เมนู

ย่ำยีความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเหตุว่าภิกษุผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้ข่นได้ทั้งความไม่ยินดีทั้งความ
ยินดี.
ความไม่ยินดีหาย่ำยีภิกษุผู้มีปัญญา
ได้ไม่ ความไม่ยินดีหาครอบงำภิกษุผู้มี
ปัญญาได้ไม่ แต่ภิกษุผู้มีปัญญาย่ำยีความ
ไม่ยินดีได้ เพราะภิกษุผู้มีปัญญาเป็นผู้ข่ม
ความไม่ยินดีได้.
ใครจะมาขัดขวางภิกษุผู้ละกรรม
ทั้งปวง ผู้ถ่ายถอน (กิเลส) แล้วไว้ (มิให้
บรรลุวิมุตติ) ได้ ใครจะควรติภิกษุ (ผู้
บริสุทธิ์) ดุจแท่งทองชมพูนุทนั้นเล่า แม้
เหล่าเทวดาก็ย่อมชมถึงพรหมก็สรรเสริญ.

จบอริยวังสสูตรที่ 8

อรรถกถาอริยวังสสูตร


อริยวังสสูตรที่ 8 ตั้งขึ้นมีอัธยาศัยของพระองค์เป็นอัตถุปปัตติเหตุ
เกิดเรื่อง ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนือบวรพุทธาสน์ที่เขา
จัดถวาย ณ ธรรมสภา พระเชตวันมหาวิหาร ตรัสเรียกภิกษุสี่หมิ่นรูป ผู้นั่ง
แวดล้อมว่า ภิกฺขเว ดังนี้แล้ว จึงทรงเริ่มมหาอริยวังสสูตรนี้ว่า จตฺตาโรเม
ภิกฺขเว อริยวํสา
เป็นต้น ด้วยอำนาจอัธยาศัยของพระองค์บ้าง ของบุคคล

อื่นบ้าง. ในบทเหล่านั้น บทว่า อริยวํสา คือ วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย.
อริยวงศ์ที่แปดแม้นี้ เป็นสายของพระอริยะ ชื่อว่าเป็นประเพณีเชื้อสายของ
พระอริยะ เหมือนขัตติยวงศ์ พราหมณวงศ์ เวสสวงศ์ สุททวงศ์ สมณวงศ์
กุลวงศ์ ราชวงศ์ฉะนั้น . ก็วงศ์นี้นั้นท่านกล่าวว่าเป็นยอดของวงศ์เหล่านี้
เหมือนกลิ่นกระลำพักเป็นต้น เป็นยอดของไม้มีกลิ่นเกิดที่รากเป็นต้น.
ถามว่า ก็คนเหล่าไหน คืออริยะ วงศ์ของอริยะ. ตอบว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และสาวกของพระตถาคต
ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า พระอริยะ วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นจึงรวมเรียกว่า
อริยวงศ์. ก่อนแต่กาลนี้ไป ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เกิดพระพุทธเจ้า
ขึ้น 4 พระองค์ คือ พระตัณหังกระ 1 พระเมธังกระ 1 พระสร-
ณังกระ 1 พระทีปังกระ 1
ดังนี้ วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นรวมชื่อว่า
อริยวงศ์. ภายหลังแต่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล่วงไปหนึ่ง
อสงไขยเกิดพระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ฯลฯ ในกัปนี้เกิดพระ-
พุทธเจ้าขึ้น 4 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ 1 พระโกนาคมนะ 1
พระกัสสปะ 1 พระผู้มีพระภาคเจ้าโคตมะของพวกเรา 1
ดังนี้ วงศ์
ของพระอริยะเหล่านั้น รวมชื่อว่า อริยวงศ์. อีกอย่างหนึ่ง วงศ์ของพระ-
อริยะทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก
ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันรวมชื่อว่า อริยวงศ์.
ก็แลวงศ์แห่งพระอริยะเหล่านี้นั้น ชื่อว่า อคฺคญฺญา ได้แก่ พึงรู้ว่า
ล้ำเลิศ. ชื่อว่า รตฺตญฺญา ได้แก่ พึงรู้ว่าประพฤติมานานแล้ว. ชื่อว่า
วํสญฺญา ได้แก่ พึงรู้ว่าเป็นวงศ์ คือ เชื้อสาย. ชื่อว่า โปราณา ได้แก่
มิใช่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้. ชื่อว่า อสํกิณฺณา ได้แก่ มิใช่กระจัดกระจาย มิใช่ถูก

