เมนู

4. โมหสูตร


ว่าด้วยโมหะให้ไปสู่ทุคติ


[192] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น
ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน
เหมือนนิวรณ์ คือ อวิชชานี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์
คือ อวิชชาหุ้มห่อแล้วย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ
ให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ท่อง-
เที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูก
โมหะหุ้นห่อแล้ว ไม่มีเลย ส่วนพระอริย-
สาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายของ
แห่งความมืดได้แล้ว พระอริยสาวกเหล่า
นั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชา
อันเป็นต้นเหตุ (แห่งสงสาร) ย่อมไม่มี
แก่พระอริยสาวกเท่านั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบโมหสูตรที่ 4

อรรถกถาโมหสูตร


ในโมหสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อักษรในบทเป็นต้นว่า นาหํ ภิกฺขเว มีอรรถปฏิเสธ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ว่า อหํ. บทว่า อญฺญํ ได้แก่ ธรรมอื่น
จากนิวรณ์ คือ อวิชชาที่จะต้องกล่าวในบัดนี้ . บทว่า เอกนีวรณมฺปิ ได้แก่
ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดีอย่างหนึ่ง. บทว่า สมนุปสฺสามิ ได้แก่
สมนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) 2 อย่าง คือ ทิฏฐิสมนุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นด้วยทิฏฐิ) 1 ญาณสมนุปัสสนา (การพิจารณาเห็นด้วยญาณ) 1.
ในสมนุปัสสนา 2 อย่างนั้น การพิจารณาเห็นที่มาโดยบาลี มีอาทิว่า
รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตัวตน นี้ชื่อ
ทิฏฐิสมุนุปัสสนา. ส่วนสมนุปัสสนาที่มาโดยบาลี มีอาทิว่า อนิจฺจโต สมนุ-
ปสฺสติ โน นิจฺจโต
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นของเที่ยง นี้ชื่อว่า ญาณสมนุปัสสนา. ในพระสูตรท่าน
ประสงค์เอาญาณสมนุปัสสนาอย่างเดียว. บทว่า สมนุปสฺสามิ เชื่อมด้วย
อักษร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแม้
ตรวจตราดูธรรมทั้งปวง ด้วยสมันตจักษุ (จักษุรอบคอบ) อันได้แก่สัพพัญ-
ญุตญาณ ดุจมะขามป้อมในมือ ก็ยังไม่เห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น.
บทว่า เยน นีวรเณน นิวุตา ปชา ทีฆรตฺตํ สนฺธาวนฺติ
สํสรนฺติ
แปลว่า หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้น
กาลนาน ความว่า สัตว์ทั้งหลายถูกนิวรณ์ครอบงำ ปกคลุมหุ้มห่อให้มืดมัว
ไม่ให้เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อแทงตลอดสภาวธรรมทั้งหลาย เพราะสภาว-