เมนู

อรรถกถาทุติยอุรุเวลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอุรุเวลสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺพหุลา คือ พวกพราหมณ์เป็นอันมาก. บทว่า พฺราหฺมณา
ความว่า พวกพราหมณ์มาแล้วพร้อมกันกับพราหมณ์ผู้พูดคำหยาบ. บทว่า
ชิณฺณา วุฑฺฒา ได้แก่ ผู้คร่ำคร่าด้วยชรา เจริญด้วยวัย. บทว่า มหลฺลกา
ได้แก่ แก่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ ล่วงกาลผ่านวัยทั้งสามไปแล้ว.
บทว่า สุตํ เมตํ ได้แก่ ข้อนี้พวกเราฟังมาแล้ว. บทว่า ตยิทํ โภ โคตม
ตเถว
ความว่า ท่านพระโคดม ข้อนี้พวกเราฟังมาแล้ว การณ์ก็เป็นจริง
อย่างนั้น. บทว่า ตยิทํ โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ความว่า การไม่ทำ
อภิวาทเป็นต้นนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
ในบทเป็นต้นว่า อกาลวาที มีวินิจฉัยดังนี้. ชื่อว่า อกาลวาที
เพราะพูดไม่รู้จักกาล (พร่ำเพรื่อ). ชื่อว่า อภูตวาที เพราะพูดแต่เรื่อง
ที่ไม่จริง. ชื่อว่า อนัตถวาที เพราะพูดแต่เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่พูด
เรื่องที่เป็นประโยชน์. ชื่อว่า อธัมมวาที เพราะพูดไม่เป็นธรรม ไม่พูด
เป็นธรรม. ชื่อว่า อวินยวาที เพราะพูดไม่เป็นวินัย ไม่พูดเป็นวินัย.
บทว่า อนิธานวตึ วาจํ ภาสิตา ได้แก่ ไม่กล่าววาจาที่ควรจดจำไว้ใน
หทัย. บทว่า อกาเลน ได้แก่ โดยกาลไม่ควรจะพูด. บทว่า อนปเทสํ
ได้แก่ พูดขาดที่อ้างอิง ไม่พูดให้มีที่อ้างอิงมีเหตุ. บทว่า อปริยนฺตวตึ
ได้แก่ ไม่รู้จักจบ ไม่พูดมีกำหนด (จบ). บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ได้แก่
ไม่แสดงให้อาศัยประโยชน์อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า พาโล เถโร
เตฺวว สํขฺยํ คจฺฉติ
ความว่า นับได้ว่าเป็นเถระอันธพาล (ผู้โง่บอด).
บทเป็นต้นว่า กาลวาที พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่ตรงกันข้ามกับที่
กล่าวมาแล้ว.