ทอดทิ้ง. บทว่า อสํกิณฺณปุพฺพา ได้แก่ ไม่เคยกระจัดกระจาย พระพุทธเจ้า
ในอดีตไม่เคยทอดทิ้งด้วยเข้าใจว่า ประโยชน์อะไรด้วยอริยวงศ์เหล่านี้. บทว่า
น สํกิยนฺติ ได้แก่แม้บัดนี้ ท่านเหล่านั้นก็ไม่ทอดทิ้ง. บทว่า น สํกิยิสฺสนฺติ
ได้แก่ แม้พระพุทธเจ้าในอนาคต ก็จักไม่ทอดทิ้ง. สมณพราหมณ์เหล่าใด
ที่เป็นผู้รู้ในโลก อริยวงศ์เหล่านี้อันสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่คัดค้านแล้ว
คือ สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่ตำหนิ ไม่ติเตียนแล้ว.
บทว่า สนฺตุฏโฐ โหติ ความว่า เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสันโดษ.
บทว่า อิตริตเรน ความว่า เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย หยาบ ละเอียด
เศร้าหมอง ประณีต ถาวรและเก่า อย่างใดอย่างหนึ่ง. โดยที่แท้ ภิกษุย่อม
เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามที่ได้แล้วเป็นต้น ตามมีตามได้ คืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ในจีวรสันโดษมีสามคือ ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ ยถาพลสันโดษ
ยินดีตามกำลัง ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร. แม้ในบิณฑบาต
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เรื่องพิสดารแห่งสันโดษเหล่านั้น พึงทราบ
โดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้สันโดษดังนี้เป็นต้น.
ดังนั้น ท่านหมายถึงสันโดษสามเหล่านี้ จึงกล่าวว่า ภิกษุเป็น
ผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ คือ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามที่ได้แล้วเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้. ก็ในจีวรสันโดษนี้ ภิกษุพึงรู้จักจีวร พึงรู้จักเขตจีวร
พึงรู้จักบังสุกุลจีวร พึงรู้จักสันโดษด้วยจีวร พึงรู้จักธุดงค์ที่เกี่ยวกับจีวร.
ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า พึงรู้จักจีวร ได้แก่ พึงรู้จักกับปิยจีวร 12 ชนิด
เหล่านี้คือ จีวร 6 ที่ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น และจีวรอันอนุโลม 6 ที่ทำ
ด้วยผ้าเนื้อดีเป็นต้น และพึงรู้จักอกัปปิยจีวรเป็นต้นอย่างนี้คือ จีวรที่ทำด้วย

เปลือกไม้กรอง จีวรทำด้วยปอ จีวรทำด้วยแผ่นไม้กรอง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคน
ผ้าใบลาน หนังเสือ ปีกนกเค้า ผ้าทำด้วยต้นไม้ ผ้าทำด้วยเถาวัลย์ ผ้าทำ
ด้วยตะไคร้น้ำ ผ้าทำด้วยต้นกล้วย ผ้าทำด้วยไม้ไผ่.
ข้อว่าพึงรู้จักเขตจีวร ได้แก่ พึงรู้จักเขต 6 โดยการเกิดขึ้นอย่างนี้
คือ เกิดโดยสงฆ์บ้าง คณะบ้าง ญาติบ้าง มิตรบ้าง ทรัพย์ของตนบ้าง
บังสุกุลบ้าง และพึงรู้จักเขต 8 ด้วยมาติกา 8.
ข้อว่าพึงรู้จักบังสุกุลจีวร ได้แก่ พึงทราบผ้าบังสุกุล 23 อย่างคือ
1. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
2. ผ้าที่เขาทิ้งในตลาด
3. ผ้าที่เขาทิ้งตามทางรถ
4. ผ้าที่เขาทิ้งในกองขยะ
5. ผ้าเช็คครรภ์มลทินของหญิงตลอดบุตร
6. ผ้าอาบน้ำ
7. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามท่าอาบน้ำหรือท่าข้าม
8. ผ้าที่เขาห่อคนตายไปป่าช้าแล้ว นำกลับมา
9. ผ้าถูกไฟไหม้แล้วเขาทิ้ง
10. ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้ง
11. ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้ง
12. ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้ง
13. ผ้าริมขาดแล้วเขาทิ้ง
14. ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้ง
15. ผ้าที่เขาทำเป็นธง
16. ผ้าที่เขาบูชาไว้ที่จอมปลวก

17. ผ้าของภิกษุด้วยกัน
18. ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง
19. ผ้าที่เขาทิ้ง ๆ ไว้ในที่ราชาภิเษก
20. ผ้าที่ตกอยู่ในหนทาง
21. ผ้าที่ถูกลมหอบไป
22. ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์
23. ผ้าที่เทวดาถวาย.
ก็ในเรื่องผ้านี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า โสตฺถิยํ คือ
ผ้าที่เขาห่อครรภ์มลทินไปทิ้ง. บทว่า คตปจฺจาคตํ ความว่า ผ้าที่เขาห่อ
คนตายนำไปป่าช้าแล้วนำกลับมา. บทว่า ธชาหฏํ คือผ้าที่เขาให้ยกเป็นธง
ขึ้นแล้ว นำกลับมาจากที่นั้น. บทว่า ถูปํ คือ ผ้าที่เขาบูชาไว้ที่จอมปลวก
บทว่า สามุทฺทิยํ คือ ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง. บทว่า ปถิกํ คือ ผ้า
พวกคนเดินทาง ทุบด้วยแผ่นหินห่มไปเพราะกลัวโจร. บทว่า อิทฺธิมยํ คือ
จีวรของเอหิภิกษุ. บทที่เหลือ ชัดแจ้งแล้วแล.
ข้อว่า พึงรู้จักจีวรสันโดษ ความว่า

จีวรสันโดษในจีวรมี 20

คือ
1. สันโดษด้วยการตรึก
2. สันโดษด้วยการเดินทาง
3. สันโดษด้วยการแสวงหา
4. สันโดษด้วยการได้
5. สันโดษด้วยการรับพอประมาณ
6. สันโดษด้วยการเว้นจากความโลเล
7. สันโดษตามได้