เมนู

6. ปฐมเสขสูตร


ว่าด้วยโยนิโสมนสิการได้บรรลุผลสูงสุด


[194] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่ง
อย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการ
นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย ย่อมละอกุศลเสียได้
ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อ
บรรลุประโยชน์อันสูงสุด แห่งภิกษุผู้เป็น
พระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มี
เลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบ-
คาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่ง
ทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบปฐมเสขสูตรที่ 6

อรรถกถาปฐมเสขสูตร


ในปฐมเสขสูตรพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เสกฺโข ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ มีความว่าอย่างไร. ชื่อว่า
เสกขะเพราะได้เสกขธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิอัน
เป็นเสกขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นเสกขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกขะ เพราะ
ยังต้องศึกษา. แม้ข้อนี้ก็ตรัสไว้ว่า สิกฺขตีติ โข ภิกฺขเว ตสิมา
เสกฺโขติ วุจฺจจิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุยังต้อศึกษา ฉะนั้นจึงเรียกว่า
เสกขะ. ถามว่า ศึกษาอะไร. ตอบว่า ศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
เพราะยังต้องศึกษา ดังนี้แล ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสกขะ. แม้ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชน
กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรโดยไม่เห็นแก่
นอนมากนัก ประกอบความเพียรด้วยการเจริญโพธิปักขิยธรรมตลอดราตรีต้น
ราตรีปลาย ด้วยหวังว่า เราจักบรรลุ สามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวันนี้
หรือในวันพรุ่งนี้ ท่านก็เรียกว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา ในข้อนี้ท่าน
ประโยคสงค์เอาพระเสขะผู้ยังไม่แทงตลอด ที่แท้ก็เป็นกัลยาณปุถุชน.
ชื่อว่า อปฺปตฺตมานโส เพราะอรรถว่า ยังไม่บรรลุอรหัตผล
ท่านกล่าวราคะว่าเป็นมานสะ ในบทนี้ว่า บทว่า มานสํ ได้แก่ราคะเที่ยวไป
ดุจตาข่ายลอยอยู่บนอากาศ. ได้แก่จิตในบทนี้ว่า จิต มนะ ชื่อว่า มานสะ.
ได้แก่ พระอรหัตในบทนี้ว่า พระเสกขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัต พึงทำกาละ