เมนู

เอเฬยยะ จึงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร และกระทำความเคารพ อย่างยิ่ง
เห็นปานนี้ คือ อภิวาท ลุกรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรม ในสมณ-
รามบุตร ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อที่พระ-
โคดมผู้เจริญตรัสนั้นชอบแล้ว ...ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์
ทั้งหลายขอทูลลาไป ข้าพระองค์ทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด.
ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.
จบวัสสการสูตรที่ 7

อรรถกถาวัสสการสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวัสสการสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โตเทยฺยสฺส คือพราหมณ์ชาวตุทิคาม. บทว่า ปริสติ
ได้แก่ ในบริษัทผู้ประชุมพร้อมกันแล้ว. บทว่า ปรูปารมฺภํ วตฺเตนฺติ
ความว่า ประพฤติแล้วติเตียนผู้อื่น. บทว่า พาโล อยํ ราชา เป็นอาทิ
ท่านกล่าวเพื่อแสดงคำติเตียน ซึ่งชนเหล่านั้นประพฤติกัน. บทว่า สมเณ
รามปุตฺเต
ได้แก่ อุททกดาบสรามบุตร. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ได้แก่
เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า ปรมนิปจฺจการํ ได้แก่ กิริยาที่อ่อนน้อมอย่าง
ยิ่งยวด คือประพฤติถ่อมตน. บทว่า ปริหารกา ได้แก่ บริวาร. บท
เป็นต้น ว่า ยมโก เป็นชื่อของบริวารชนเหล่านั้น จริงอยู่ บรรดาบริวารชน
เหล่านั้น คนหนึ่งชื่อยมกะ คนหนึ่งชื่อโมคคัลละ คนหนึ่งชื่ออุคคะ คนหนึ่ง

ชื่อนาวินากี คนหนึ่งชื่อคันธัพพะ คนหนึ่งชื่ออัคคิเวสสะ. บทว่า อสฺสุทํ
ในบทว่า ตฺยาสฺสุทํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ซึ่งบริวารชนเหล่านั้น
ผู้นั่งในบริษัทของตน. บทว่า อิมินา นเยน เนติ ความว่า โตเทยย-
พราหมณ์กลับแนะนำ คือ ให้เขารู้ด้วยเหตุนี้.
บทว่า กรณียาธิกรณีเยสุ ความว่า ในกิจอันบัณฑิตควรทำ และ
กิจที่ควรทำอันยิ่ง. บทว่า วจนียาธิวจนีเยสุ ความว่า ในถ้อยคำ
ควรกล่าว และถ้อยคำควรกล่าวอันยิ่ง. ในบทว่า อลมตฺถทสตเรหิ
นี้ ความว่า ผู้สามารถเห็นประโยชน์ทั้งหลาย ชื่อว่า อลมัตถวาส ผู้สามารถ
เห็นประโยชน์เกินบริวารชนเหล่านั้น ชื่อว่าอลมัตถทัสตระกว่าชนเหล่านั้น
ผู้สามารถเห็นประโยชน์. บทว่า อลมตฺถทสตโร ความว่า พระเจ้าเอเฬยยะ
เป็นผู้ยิ่งกว่า เพราะสามารถเห็นประโยชน์. โตเทยยพราหมณ์ เมื่อถามว่า
สมณรามบุตรเป็นผู้ฉลาดกว่าผู้ฉลาดทั้งหลาย เป็นบัณฑิตกว่าบัณฑิตทั้งหลาย
จึงกล่าวอย่างนี้. เมื่อเป็นเช่นนั้น บริวารเหล่านั้น เมื่อจะย้อนถาม จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า เอวํ โภ แต่โตเทยยพราหมณ์นั้น . ดังนั้น พราหมณ์สรรเสริญ
พระเจ้าเอเฬยยะบ้าง บริวารของพระเจ้าเอเฬยยะนั้นบ้าง อุททกดาบสรามบุตร
บ้าง เพราะคนเป็นสัตบุรุษ. อสัตบุรุษเป็นเหมือนคนบอด สัตบุรุษเป็นเหมือน
คนมีจักษุ. คนบอดย่อมมองไม่เห็นทั้งคนไม่บอด ทั้งคนบอดด้วยกัน ฉันใด
อสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษฉันนั้น. คนมีจักษุ ย่อมเห็น
ทั้งคนบอด ทั้งคนไม่บอดฉันใด สัตบุรุษ ย่อมรู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษ
ฉันนั้น. พราหมณ์ได้อาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า แม้โตเทยยพราหมณ์
ได้รู้แล้วซึ่งอสัตบุรุษทั้งหลาย เพราะเป็นสัตบุรุษ ดังนี้ จึงมีใจยินดีกล่าวคำ
เป็นอาทิว่า อจฺฉริยํ โภ โคตม ดังนี้ อนุโมทนาภาษิตของพระตถาคตแล้ว
ทำสักการะก็กลับไป.
จบอรรถกถาวัสสการสูตรที่ 7

8. อุปกสูตร


พระพุทธองค์ทรงโต้วาทะกับอุปกมัณฑิกาบุตร


[188] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรเข้าไฝเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวติเตียนผู้อื่น ผู้นั้นทั้งหมดย่อม
ไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้
ถูกครหาติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปกะ ถ้าบุคคล. กล่าว
ติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าวติเตียนผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้
เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียนไซร้ ดูก่อนอุปกะ
ท่านนั่นแหละกล่าวติเตียนผู้อื่นย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจ
ให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน.
อุป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลพึงจับปลาที่พอผุดขึ้นเท่านั้น
ด้วยแหใหญ่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน พอเอ่ยขึ้นเท่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงจับด้วยบ่วงคือวาทะอันใหญ่.
พ. ดูก่อนอุปกะ เราบัญญัติแล้วว่า นี้เป็นอกุศลแล บท พยัญชนะ
ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า นี้เป็นอกุศลแม้เพราะ
เหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติว่า อกุศลนี้นั้นแล ควรละเสีย บท พยัญชนะ
ธรรมเทศนา ของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
อกุศลนี้ควรละเสีย อนึ่ง เราบัญญัติไว้แล้วว่า นี้เป็นกุศลแล บทพยัญชนะ