เมนู

อรรถกถาพรหมจริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในพรหมจริยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชนกุหนตฺถํ ความว่า เพื่อความหลอกลวงคน ด้วยเรื่อง
กุหนวัตถุ 3 อย่าง. บทว่า น ชนลปนตฺถํ ได้แก่ มิใช่เพื่อเรียกร้องคน.
บทว่า น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ ได้แก่ มิใช่เพื่อลาภสักการะมีจีวร
เป็นต้น และคำสรรเสริญ. บทว่า น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ ได้แก่
มิใช่เพื่ออานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิ ด้วยเหตุนั้น ๆ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะเปลื้องลัทธิ.
บทว่า น อิติ มํ ชโน ชานาตุ ได้แก่ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักว่า ได้ยินว่า
ภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้. บทว่า สํวรตฺถํ ได้แก่ เพื่อความสำรวมด้วยสังวร 5.
บทว่า ปหานตฺถํ ได้แก่ เพื่อละด้วยปหานะ 3. บทว่า วิราคตฺถํ ได้แก่
เพื่อคลายกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า นิโรธตฺถํ ได้แก่ เพื่อดับกิเลสเหล่า
นั้นเอง. บทว่า อนีติหํ ได้แก่ งดเว้นอิติหาสที่ว่าตามกันมาตามประเพณี
ไม่ดำเนินตามผู้อื่น. บทว่า นิพฺพาโนคธคามินํ ความว่า เป็นทางหยั่งลง
ภายในนิพพาน. ความจริง มรรคพรหมจรรย์ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
ย่อมเป็นไปคือดำเนินไปภายในนิพพานนั่นเอง. บทว่า ปฏิปชฺชนฺติ ได้แก่
ดำเนินตามทางแม้ทั้งสองอย่าง. ในพระสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ใน
คาถาตรัสวิวัฏฏะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาพรหมจริยสูตรที่ 5

6. กุหสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด


[26] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง ดื้อรั้น พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว เย่อหยิ่ง ใจไม่มั่น ภิกษุเหล่านั้นนับว่าไม่นับถือเรา และชื่อว่าออกไป
นอกพระธรรมวินัยนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ให้พระธรรมวินัยนี้.
ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่หลอกลวง ไม่พล่ามเพ้อ ฉลาด ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดี ภิกษุเหล่านั้นนับว่านับถือเรา และไม่ออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ ไว้ตัว เย่อหยิ่ง และใจไม่มั่น
ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่งก งามในพระธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมบัติ
ภิกษุเหล่าใดไม่หลอกลวง ไม่
พล่ามเพ้อ ฉลาด ไม่ดิ้นรน ใจมั่นคงดี
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อนงอกงามในพระ.
ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
แล้ว.

จบกุหสูตรที่ 6