เมนู

อรรถกถามาลุงกยปุตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมาลุงกยปุตตสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มาลุงกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของมาลุงกยพราหมณ์. บทว่า
เอตฺถ ได้แก่ ในการอ้อนวอนขอโอวาทของท่านนี้. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงข่มบ้าง ทรงยกย่องบ้าง ซึ่งพระเถระ. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า
ได้ยินว่า เมื่อหนุ่มพระนาลุงกยบุตรนี้ ติดอยู่ในปัจจัยลาภ ต่อมาแก่ตัวลง
ปรารถนาจะอยู่ป่า จึงอ้อนวอนขอกรรมฐาน. พึงประกอบความว่า ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสโดยพระประสงค์ว่า ทีนี้เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ
อย่างไรเล่า แม้พวกเธอก็เหมือนมาลุงกยบุตรในเวลาหนุ่มติดในปัจจัย แก่ตัว
ลงก็เข้าป่าบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้ ชื่อว่า ทรงข่มพระเถระ. ก็เพราะเหตุที่
พระเถระในเวลาแก่ตัวลงเข้าป่าประสงค์จะทำสมณธรรม ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสโดยพระประสงค์ว่า ทีนี้เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ อย่างไรเล่า
มาลุงกยบุตรของพวกเธอนี้ แม้เวลาแก่ตัวลงก็เข้าป่า ประสงค์จะบำเพ็ญสมณ-
ธรรม จึงอ้อนวอนขอกรรมฐาน พวกเธอแม้เวลาเป็นหนุ่มก็ยังไม่ทำความเพียร
ก่อน ดังนี้ ชื่อว่า ทรงยกย่องพระเถระ ดังนี้.
จบอรรถกถามาลุงกยปุตตสูตรที่ 4

5. กุลสูตร


ว่าด้วยเหตุให้ตระกูลตั้งอยู่ไม่ได้นาน


[258] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่
ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน 4 หรือสถานใดสถานหนึ่ง
บรรดาสถาน 4 นั้น สถาน 4 เป็นไฉน คือ ไม่เสวงหาพัสดุที่หายแล้ว 1
ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า 1 ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค 1 ตั้งสตรีหรือ
บุรุษทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน 4 นี้
หรือสถานใดสถานหนึ่งบรรดาสถาน 4 นั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ใน
โภคทรัพย์แล้ว ย่อมตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน 4 หรือสถานใดสถานหนึ่ง
บรรดาสถาน 4 นั้น สถาน 4 เป็นไฉน คือ แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว 1
ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า 1 รู้จักประมาณในการบริโภค 1 ตั้งสตรีหรือบุรุษ
ผู้มีศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน 4 นี้ หรือ
สถานใดสถานหนึ่งบรรดาสถาน 4 นั้น .
จบกุลสูตรที่ 5

อรรถกถากุลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาธิปจฺเจ ฐเปนฺติ ได้แก่ ตั้งไว้ในตำแหน่งผู้รักษาเรือนคลัง.
จบอรรถกถากุลสูตรที่ 5