เมนู

อรรถกถาสาตถสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสาตถสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทฺวเยน คือ เพราะส่วนสอง. บทว่า โอฆสฺส นิตฺถรณํ
ได้แก่ การรื้อถอนโอฆะ 4. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุ
เกลียดบาปด้วยตบะ กล่าวคือการทำทุกรกิริยา. บทว่า อญฺญตรํ สามญฺญงฺคํ
ได้แก่ ส่วนแห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง. ในบทมีอาทิว่า อปริสุทฺธกายสมา-
จารา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงศีล ความประพฤติทางกาย วาจา และ
ใจไม่บริสุทธิ์ ด้วยสามบทนี้ แล้วจึงทรงแสดงถึงความเป็นผู้มีอาชีวะไม่
บริสุทธิ์ด้วยบทหลัง. บทว่า ญาณทสฺสนาย ได้แก่ ทัสสนะอันได้แก่
มรรคญาณ. บทว่า อนุตฺตราย สมฺโพธาย ได้แก่พระอรหัต. ท่านอธิบาย
ว่า ไม่ควรเพื่อสัมผัสด้วยญาณผัสสะ คือ อรหัต.
บทว่า สาลลฏฺฐึ ได้แก่ ต้นสาละ. บทว่า นวํ คือ หนุ่ม. บทว่า
อกุกฺกุจฺจกชาตํ คือ ไม่เกิดความรังเกียจว่า ควรหรือไม่ควร. บทว่า
เลขณิยา ลิเขยฺย ได้แก่ ขีดพอเป็นรอย. บทว่า โธเปยฺย ได้แก่ ขัด.
บทว่า อนฺโตอวิสุทฺธา ได้แก่ ไม่เรียบในภายใน คือ ไม่เอาแก่นออก.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ เทียบด้วยอุปมาดังนี้. จริงอยู่ อัตภาพพึงเห็น
เหมือนต้นสาละ กระแสสงสารเหมือนกระแสน้ำ คนยึดถือทิฏฐิ 62 เหมือน
คนที่ต้องการจะไปฝั่งโน้น เวลาที่ยึดมั่นในอารมณ์ภายนอก เหมือนเวลาที่ทำ
ต้นสาละให้เรียบดีในภายนอก เวลาที่ศีลในภายในไม่บริสุทธิ์ เหมือนเวลาที่
ไม่ทำข้างในของต้นสาละให้เรียบ การที่คนถือทิฏฐิจมลงไปในกระแสสงสารวัฏ
พึงทราบเหมือนการที่ต้นสาละจมลงไปข้างล่าง.