เมนู

3. สิกขานิสังสสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์


[245] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้
อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด วิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็น
อธิปไตย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร
สิกขา คือ อภิสมาจาร เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ เพื่อ
ความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว
สิกขา คือ อภิสมาจารเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่
เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใด ๆ สาวก
นั้น เป็นผู้มีปกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ต่าง ไม่ให้พร้อย ย่อม
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายด้วยประการนั้น ๆ.
อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์เราบัญญัติ
แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอัน
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปกติไม่ทำ
สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขา
เป็นอานิสงส์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรม
ทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ ธรรม