เมนู

อรรถกถาโสณกายนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโสณกายนสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สิขาโมคฺคลฺลาโน ได้แก่ พราหมณ์โมคคัลลานโคตร
มีแหยมใหญ่ตั้งอยู่กลางศีรษะ. บทว่า ปุริมานิ ได้แก่ วันก่อน ตั้งแต่วันที่
ล่วงไปแล้ว. พึงทราบวันยิ่งกว่าวันก่อน จำเดิมแต่วันที่สองเป็นต้น. บทว่า
โสณกายโน ได้แก่ อันเตวาสิกของพราหมณ์นั้นนั่นเอง. บทว่า กมฺมสจฺจายํ
โภ โลโก ได้แก่ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ. บทว่า กมฺมสมารมฺภฏฺฐายี
ความว่า โลกนี้ดำรงอยู่ด้วยการก่อกรรม คือ เพิ่มพูนกรรมตั้งอยู่ มิใช่ไม่
เพิ่มพูน. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ คือแสดง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาโสณกายนสูตรที่ 3

4. สิกขาบทสูตร


ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม


[235] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ 4 ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ
มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งคำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว
ก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.