เมนู

พระสุตตันตปิฎก


ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท


เล่มที่ 1 ภาคที่ 2


ตอนที่ 3


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


คาถาธรรมบท


ปาปวรรค1ที่ 9


ว่าด้วยบุญและบาป


[19] 1. บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิต
เสียจากบาป เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่
ใจจะยินดีในบาป.
2. ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้น
บ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะว่า
ความสั่งสมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.
3. ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ
พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่าความสั่งสมบุญ
ทำให้เกิดสุข.
1. วรรคนี้มีอรรถกถา 12 เรื่อง.

4. แม้คนผู้ทำบุญ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอด
กาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใดบาปเผล็ดผล
เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว ฝ่ายคนทำกรรมดี ย่อม
เห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล
แต่เมื่อใดกรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรม
ดีว่าดี.

5. บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณ
น้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตก
ลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาป
แม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น.

6. บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณ
น้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่
ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน (ชนผู้มี
ปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ
ได้ฉันนั้น.

7. บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย เหมือน
พ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว
(และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย
ฉะนั้น.

8. ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้ บุคคลพึงนำยา
พิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไปสู่

ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่
ฉันนั้น.

9. ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย
ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขาซัด
ทวนลมไปฉะนั้น.

10. ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้มี
กรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่ง
สุคติ ย่อมไปสวรรค์ ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน.

11. บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ
ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหา-
สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอก
ภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่
แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่ว
ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.

12. บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ
ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหา-
สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอก
ภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่
แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด ความตายพึงครอบงำ
ไม่ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.

จบปาปวรรคที่ 9

9. ปาปวรรควรรณนา


1. เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [95]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ ชื่อ
จูเฬกสาฎก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ " เป็นต้น.

พราหมณ์และพราหมณีผลัดกันไปฟังธรรม


ความพิสดารว่า ในการแห่งพระวิปัสสีทศพล ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง
ชื่อมหาเอกสาฎก. แต่ในกาลนี้ พราหมณ์นี้ได้เป็นพราหมณ์ ชื่อจูเฬก
สาฎกในเมืองสาวัตถี. ก็ผ้าสาฎกสำหรับนุ่งของพราหมณ์นั้นมีผืนเดียว.
แม้ของนางพราหมณีก็มีผืนเดียว. ทั้งสองคนมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. ใน
เวลาไปภายนอก พราหมณ์หรือพราหมณีย่อมห่มผ้าผืนนั้น. ภายหลังวัน
หนึ่ง เมื่อเขาประกาศการฟังธรรมในวิหาร พราหมณ์กล่าวว่า "นาง
เขาประกาศการฟังธรรม. เจ้าจักไปสู่สถานที่ฟังธรรมในกลางวัน หรือ
กลางคืน ? เพราะเราทั้งสองไม่อาจไปพร้อมกันได้ เพราะไม่มีผ้าห่ม"
พราหมณีตอบว่า "นาย ฉันจักไปในกลางวัน" แล้วได้ห่มผ้าสาฎกไป.

พราหมณ์คิดบูชาธรรมด้วยผ้าสาฎกที่ห่มอยู่


พราหมณ์ยับยั้งอยู่ในเรือนตลอดวัน ต่อกลางคืนจึงได้ไปนั่งฟัง
ธรรมทางด้านพระพักตร์พระศาสดา. ครั้งนั้น ปีติ1 5 อย่างซาบซ่าน
1. ปีติ 5 คือ ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย 1 ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ 1 โอกกันติกาปีติ ปีติเป็น
พัก ๆ 1 อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน 1 ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน 1.

ไปทั่วสรีระของพราหมณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว. เขาเป็นผู้ใคร่จะบูชาพระศาสดา
คิดว่า " ถ้าเราจักถวายผ้าสาฎกนี้ไซร้, ผ้าห่มของนางพราหมณีจักไม่มี
ของเราก็จักไม่มี " ขณะนั้นจิตประกอบด้วยความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้น
แล้วแก่เขา, จิตประกอบด้วยสัทธาดวงหนึ่งเกิดขึ้นอีก. จิตประกอบด้วย
ความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้นครอบงำสัทธาจิต แม้นั้นอีก. ความตระหนี่
อันมีกำลังของเขาคอยกีดกันสัทธาจิตไว้ ดุจจับมัดไว้อยู่เทียว ด้วยประการ
ฉะนี้.

