เมนู

3.ปฐมขตสูตร


ว่าด้วยธรรม 4 ประการ ของคนพาลและบัณฑิต


[3] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
เป็นคนพาล เป็นคนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันถูกขุด (รากคือ
ความดี) เสียแล้ว ถูกขจัดไปครึ่งหนึ่งแล้ว เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้
เคียน และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่สอบสวนแล้ว ชมคนที่ควรติ 1 ติคนที่ควรชม 1
ปลูกความเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส 1 แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะ
อันควรเลื่อมใส 1 บุคคลประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ
และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นบัณฑิต
เป็นคนฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ถูกขุด ไม่ถูกขจัดไปครึ่งหนึ่ง
เป็นผู้หาโทษมิได้ ผู้รู้สรรเสริญ และได้บุญมากด้วย ธรรม 4 ประการ
เป็นไฉน คือบุคคลใคร่ครวญสอบสวนแล้ว ติคนที่ควรติ ชมคนที่ควรชม 1
แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส 1 ปลูกความเลื่อมใสในฐานะ
อันควรเลื่อมใส 1 บุคคลประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล เป็นบัณฑิตฯลฯ
และได้บุญมากด้วย
(นิคมคาถา)
ผู้ใดชมคนที่ควรติ หรือ ติคนที่
ควรชม ผู้นั้น ชื่อว่าก่อ (กลี) ความร้าย
ด้วยปาก เพราะความร้ายนั้น เขาก็ไม่ได้

ความสุข นี่ ร้ายไม่มาก คือการเสียทรัพย์
ในการพนัน แม้จนสิ้นเนื้อประดาตัว สิ่ง
นี้สิ ร้ายมากกว่า คือทำใจร้าย ในท่านผู้
ดำเนินดีแล้วทั้งหลาย คนที่ตั้งใจและใช้
วาจาลามก ติเตียนท่านผู้เป็นอริยะ ย่อม
ตกนรกตลอดเวลา สิ้นแสนสามสิบหก
นิรัพพุทะ กับอีกห้าอัพพุทะ.

จบปฐมขตสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมขตสูตร


ปฐมขตสูตรที่ 3 กล่าวไว้ในอรรถกถาทุกนิบาตแล้ว. ส่วนในคาถา
พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า นินฺทิยํ ได้แก่ผู้ ควรนินทา. บทว่า นินฺทติ
ได้แก่ ย่อมติเตียน. บทว่า ปสํสิโย ได้แก่ ผู้ควรสรรเสริญ. บทว่า
วิจินาติ มุเขน โส กลึ ความว่า ผู้นั้นประพฤติอย่างนี้แล้ว ชื่อว่า
ย่อมเฟ้นโทษด้วยปากนั้น. บทว่า กลินา เตน สุขํ น วินฺทติ ความว่า
เขาย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น. บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา
ความว่า การแพ้พนัน เสียทั้งทรัพย์ของตนทุกสิ่ง กับทั้งตัวเอง (สิ้นเนื้อ-
ประดาตัว) ชื่อว่าเป็นโทษประมาณน้อยนัก. บทว่า โย สุคเตสุ ความว่า
ส่วนผู้ใดพึงทำจิตคิดประทุษร้ายในบุคคลทั้งหลาย ผู้ดำเนินไปโดยชอบแล้ว
ความมีจิตคิดประทุษร้ายของผู้นั้นนี้แล มีโทษมากกว่าโทษนั้น. บัดนี้ เมื่อ