เมนู

นี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้น ก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุข แก่พวกมหาศาลเหล่านี้ตลอดกาลนาน ถ้ามหาศาลเหล่านี้
พึงตั้งใจ จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า.
จบภัททิยสูตรที่ 3

อรรถกถาภัททิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในภัททิยสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้าภัททิยลิจฉวี ผู้บริโภคอาหารเช้า
เสร็จแล้ว ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ เข้าไปเฝ้าด้วยคิดว่า เราจัก
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้. ในบทว่า มา อนุสฺลเวน เป็นอาทิ
พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าถือคำของเราด้วยอำนาจการฟัง
ตามกันมา. บทว่า สารมฺโภ ได้แก่ ความคิดแข่งดีกันเป็นลักษณะแข่งกัน
เกินกว่าเหตุ. ธรรมมีอโลภะเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับความโลภ
เป็นต้น . บทว่า กุสลธมฺมูปสมฺปทาย ได้แก่ เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมให้
ถึงพร้อม ท่านอธิบายว่า เพื่อให้ได้กุศลธรรม. บทว่า อิเม เจปิ ภทฺทิย
มหาสาลา
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงต้นสาละที่ยืนต้นอยู่
ข้างหน้า จึงตรัสอย่างนี้ . บทที่เหลือในสูตรนี้ พึงรู้ได้ง่ายเพราะมีนัยอันกล่าว
แล้วในหนหลัง และเพราะมีอรรถง่าย. แต่เมื่อพระศาสดาทรงยักเยื้องเทศนา
เจ้าภัททิยะก็เป็นโสดาบันบุคคลแล.
จบอรรถกถาภัททิยสูตรที่ 3

4. สามุคิยสูตร


องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4


[194] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อ
สาปุคะ ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมาก
ด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูก่อนพยัคฆ-
ปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก
และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน องค์ 4 ประการเป็นไฉน คือองค์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีล 1 จิต 1 ทิฏฐิ 1 วิมุตติ 1 ดูก่อน
พยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ
ศีลเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สีลปาริสุทธิ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญา
ประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็น
ที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน