เมนู

อรรถกถาสันตุฏฐิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสันตุฏฐิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปานิ แปลว่า ของเล็กน้อย. บทว่า สุลภานิ แปลว่า
พึงได้โดยง่าย คือใครก็สามารถจะได้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า อนวชฺชานิ
แปลว่า ไม่มีโทษ. บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ ได้แก่ อาหารที่เที่ยวไป
ด้วยกำลังปลีแข้งได้นาสักว่าเป็นคำข้าว. บทว่า ปูติมุตฺตํ ได้แก่ น้ำมูตรอย่างใด
อย่างหนึ่ง. กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่
ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น. บทว่า วิฆาโต ได้แก่ ความ
คับแค้น อธิบายว่า จิตไม่มีทุกข์. บทว่า ทิสา น ปฏิหญฺญติ ความว่า
ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่ชื่อโน้น จักได้จีวรเป็นต้น จิตของภิกษุนั้น
ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนตลอดทิศ. ภิกษุใด ย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนั้น จิต
ของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เดือดร้อนตลอดทิศ. บทว่า ธมฺมา คือปฏิบัติติธรรม.
บทว่า สามญฺญสฺสานุโลมิกา ได้แก่ สมควรแก่สมณธรรม. บทว่า
อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันภิกษุผู้มีจิตสันโดษ
กำหนดไว้ อยู่แต่ภายใน ไม่ไปภายนอก.
จบอรรถกถาสันตุฏฐิสูตรที่ 7

8. อริยวังสสูตร


ว่าด้วยอริยวงศ์ 4 ประการ


[28] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ 4 ประการนี้ ปรากฏว่าเป็น
ธรรมอันเลิศ ยั่งยืนเป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคย
ถูกทอดทิ้งเลย (ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล) จักไม่ถูก
ทอดทิ้ง (ในอนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว
อริยวงศ์ 4 ประการ คืออะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และ
เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการแสวงหา
ไม่สมควร เพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวรก็ไม่ทุรนทุราย ได้จีวรแล้วก็ไม่
ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่จะถอนตัวออก บริโภค
(จีวรนั้น) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้
นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษ
ด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏ
ว่าเป็นธรรมเลิศมาเก่าก่อน.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ
เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการ
แสวงหาไม่สมควรเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย
ได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่
จะถอนตัวออก บริโภค (บิณฑบาตนั้น) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะ.
ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจร้าน