เมนู

ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า นี้เป็นกุศลแม้เพราะ
เหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติว่า กุศลนี้นั้นแลควรบำเพ็ญ บท พยัญชนะ ธรรม-
เทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า กุศลนี้ควรบำเพ็ญแม้เพราะ
เหตุนี้.
ลำดับนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท การทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ครั้นแล้วได้กราบทูล
การสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดนั้น แก่พระเจ้าแผ่นดิน
มคธพระนามว่าอาชาตศัตรูเวเทหิบุตร เมื่ออุปกุมัณฑิกาบุตรกราบทูลอย่างนี้
แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตรทรงกริ้ว ไม่ทรง
พอพระทัย ได้ตรัสกะอุปกมัณฑิกาบุตรว่า เจ้าเด็กลูกชาวนาเกลือนี่อวดดี
ปากกล้า บังอาจ จักสำคัญพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์
นั้นว่าควรรุกราน เจ้าอุปก็จงหลีกไป จงพินาศ ฉันอย่าได้เห็นเจ้าเลย.
จบอุปกสูตรที่ 8

อรรถกถาอุปกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุปกสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปโก เป็นชื่อของมัณฑิกาบุตรนั้น. บทว่า มณฺฑิกาปุตฺโต
แปลว่า บุตรของนางมัณฑิกา. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า อุปก-
มัณฑิกาบุตรนั้น เป็นอุปัฏฐากของเทวทัต จึงเข้าไปเฝ้า เพื่อกำหนดว่า
เมื่อเราเข้าไปเฝ้า พระศาสดาจักตรัสยกย่องหรือตรัสตำหนิหนอ อาจารย์
บางพวกกล่าวดังนี้ก็มี ว่าเข้าไปเฝ้าประสงค์จะฟังคำว่า เทวทัตตกนรก ดำรง

อยู่ชั่วกัป ใครก็แก้ไขมิได้ดังนี้ แล้วจะได้เสียดสีพระศาสดา. บทว่า ปรูปารมฺภํ
วตฺเตติ
ได้แก่ กล่าวติเตียนผู้อื่น บทว่า สพฺโพ โส น อุปฺปาเทติ
ความว่า ผู้นั้นทั้งหมด ไม่ทำกุศลธรรมให้เกิดขึ้น หรือไม่อาจเพื่อจะทำคำ
ของตนให้สมควรได้เลย. บทว่า อนุปฺปาเทนฺโต คารยฺโห โหติ ความว่า
เมื่อไม่อาจให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจทำคำของตนให้สมควรได้ ก็ย่อม
เป็นผู้ถูกติเตียน. บทว่า อุปวชฺโช ความว่า ย่อมเป็นผู้ถูกติถูกว่าเหมือนกัน
หรือเป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อธิบายว่า มีโทษ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจับวาทะของอุปกะนั้นแล้ว เมื่อจะ
ทรงสวมคอของอุปกะนั้นแล จึงตรัสว่า ปรูปารมฺภํ เป็นอาทิ. บทว่า
อุมฺมุชฺชมานกํเยว ได้แก่ พอยกหัวขึ้นจากน้ำเท่านั้น. ในบทว่า ตตฺถ
อปริมาณา ปทา
เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. บทก็ดี อักขระก็ดี
ธรรมเทศนาก็ดี นับไม่ได้ในการบัญญัติว่า อกุศลนั้น. บทว่า อิติปีทํ
อกุสลํ
ความว่า แม้บททั้งหลายที่มาแล้วในอกุศลบัญญัติอย่างนี้ว่า แม้นี้
ก็อกุศล แม้เพราะเหตุนี้ ๆ ก่อกุศลดังนี้ก็นับไม่ได้. แม้เมื่อเป็นดังนั้น พระ-
ตถาคต พึงทรงแสดงธรรมนั้น ด้วยอาการอย่างหนึ่ง เทศนาของพระองค์
อย่างนี้ ก็พึงนับไม่ได้. เหมือนที่ท่านกล่าวว่าธรรมเทศนาของพระตถาคตนั้น
กำหนดถือเอาไม่ได้ บทพยัญชนะแห่งธรรมก็กำหนดถือเอาไม่ได้ เนื้อความ
ในทุกวาระพึงทราบด้วยอุบายนี้.
บทว่า ยาวธํสี วตายํ คือ เจ้าเด็กนี้ช่างลบล้างคุณ. โลณการ-
กทารโก
คือ เด็กในหมู่บ้านชาวนาเกลือ. คำว่า ยตฺร หิ นาม แก้บทเป็น
โย หิ นาม แปลว่า ชื่อใด. บทว่า อปสาเทตพฺพํ มญฺญิสฺสติ คือ

จักสำคัญพระพุทธเจ้าว่าควรระราน. บทว่า อเปหิ ความว่า เจ้าจงหลีกไป
อย่ามายืนต่อหน้าข้านะ ก็พระเจ้าอชาตศัตรู ตรัสอย่างนี้แล้ว โปรดให้บริวาร
จับคอคร่าออกไปแล.
จบอรรถกถาอุปกสูตรที่ 8

9. สัจฉิกิริยสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการ


[189] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง 4 ประการนี้
4 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วย
กายก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุก็มี ที่
ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำ
ให้แจ้งด้วยกายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ 8 ควรกระทำให้แจ้ง
ด้วยกาย. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติเป็นไฉน ? ปุพเพนิวาสควร
กระทำให้แจ้งด้วยสติ. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุเป็นไฉน การจุติ
และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุ. ก็ธรรมที่ควรกระทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาเป็นไฉน ? ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วย
ปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง 4 ประการนี้แล.
จบสัจฉิกิริยสูตรที่ 9