เมนู

อรรถกถาสิกขานิสังสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขานิสังสสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
พรหมจรรย์ ซึ่ง สิกขานิสังสะ เพราะมีสิกขาเป็นอานิสงส์. ชื่อ
ปัญญุตตระ เพราะมีปัญญาเป็นยอด. ชื่อ วิมุตติสาระ เพราะมีวิมุตติ
เป็นแก่น. ชื่อ สตาธิปเตยยะ เพราะมีสติเป็นใหญ่. ท่านอธิบายไว้ว่า
พรหมจรรย์ที่อยู่ประพฤติเพื่อประโยชน์แก่อานิสงส์เป็นต้น อันได้แก่สิกขา
เป็นต้นแม้เหล่านั้น. บทว่า อภิสมาจาริกา ได้แก่ สิกขาเนื่องด้วยอภิสมาจาร
อันสูงสุด. บทนี้เป็นชื่อของศีลที่ทรงบัญญัติไว้ด้วยเป็นข้อวัตรปฏิบัติ. บทว่า
ตถา ตถา โส ตสฺสา สิกฺขาย ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ใคร่ศึกษาใน
สิกขาบทนั้น อย่างนั้น ๆ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกา นี้ เป็นชื่อแห่ง
มหาศีล 4 อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. บทว่า สพฺพโส แปลว่า โดย
อาการทั้งปวง.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ สัจจธรรม 4. บทว่า ปญฺญาย สมเวกฺขิตา
โหนฺติ
ความว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอันสาวกพิจารณาเห็นด้วยดี ด้วยมรรค
ปัญญากับสมาธิและวิปัสสนา. บทว่า วิมุตฺติยา ผุสิตา โหนฺติ ได้แก่
ธรรมทั้งหลายอันสาวกถูกต้อง (บรรลุ) ด้วยผัสสะ คือญาณแห่งวิมุตติ คือ
อรหัตผล. บทว่า อชฺฌตฺตํเยว สติ สุปฏฺฐิตา โหติ ความว่า สติอันสาวก
เข้าไปตั้งไว้ด้วยดีในภายในตนนั้นเอง. บทว่า ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ
ความว่า เราจักประคบ ประคองด้วยวิปัสสนาปัญญา. แม้ใน บทว่า ปญฺญาย
สมเวกฺขิสฺสามิ
นี้ ท่านก็ประสงค์เอาแม้วิปัสสนาปัญญา แต่ในบทนี้ว่า ผุสิตํ
วา ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ
(เราจักประดับประคอง
ธรรมที่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ) ท่านประสงค์เอามรรคปัญญา
อย่างเดียว.
จบอรรถกถาสิกขานิสังสสูตรที่ 3

4. เสยยสูตร


ว่าด้วยการนอน 4 อย่าง


[246] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) 4 อย่างนี้ 4 อย่าง
เป็นไฉน คือ เปตไสยา (นอนอย่างคนตาย) 1 กามโภคีไสยา (นอนอย่าง
คนบริโภคกาม) 1 สีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) 1 ตถาคตไสยา (นอนอย่าง
ตถาคต) 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เปตไสยาเป็นไฉน คนตายโดยมากนอน-
หงาย นี้เราเรียกว่า เปตไสยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กามโภคีไสยาเป็นไฉน คนบริโภคกามโดยมาก
นอนตะแคงข้างซ้าย เราเรียกว่า กามโภคีไสยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหไสยาเป็นไฉน สีหมฤคราชย่อมสำเร็จการ
นอนข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเลื่อมเท้า สอดหางเข้าในระหว่างโคนขา มันตื่น
ขึ้นแล้ว ยืดกายเบื้องหน้าแล้ว เหลียวดูกายเบื้องหลัง ถ้ามันเห็นความผิดแปลก
หรือความละปกติแห่งกาย มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น ถ้ามันไม่เห็นอะไรผิด
ปกติ มันย่อมดีใจด้วยเหตุนั้น นี้เราเรียกว่า สีหไสยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตไสยาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สลัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่า ตถาคตไสยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) 4 อย่างนี้แล.
จบเสยยสูตรที่ 4