความ
เพียรมั่นเป็นนิจ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน
อันเกษมจากโยคะ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า
ดังนี้.

เพราะฉะนั้น ในบทว่า อตฺถาภิสมยา นี้ พึงทราบความแม้ด้วย
ประโยชน์อัน เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาอุโภอัตถสูตรที่ 3

4. เวปุลลปัพพตสูตร


ว่าด้วยกองกระดูกโตเท่าภูเขาก็ล่วงทุกข์ไม่ได้


[202] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลหนึ่งแล่นไปท่องเที่ยวไปตลอดกัป
ร่างกระดูก หมู่กระดูก กองกระดูก พึงเป็นกองใหญ่ เหมือนภูเขาเวปุลล-
บรรพตนี้ ถ้าว่าใคร ๆ จะพึงรวบรวมไปกองไว้ และถ้าว่าส่วนแห่งกระดูก
อันใคร ๆ นำไปแล้วจะไม่พึงฉิบหายไป.