ชนะมัจเฉรจิตด้วยสัทธาจิต


เมื่อเขากำลังคิดว่า " จักถวาย จักไม่ถวาย " ดังนี้นั่นแหละ ปฐม-
ยามล่วงไปแล้ว. แต่นั้น ครั้นถึงมัชฌิมยาม เขาไม่อาจถวายในมัชฌิมยาม
แม้นั้นได้. เมื่อถึงปัจฉิมยาม เขาคิดว่า " เมื่อเรารบกับสัทธาจิตและ
มัจเฉรจิตอยู่นั่นแล 2 ยามล่วงไปแล้ว. มัจเฉรจิตนี้ของเรามีประมาณเท่านี้
เจริญอยู่ จักไม่ให้ยกศีรษะขึ้นจากอบาย 4, เราจักถวายผ้าสาฎกละ. "
เขาข่มความตระหนี่ตั้งพันดวงได้เเล้วทำสัทธาจิตให้เป็นปุเรจาริก ถือผ้า
สาฎกไปวางแทบบาทมูลพระศาสดา ได้เปล่งเสียงดังขึ้น 3 ครั้งว่า " ข้าพ-
เจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว เป็นต้น ."

ทานของพราหมณ์ให้ผลทันตาเห็น


พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังทรงฟังธรรม ได้สดับเสียงนั้นแล้ว
ตรัสว่า " พวกท่านจงถามพราหมณ์นั้นดู. ได้ยินว่า เขาชนะอะไร ?."
พราหมณ์นั้นถูกพวกราชบุรุษถาม ได้เเจ้งความนั้น. พระราชาได้
สดับความนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์ทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก เราจัก
ทำการสงเคราะห์เขา " จึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าสาฎก 1 คู่.

เขาได้ถวายผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตเหมือนกัน พระราชาจึงรับสั่ง
ให้พระราชทานทำให้เป็นทวีคูณอีก คือ 2 คู่ 4 คู่ 8 คู่ 16 คู่. เขาได้
ถวายผ้าแม้เหล่านั้นแด่พระตถาคตนั้นเทียว. ต่อมา พระราชารับสั่งให้
พระราชทานผ้าสาฎก 32 คู่แก่เขา.
พราหมณ์เพื่อจะป้องกันวาทะว่า " พราหมณ์ไม่ถือเอาเพื่อตน สละ
ผ้าที่ได้แล้ว ๆ เสียสิ้น " จึงถือเอาผ้าสาฎก 2 คู่จากผ้า 32 คู่นั้นคือ " เพื่อ
ตน 1 คู่ เพื่อนางพราหมณี 1 คู่ " ได้ถวายผ้าสาฎก 30 คู่แด่พระตถาคต
ทีเดียว. ฝ่ายพระราชา เมื่อพราหมณ์นั้นถวายถึง 7 ครั้ง ได้มีพระราช
ประสงค์จะพระราชทานอีก. พราหมณ์ชื่อมหาเอกสาฎก ในกาลก่อน
ได้ถือเอาผ้าสาฎก 2 คู่ในจำนวนผ้าสาฎก 64 คู่. ส่วนพราหมณ์ชื่อจูเฬก-
สาฎกนี้ ได้ถือเอาผ้าสาฎก 2 คู่ ในเวลาที่ตนได้ผ้าสาฎก 32 คู่.
พระราชา ทรงบังคับพวกราชบุรุษว่า " พนาย พราหมณ์ทำสิ่งที่ทำ
ได้ยาก. ท่านทั้งหลายพึงให้นำเอาผ้ากัมพล 2 ผืนภายในวังของเรามา."
พวกราชบุรุษได้กระทำอย่างนั้น. พระราชารับสั่งให้พระราชทานผ้ากัมพล
2 ผืนมีค่าแสนหนึ่งแก่เขา. พราหมณ์คิดว่า " ผ้ากัมพลเหล่านี้ไม่สมควร
แตะต้องที่สรีระของเรา. ผ้าเหล่านั้นสมควรแก่พระพุทธศาสนาเท่านั้น "
จึงได้ขึงผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ทำให้เป็นเพดานไว้เบื้องบนที่บรรทมของพระ-
ศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ขึงผืนหนึ่งทำให้เป็นเพดานในที่ทำภัตกิจของ
ภิกษุผู้ฉันเป็นนิตย์ในเรือนของตน. ในเวลาเย็น พระราชาเสด็จไปสู่
สำนักของพระศาสดา ทรงจำผ้ากัมพลได้แล้ว ทูลถามว่า " ใครทำการ
บูชา พระเจ้าข้า ? " เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า " พราหมณ์ชื่อเอกสาฎก "
ดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์เลื่อมใสในฐานะที่เราเลื่อมใสเหมือน