เมนู

อรรถกถาโสณกายนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโสณกายนสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สิขาโมคฺคลฺลาโน ได้แก่ พราหมณ์โมคคัลลานโคตร
มีแหยมใหญ่ตั้งอยู่กลางศีรษะ. บทว่า ปุริมานิ ได้แก่ วันก่อน ตั้งแต่วันที่
ล่วงไปแล้ว. พึงทราบวันยิ่งกว่าวันก่อน จำเดิมแต่วันที่สองเป็นต้น. บทว่า
โสณกายโน ได้แก่ อันเตวาสิกของพราหมณ์นั้นนั่นเอง. บทว่า กมฺมสจฺจายํ
โภ โลโก ได้แก่ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ. บทว่า กมฺมสมารมฺภฏฺฐายี
ความว่า โลกนี้ดำรงอยู่ด้วยการก่อกรรม คือ เพิ่มพูนกรรมตั้งอยู่ มิใช่ไม่
เพิ่มพูน. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ คือแสดง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาโสณกายนสูตรที่ 3

4. สิกขาบทสูตร


ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม


[235] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ 4 ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ
มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งคำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว
ก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ
สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมชาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิด
ในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งคำทั้งขาวเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนาใดเพื่อละ
กรรมดำ อันมีวิบากดำในบรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรม
ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.
จบสิกขาปทสูตรที่ 4

สิกขาปทสูตรที่ 4 เป็นต้นมีความง่ายทั้งนั้น. ก็ในองค์มรรคทั้งหลาย
ท่านกล่าวว่า เพราะพระโยคาวจรเข้าไปตั้งสติไว้แล้วกำหนดด้วยปัญญา ฉะนั้น
ทั้งสองนั่นแหละเป็นกรรม ที่เหลือเป็นองค์เท่านั้นไม่ใช่กรรม. แม้ในโพชฌงค์
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในอภิธรรมท่านพรรณนากรรมทั้งหมดนั้นว่า เป็น
กรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนา โดยไม่แปลกกัน.

5. อริยมัคคสูตร


ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม


[236] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ 4 ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ
มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว
ก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระ-
ตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน นี้เราเรียกว่า กรรมดำ
มีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิด
ในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็ง มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.