เมนู

อรรถกถาอุโปสถสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุโปสถสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตุณฺหีภูตํ ตุณฺหีภูตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เหลียวดูทางทิศใด ๆ ทางทิศนั้น ๆ ภิกษุสงฆ์นิ่งเงียบอยู่. บทว่า ภิกฺขู
อามนฺเตสิ
ความว่า ทรงเหลียวดูด้วยพระจักษุอันเลื่อมใสแล้ว เกิดปราโมทย์
ในธรรม จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ เพราะทรงประสงค์
จะยกย่องธรรม. บทว่1 อปฺปลาปา ได้แก่ บริษัทเว้นการสนทนา. บท
นอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า อปฺปลาปา นั้นนั่นเอง. บทว่า สุทฺธา คือ
หมดมลทิน. บทว่า สาเร ปติฏฺฐิตา ได้แก่ ตั้งอยู่ในธรรมสาระมีศีลสาระ
เป็นต้น. บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า
ระยะทางโยชน์หนึ่ง แม้ 10 โยชน์ มากกว่านั้น ก็เรียกว่านับเป็นโยชน์. แต่ใน
ที่นี้ประสงค์เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. บทว่า ปุโฏเสนาปิ ได้แก่
เสบียงทาง เรียก ปุโฏสํ อธิบายว่า แม้จะต้องถือเอาเสบียงทางเข้าไปหา
ก็ควรแท้. บาลีว่า ปุฏํเสน ดังนี้ก็มี. เนื้อความของบทนั้นว่า ห่อของมีอยู่
ที่บ่าของบุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า มีห่ออยู่ที่บ่าด้วย ห่ออยู่ที่บ่านั้น.
มีอธิบายว่า สะพายเสบียงไปดังนี้.
บัดนี้ ตรัสว่า สนฺติ ภิกฺขเว เป็นอาทิ เพื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายที่เห็นปานนี้ มีอยู่ในที่นี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เทวปฺปตฺตา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นทิพวิหารที่เป็นเหตุเกิด
เป็นอุปปัตติเทพ และชั้นพระอรหัตด้วยทิพวิหาร. บทว่า พฺรหมปฺปตฺตา
ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นพรหมวิหารเหตุสำเร็จเป็นพรหม ด้วยอรรถ